
เพราะเหตุใด EZY-HR Application จึงต้องมีโหมดเช็คอินผ่านมือถือให้เลือกใช้งานได้อย่างหลากหลาย⁉⁉
.
.
เหตุผลที่ EZY-HR Application มีโหมดการเช็คอินอย่างหลากหลายนั้น เพื่อต้องการตอบสนองความต้องการในการใช้งานของลูกค้าได้อย่างครอบคลุมโดยคำนึงถึงรูปแบบธุรกิจเป็นหลัก ?✨
.
เช่นพนักงาน PC ตามห้างหรือพนักงานออกบูท ทางแอดมินสามารถกำหนดให้พนักงานทำการเช็คอินพร้อมถ่ายรูปตนเองคู่บูทได้ หรือหากเป็นเซลล์ที่ต้องออกไปพบลูกค้าบ่อยๆไม่สะดวกสแกนนิ้วผ่านเครื่องฟิงเกอร์สแกนก็สามารถเช็คอินผ่านมือถือได้ เป็นต้น
.
.
Q: ในกรณีที่ต้องการตั้งค่าการเช็คอิน – เอ้าท์ ผ่าน EZY-HR Application สามารถตั้งค่าการใช้งานของพนักงานแต่ละท่านให้ต่างกันได้หรือไม่ เช่นมีพนักงานบางกลุ่มที่ต้องการ Record เวลาเข้างานเท่านั้นไม่สนใจรูปและโลเคชั่นเป็นต้น⁉
A: การใช้งาน EZY-HR Application สามารถเลือกโหมดในการเช็คอินเป็นรายบุคคลได้ค่ะ โดยมีโหมดการใช้งานให้เลือกดังต่อไปนี้
✅ No: ปิดการใช้งานเช็คอินจากหน้า mobile application
✅ NoFakeGPSCheck: ไม่อนุญาตให้มือถือติดตั้งโปรแกรมโกง GPS (จะมีแค่มือถือรุ่น Note 4 เท่านั้น)
✅ AllowNoGps: สามารถเช็คอินได้ แม้มือถือจะจับสัญญาณ GPS ไม่เจอ
✅ SelfieForceCheck: จะต้องถ่ายรูปและจับสัญญาณ GPS ให้เจอถึงจะสามารถเช็คอินได้
✅ BeaconForceCheck: จะต้องจับสัญญาณบีคอนให้เจอถึงจะสามารถกด เช็คอินได้
✅ BeaconAndSelfieForceCheck: จะต้องจับสัญญาณบีคอนให้เจอพร้อมถ่ายรูปจึงจะสามารถเช็คอินได้
สามารถดูวิธีการตั้งค่าได้ที่ https://bit.ly/323w1hC
ทางเลือกใหม่ของระบบบันทึกเวลาทำงานสำหรับองค์กรที่ทันสมัย
สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม www.ezy-hr.com
โปรแกรม EZY-HR แนะนำ Add On
“Shift Request” พนักงานขอสลับกะการทำงานของตัวเองในวันนั้นๆ
เราช่วยทำงานในด้านใด?
พนักงานสามารถส่งคำขอ ความต้องการจะเปลี่ยนกะการทำงานของตนเอง ในช่วงเวลาของวันนั้น
มายังหัวหน้า โดยผ่านระบบหรือApplication ได้ เมื่อพนักงานส่งคำขอ ระบบจะทำการเเจ้งเตือน
มายังหัวหน้าให้รับทราบ โดยสามารถกดอนุมัติผ่านระบบหรือAppได้ทันที เมื่อหัวหน้าทำการอนุมัติ
ระบบจะทำการปรับเปลี่ยนข้อมูลภาพรวม ตารางการทำงานของพนักงานให้อัตโนมัติ
เเก้ไขปัญหาอะไรได้บ้าง
● พนักงานขอเปลี่ยนกะงานได้ด้วยตัวเอง
● HR หรือหัวหน้าทำงานได้สะดวก รวดเร็ว เเละถูกต้องเเม่นยำมากขึ้น
● พนักงานไม่จำเป็นต้องเดินไปหาหัวหน้างาน
“Shift Swap Request” พนักงานขอสลับกะการทำงาน ในวันทำงานวันอื่นหรือวันหยุด
เราช่วยทำงานในด้านใด
เมื่อพนักงานส่งคำขอ Shift Swap Request คือการขอสลับกะการทำงานของตนเอง โดยเราอยาก
มาทำงานในวันหยุด เเทนวันที่เราต้องมาทำงาน ผ่าน Application หรือ ระบบ มายังหัวหน้า
ระบบจะทำการเเจ้งเตือนมายังหัวหน้าให้รับทราบ โดยสามารถกดอนุมัติผ่านระบบหรือ App ได้ทันที
เมื่อหัวหน้าทำการอนุมัติ ระบบจะทำการปรับเปลี่ยนข้อมูลภาพรวมตารางการทำงานของพนักงานให้
อัตโนมัติ
เเก้ไขปัญหาอะไรได้บ้าง
● พนักงานขอเปลี่ยนกะงานได้ด้วยตัวเอง
● HR หรือหัวหน้าทำงานได้สะดวก รวดเร็ว เเละถูกต้องเเม่นยำมากขึ้น
● พนักงานไม่จำเป็นต้องเดินไปหาหัวหน้างาน
“Shift Swap Staff Request” พนักงานขอสลับกะการทำงานในวันทำงานหรือวันหยุดกับเพื่อนร่วมงาน”
เราช่วยทำงานในด้านใด
เมื่อพนักงานส่งคำขอมายังหัวหน้างานผ่านระบบ โดยพนักงานต้องการที่จะสลับกะการทำงานกับเพื่อนร่วมงาน ระบบจะประเมินคำขอเเละเปลี่ยนเเปลงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและทำการเปลี่ยน
เเปลงข้อมูลในตารางงานให้ทัน หัวหน้างานเเละHR สามารถทราบตารางการทำงานของพนักงานได้
เเบบทันที ในการตรวจสอบเเละหาจำนวนพนักงาน ให้เพียงพอต่อการทำงานเเละบริการ
เเก้ไขปัญหาอะไรได้บ้าง
● พนักงานสามารถสร้างคำการสลับกะงาน/วันหยุดกับเพื่อนร่วมงานได้เอง เพียงรอคำอนุมัติจากหัวหน้างาน
● สะดวกต่อการจัดการงานระบบ โดยจะไม่เกิดความผิดพลาดของตารางการทำงงานที่ทับ
ซ้อนกัน
● HRเข้าถึงข้อมูลตารางการทำงานที่ถูกต้องได้ตลอดเวลา
ค่าลดหย่อนภาษี คือ
ค่าลดหย่อนและยกเว้นเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบในการคำนวณภาษีที่กฎหมายกำหนดให้นำไปหักออกจากเงินได้ ได้อีกหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว
เงินเดือนเท่าไหร่ถึงเสียภาษี
– เงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาท = ไม่ต้องยื่นภาษี
– เงินเดือนไม่เกิน 26,583.33 บาท = ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
– เงินเดือนมากกว่า 26,583.33 บาท = ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษี
ถ้าไม่ได้จ่ายประกันสังคมแลเงินเดือนไม่เกิน 25,833.33 บาท = ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
ถ้าไม่ได้จ่ายประกันสังคมแลเงินเดือนเกิน 25,833.33 บาท = ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษี
วิธีการคำนวน
สมมติว่าคุณมีเงินเดือน เดือนละ 26,583.33 บาท x 12 เดือน (ต้องคิดทั้งปี) = 319,000 บาท
สูตรคำนวนเงินได้สุทธิ ดังนี้
เงินได้ 319,000 บาท – ค่าใช้จ่าย 100,000 บาท** – ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท – เงินกองทุนประกันสังคม 9,000 บาท = เงินได้สุทธิ 150,000 บาท
หมายเหตุ **ค่าใช้จ่ายได้ 50% (แต่ไม่เกิน 100,000 บาท)
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ใช้ในการคำนวนภาษี
มีอะไรที่ใช้ลดหย่อนได้บ้าง
ค่าลดหย่อนส่วนตัว และครอบครัว
ค่าลดหย่อน กลุ่มประกัน
ค่าลดหย่อน กลุ่มเงินออม และการลงทุน
ค่าลดหย่อน กลุ่มอสังหาริมทรัพย์
ค่าลดหย่อน กลุ่มเงินบริจาค
ค่าลดหย่อนอื่นๆ ตามมาตรการรัฐในปีนั้นๆ เช่น
หมายเหตุ ผู้มีเงินได้ควรติดตามข่าวสารการลดหย่อนภาษีแต่ละปี เพื่อการวางแผนภาษีอย่างถูกต้องและเหมาะสม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
บีค่อน (Beacon) คืออะไร
เมื่อก่อนตอนที่ผู้เขียนยังทำบันทึกเวลา (Time Attendance) อยู่นั้น เดิมจะติดตั้งเครื่องสแกนนิ้ว สแกนหน้า บัตรตอก พนักงานบันทึกลายนิ้วมือ และดึงรายงานมาสรุป เพื่อจัดทำเงินเดือน แต่ปัญหาคือ หากต้องไปติดตั้งทุกสาขา ก็จะมีค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกัน จึงหาเทคโนโลยีใหม่มาช่วย
บีค่อน (Beacon) คอยตรวจจับส่งสัญญาณไปที่มือถือของพนักงาน เพื่อเช็คเวลาเข้า – ออกบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน ความสามารถเด่นของบีคอนคือ การให้ข้อมูลตำแหน่งระยะใกล้ที่แม่นยำ เป็นอุปกรณ์ตัวเล็กๆ มีหลายสี ลักษณะคล้ายแมลงเต่าทอง ติดตั้งไม่ยุ่งยาก มีความทนทาน ที่สำคัญราคากันเอง
ขั้นตอนการทำงาน
บีค่อน กับธุรกิจบริการ
– ทำหน้าที่เป็นพนักงานต้อนรับ เช่น ถ้าลูกค้าเดินไปบริเวณที่ติดบีค่อน ลูกค้าจะได้รับข้อความ “ยินดีต้อนรับ” และข้อมูลร้าน เช่น โปรโมชั่น เมนูเด่นประจำสัปดาห์ เป็นต้น
– ใช้เป็นระบบนำทาง พื้นที่อาคาร พื้นที่ในร่ม พื้นที่จำกัด ซึ่ง GPS ทำได้แม่นยำไม่มากพอ
– ทำระบบบัตรคิว พวกที่ต้องต้อนรับลูกค้าจำนวนมาก
– ทำเป็นตัวปลดล๊อกจักรยานด้วยแอปมือถือ เป็นตัวติดตามไปเก็บจักรยาน
– เอาไว้ใช้ติดตามสัตว์เลี้ยง หรือสิ่งของสำคัญ เช่น พวงกุญแจ เป็นต้น
หากเพื่อนๆ สนใจ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมลองสอบถามเจ้าหน้าที่ของ EZY-HR ได้นะคะ ยินดีให้คำปรึกษาค่ะ
เริ่มต้นก่อนซื้อโปรแกรมเงินเดือน ควรลิสปัญหาของการทำเงินเดือนออกมาก่อน เช่น
– ช่วงทำเงินเดือนทีไร กลับบ้านดึกทุกวัน จะดีแค่ไหน ถ้าเกิดว่าระบบที่เราใช้ ทำให้เรา work from home ได้
– กว่าจะรวบรวมโอทีจากแต่ละสาขา เล่นเอาเหนื่อย แบบนี้ต้องคลาวด์นะ
– การเขียนลงบันทึกมีโอกาสเอื้อประโยชน์กันได้ ระบบที่ดีต้องมีฟีเจอร์ให้ระบุงานที่ทำได้นะ
– เอางานกลับไปทำที่บ้านก็ไม่ได้ เพราะข้อมูลอยู่ในเซิร์ฟเวอร์
ต่างๆ เหล่านี้จะให้คำตอบคุณได้ว่าคุณต้องการโปรแกรมเงินเดือนแบบไหนมาช่วยงาน
โดยทั่วไป ผู้ที่ตัดสินใจซื้อโปรแกรม คือ เจ้าของกิจการ หรือผู้บริหาร เมื่อนำมาให้พนักงานใช้งานแล้วเกิดปัญหาใช้งานยากพนักงานอาจมีการต่อต้าน แต่อันที่จริงแล้วเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมักจะมีการต่อต้านเสมอ ดังนั้น การเลือกซื้อโปรแกรมควรให้ payroll มีส่วนร่วมในการคัดเลือกจะช่วยลดปัญหา
งบประมาณที่ตั้งจากฝ่ายบริหารเป็นปัจจัยหลักที่ต้องนำมาใช้ในการตัดสินใจ แต่หากว่าเราได้โปรแกรมที่เหมาะสมนำมาช่วยงานได้ กรณีราคาเกินมาบ้างเราก็ยังมีเหตุผลในการนำเสนอที่ชัดเจน เพราะเราได้วิเคราะห์ความต้องการตามข้อ 1 แล้ว ซึ่งเดี๋ยวนี้ระบบคลาวด์ดีๆ จะทำให้งานของเราง่ายขึ้นเยอะ เพราะเซิฟเวอร์ก็ไม่ต้องซื้อ ไอทีก็ไม่ต้องจ้าง
การบริการหลังการขายเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเมื่อเราติดปัญหาควรจะมีคำแนะนำ พร้อมช่วยแก้ปัญหาโดยทันทีทันใด สังเกตุจาก…
– โทร.ติดต่อง่ายไหม มีผู้รับสายเป็นอย่างไร นำเสียงยินดีให้บริการหรือไม่
– การเข้ามานำเสนอการใช้งานโปรแกรม (Demo) เป็นอย่างไร ผู้ขายสื่อสารชัดเจน เข้าใจง่าย ยิ้มแย้มแจ่มใส น่าพูดคุย เป็นต้น
– การตอบเมล์รวดเร็วหรือเปล่า
– จำนวน Support ในบริษัทมีเพียงพอ
– เครื่องมือในการช่วย Support เช่น การทำคู่มืออ่านง่าย มีคู่มือออน์ไลน์ มีวีดีโอสื่อการสอน มี Line Support ฯลฯ
สำรวจข้อจำกัด เงื่อนไข สิ่งแวดล้อมภายในบริษัท ยกตัวอย่างเช่น…. บริษัทมีโปรแกรมทะเบียนพนักงานอยู่แล้ว ต้องการแค่โปรแกรมคำนวณเงินเดือน ต้องโอนย้ายข้อมูลจากโปรแกรมทะเบียนพนักงานไปเข้าโปรแกรมเงินเดือนตัวใหม่ ดังนั้นโปรแกรมจึงควรยืดหยุ่นรองรับการโอนย้าย (Import File)
ควรตั้งคำถามให้มากว่า ทำอันนี้ได้ไหม ทำอย่างนี้ได้ไหม เพื่อทราบว่าโปรแกรมหยืดหยุ่นรองรับการใช้งานของเรา ***ที่สำคัญควรสอบถามด้วยว่ามีค่าบริการเพิ่มหรือเปล่า จะได้คำนวณงบประมาณไม่ผิดพลาด***
รูปแบบ สบายตา โปรแกรมใช้งานง่าย ตอบสนองความต้องการ มีให้เข้าไปทดลองใช้ ที่สำคัญการออกรายงานเพื่อนำส่งส่วนราชการตรงกับแบบฟอร์มหรือเปล่า อีกด้านการออกรายงานแสดงผลตรงกับความต้องการผู้บริหารหรือไม่
– Background ของบริษัทฯ จัดตั้งมากี่ปีแล้ว เคยมีผู้ใช้บริการกับโปรแกรมเมอร์ที่เป็นฟรีแลนซ์ แต่พอหลังจากโปรแกรมเสร็จก็ไม่สามาถติดต่อได้อีกเลย….
– บริษัทคู่ค้าน่าเชื่อถือหรือไม่ เช่น เช่าพื้นที่เก็บข้อมูลจากที่ใด (Cloud Server) ระบบปลอดภัยหรือไม่ อุปกรณ์เครื่องสแกนนิ้ว (Finger Scan) จากยี่ห้อใด รับประกันกี่ปี ฯลฯ
หาข้อมูล หรือสอบถามลูกค้าที่ใช้บริการ ยิ่งถ้าเป็นเสียงจากผู้ใช้บริการช่วยบอกเราว่าโปรแกรมใช้งานได้ดี ก็สามารถเพิ่มความมั่นใจให้เรามาขึ้น
– โปรแกรมมีการปรับปรุงตามคำแนะนำของลูกค้า เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน
– พัฒนา Update ให้ทันตามความต้องการ และทันยุคสมัย
– มีการเตรียมตัว รองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (Disruption)
หากคิดวิเคราะห์ตามนี้แล้วก็คงไม่มีคำว่า “เลือกผิดชีวิตเปลี่ยน” หรอกนะคะ ถ้าเพื่อนๆ ต้องการคำปรึกษาก็สามารถเข้ามาสอบถามกันได้ เรายินดีให้คำปรึกษาค่ะ
ในหลายๆธุรกิจ คงต้องมีการส่งเสริมการขายด้วยการ มีพีซียืนเชียร์ขายสินค้า และเชื่อว่าคงประสบปัญหาคล้ายๆกัน คือ
เราจะรู้ได้อย่างไร เด็กถึงหน้างานแล้วตามเวลาที่ทางร้านกำหนด หรือ เราจะรู้ได้อย่างไรเด็กไม่กลับก่อนเวลา
ที่ผ่านมาธุรกิจประเภทนี้ ต้องมีหัวหน้างาน หรือที่เรียกว่า supervisor คอยสุ่มตรวจตามสถานที่ต่างๆที่มีการส่งเด็กไปทำการส่งเสริมการขาย ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว และการส่งsupervisor ตรวจงานก็มีปัญหาในเรื่องการเดินทาง ในแต่ละวัน supervisor สามารถเดินทางไปตรวจได้แค่ 3-5 ที่ ก็หมดเวลาแล้ว 1 วัน เพียงเพื่อเราอยากทราบว่า พนักงานส่งเสริมการขายทำงานจริงหรือไม่ แต่เราต้องเสียค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้อย่างมากมาย และอาจจะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด
เมื่อเวลาผ่านไปก็มีการพัฒนามากขึ้น คือ การให้เด็กถ่ายรูปลงกรุ๊ปว่าถึง ณ จุด แล้วจริงๆหรือยัง
แต่รูปถ่ายนั้นเราก็ไม่สามารถทราบได้เช่นกันว่า เป็นรูปจากคลังไหม เป็นรูปเก่าไหม
การแชร์โลเคชั่น เป็นโลเคชั่นหลอกไหม และปัญหานี้ก็ส่งผลกลับมายังหัวหน้างานเมื่อหน้าร้านโทรศัพท์ต่อตรงมาจากร้านว่า เด็กไม่มาให้มาขนบูทกลับไปได้เลย สิ่งที่ตามมาทำให้ส่งผลเสียหายและภาพลบกับเจ้าของสินค้า หรือ บริษัทมากๆ
โปรแกรม EZY-HR มีระบบ Checkin-out ทำให้ทราบได้ทันทีว่า พีซีถึงหน้าร้านจริงหรือไม่
ทั้งจากการตรวจสอบโลเคชั่น และการให้พนักงานยืนยันสถานที่ทำงานโดยการเซลฟี่ ที่ระบบมีการบังคับให้เป็นการถ่ายภาพสด จากสถานที่อยู่ ณ ขณะนั้น
โดยที่ทางหัวหน้างานสามารถเช็คเวลาเข้างานของพนักงานได้ผ่านเว็บเพื่อเช็คว่าใครมาทำงานแล้วบ้าง ทำให้ หมดปัญหาเรื่องการเข้าออกงานของ PC
ทุกวันนี้ เทคโนโลยีในงานระบบบริหารงานบุคคลเข้ามามีบทบาทส่วนช่วยเหลือในหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยลดงานด้านเอกสาร และลดเวลาในการทำงานลง จากเดิมที่ต้องเขียนเอง แก้ไขเอง หรือคิดเอง ก็เปลี่ยนเป็นระบบคำนวณและแก้ไขให้ ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่ฝ่าย HR จะไม่เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
สำหรับพนักงานแล้ว การใช้งานระบบโปรแกรมจัดการระบบบริหารงานบุคคลที่ดี จะลดระยะเวลาทำงานลงเช่นกัน และเพิ่มความสะดวกสบายทั้งในฝั่งของหัวหน้างานและฝั่งพนักงาน มีเรื่องใดบ้างมาดูกัน
สนใจอยากจะรู้ว่า โปรแกรมจัดการระบบบริหารงานบุคคลออนไลน์ EZY-HR จะช่วยคุณได้ยังไง ภายใน 10 นาที คลิกที่นี่
รูปประกอบจาก Photo by bruce mars from Pexels
ด้วยภาระงานจำนวนมากขนาดนี้ ฝ่าย HR ก็มักจะปวดหัวกับการทำงานในแต่ละอย่างต้องให้รวดเร็วและทันเวลาเสมอ เพราะงาน HR มีเรื่องของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องแทบจะทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการขาดลามาสายที่ต้องสรุปเป็นรายเดือน การประเมินผลทดลองงาน การสรุปภาษีประจำปี การประเมินผลงานประจำปี การจัดทำสถิติรายวัน รายเดือน รายไตรมาส และรายปี เป็นต้น
เช่น ประกันสังคมและรายงาน ภงด.1 ต้องส่งภายในระยะเวลาที่กำหนดในแต่ละเดือน ไม่เช่นนั้นจะโดนโทษปรับ ซึ่งคิดเป็นรายวัน หรือการต่อเอกสาร Work Permit ของพนักงานที่เป็นต่างชาติ ถ้าดำเนินการไม่ทัน พนักงานท่านนั้นจะต้องกลับประเทศก่อนและต้องเสียเวลาในการดำเนินการเอกสารใหม่ เป็นต้น
คุณเคยได้ยินคำเหล่านี้มั้ยคะ ซึ่งคนที่เป็น HR จริงๆ ฟังแล้วก็รู้สึกปวดใจเหลือเกิน คำถามคือ จริงๆ แล้ว คนที่ไม่ใช่ HR รู้มั้ยว่า HR ต้องทำอะไรบ้าง
งาน HR โดยหลักแล้ว คืองานด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล หรือพูดง่ายๆ ว่า คืองานที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน ซึ่งไม่ใช่แค่การทำเงินเดือนอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึง การดูแล การพัฒนาพนักงานให้มีความสุข ให้พร้อมสำหรับการทำงาน การดูแลด้านสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การจัดเตรียม และจัดหาอุปกรณ์การทำงาน เพื่อให้เกิดความสะดวกและความพร้อมในการทำงาน หรือเรียกได้ว่า กายดี ใจดี ก็พร้อมที่จะลุยกับงานได้
ปัจจุบัน งานหลักๆ ของ HR แบ่งออกเป็นสองลักษณะใหญ่ๆ คือ HRM หรือ Human Resource Management หรือการจัดการทรัพยากรบุคคล และ HRD หรือ Human Resource Development หรือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ทั้งสองส่วนประกอบด้วยอะไรบ้าง
การให้คำปรึกษา เมือพนักงานรู้สึกอึดอัดใจในการทำงาน ไม่ว่าจะจากสาเหตุใดก็ตาม การให้พนักงานได้ระบายออกมา เป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งเป็นคนเก่งแล้ว คือคนที่บริษัทจะเสียไปไม่ได้ ความรู้สึกอึดอัด ภาระงาน เพื่อนร่วมงาน และหัวหน้างาน เป็นประเด็นหลักๆ ที่ทำให้พนักงานลาออกเสมอๆ ดังนั้น ถ้า HR ใส่ใจในพนักงานคอยจัดการแก้ไขหรือประนีประนอมปัญหาให้ได้ ก็จะทำให้พนักงานรู้สึกดีขึ้น
การติดต่อหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น ประกันสังคม สรรพากร กรมแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมการจัดหางาน ตลอดจนกรมตรวจคนเข้าเมือง กรมตำรวจ โรงพยาบาล ธนาคาร หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การส่งประกันสังคม การนำส่งรายงานภาษี การต่อเอกสาร work permit การตรวจประวัติอาชญากรรม การติดต่อบริษัทประกัน ต่อสัญญาประกันสุขภาพ ติดต่อธนาคาร ติดต่อกองทุนสำหรับทำกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และอื่นๆ อีกมากมาย
งานด้านการรักษากฎระเบียบวินัยของพนักงาน ให้รางวัล และลงโทษ เพื่อส่งเสริมให้พนักงานที่ทำดีได้มีโอกาสก้าวหน้าหรือได้รับรางวัลเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ขณะที่พนักงานที่กระผิดก็ต้องถูกลงโทษเพื่อเป็นการตักเตือนมิให้กระทำผิดซ้ำ
และงานสุดท้ายที่คงไม่มีใครคิดถึงก็คือ การจัดเตรียมสภาพแวดล้อม อุปกรณ์ การซ่อมบำรุงสถานที่ เพื่อให้พนักงานพร้อมที่จะทำงาน เช่น คอมพิวเตอร์ไม่พอ ก็ต้องจัดซื้อ อุปกรณ์ชำรุดก็ต้องแจ้งซ่อม แสงสว่างไม่เพียงพอก็ต้องติดเพิ่ม ห้องดูทึบไป ก็อาจต้องสร้างบรรยากาศ เช่น อาจจะทาสีใหม่หรือหาต้นไม้มาประดับเล็กน้อย อย่าคิดว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องเล็กนะคะ เพราะสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ เมื่อสั่งสมกันนานๆ แล้ว จะทำให้เกิดการสะสมและส่งผลกระทบต่อร่างกายหรือจิตใจพนักงานได้
ครั้งหน้าจะมาคุยกันถึงเรื่องของพนักงานกันบ้าง
อยากรู้ว่าโปรแกรมของเราจะช่วยคุณทางด้านงาน HR ได้อย่างไร คลิกที่นี่