
เพราะเหตุใด EZY-HR Application จึงต้องมีโหมดเช็คอินผ่านมือถือให้เลือกใช้งานได้อย่างหลากหลาย⁉⁉
.
.
เหตุผลที่ EZY-HR Application มีโหมดการเช็คอินอย่างหลากหลายนั้น เพื่อต้องการตอบสนองความต้องการในการใช้งานของลูกค้าได้อย่างครอบคลุมโดยคำนึงถึงรูปแบบธุรกิจเป็นหลัก ?✨
.
เช่นพนักงาน PC ตามห้างหรือพนักงานออกบูท ทางแอดมินสามารถกำหนดให้พนักงานทำการเช็คอินพร้อมถ่ายรูปตนเองคู่บูทได้ หรือหากเป็นเซลล์ที่ต้องออกไปพบลูกค้าบ่อยๆไม่สะดวกสแกนนิ้วผ่านเครื่องฟิงเกอร์สแกนก็สามารถเช็คอินผ่านมือถือได้ เป็นต้น
.
.
Q: ในกรณีที่ต้องการตั้งค่าการเช็คอิน – เอ้าท์ ผ่าน EZY-HR Application สามารถตั้งค่าการใช้งานของพนักงานแต่ละท่านให้ต่างกันได้หรือไม่ เช่นมีพนักงานบางกลุ่มที่ต้องการ Record เวลาเข้างานเท่านั้นไม่สนใจรูปและโลเคชั่นเป็นต้น⁉
A: การใช้งาน EZY-HR Application สามารถเลือกโหมดในการเช็คอินเป็นรายบุคคลได้ค่ะ โดยมีโหมดการใช้งานให้เลือกดังต่อไปนี้
✅ No: ปิดการใช้งานเช็คอินจากหน้า mobile application
✅ NoFakeGPSCheck: ไม่อนุญาตให้มือถือติดตั้งโปรแกรมโกง GPS (จะมีแค่มือถือรุ่น Note 4 เท่านั้น)
✅ AllowNoGps: สามารถเช็คอินได้ แม้มือถือจะจับสัญญาณ GPS ไม่เจอ
✅ SelfieForceCheck: จะต้องถ่ายรูปและจับสัญญาณ GPS ให้เจอถึงจะสามารถเช็คอินได้
✅ BeaconForceCheck: จะต้องจับสัญญาณบีคอนให้เจอถึงจะสามารถกด เช็คอินได้
✅ BeaconAndSelfieForceCheck: จะต้องจับสัญญาณบีคอนให้เจอพร้อมถ่ายรูปจึงจะสามารถเช็คอินได้
สามารถดูวิธีการตั้งค่าได้ที่ https://bit.ly/323w1hC
ทางเลือกใหม่ของระบบบันทึกเวลาทำงานสำหรับองค์กรที่ทันสมัย
สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม www.ezy-hr.com
ค่าลดหย่อนภาษี คือ
ค่าลดหย่อนและยกเว้นเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบในการคำนวณภาษีที่กฎหมายกำหนดให้นำไปหักออกจากเงินได้ ได้อีกหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว
เงินเดือนเท่าไหร่ถึงเสียภาษี
– เงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาท = ไม่ต้องยื่นภาษี
– เงินเดือนไม่เกิน 26,583.33 บาท = ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
– เงินเดือนมากกว่า 26,583.33 บาท = ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษี
ถ้าไม่ได้จ่ายประกันสังคมแลเงินเดือนไม่เกิน 25,833.33 บาท = ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
ถ้าไม่ได้จ่ายประกันสังคมแลเงินเดือนเกิน 25,833.33 บาท = ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษี
วิธีการคำนวน
สมมติว่าคุณมีเงินเดือน เดือนละ 26,583.33 บาท x 12 เดือน (ต้องคิดทั้งปี) = 319,000 บาท
สูตรคำนวนเงินได้สุทธิ ดังนี้
เงินได้ 319,000 บาท – ค่าใช้จ่าย 100,000 บาท** – ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท – เงินกองทุนประกันสังคม 9,000 บาท = เงินได้สุทธิ 150,000 บาท
หมายเหตุ **ค่าใช้จ่ายได้ 50% (แต่ไม่เกิน 100,000 บาท)
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ใช้ในการคำนวนภาษี
มีอะไรที่ใช้ลดหย่อนได้บ้าง
ค่าลดหย่อนส่วนตัว และครอบครัว
ค่าลดหย่อน กลุ่มประกัน
ค่าลดหย่อน กลุ่มเงินออม และการลงทุน
ค่าลดหย่อน กลุ่มอสังหาริมทรัพย์
ค่าลดหย่อน กลุ่มเงินบริจาค
ค่าลดหย่อนอื่นๆ ตามมาตรการรัฐในปีนั้นๆ เช่น
หมายเหตุ ผู้มีเงินได้ควรติดตามข่าวสารการลดหย่อนภาษีแต่ละปี เพื่อการวางแผนภาษีอย่างถูกต้องและเหมาะสม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ความรู้เบื้องต้นสำหรับ HR มือใหม่ เมื่อบริษัทจำเป็นต้องจ้างแรงงานต่างด้าว
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
“คนต่างด้าว” หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
“ทำงาน” หมายถึง การทำงานโดยใช้กำลังกายหรือความรู้ โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง
“ใบอนุญาต” หมายถึง ใบอนุญาตทำงาน
“ผู้รับใบอนุญาต” หมายถึง คนต่างด้าวซึ่งได้รับใบอนุญาต
“ลูกจ้าง” หมายถึง ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 9 มาตรา 11 มาตรา 13 (1) และ (2) และมาตรา 14 ให้ทำงานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 15 (เป็นลูกจ้างที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อเป็นประกันค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างกลับออกไปนอกราชอาณาจักร
ความหมายของคนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตราต่างๆ ได้แก่
คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 9 แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 11 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 13 (1) และ (2) หมายถึง คนต่างด้าวซึ่งไม่อาจขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 9 เพราะอาจขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนเพื่อทำงานตามประเภทที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดยคำนึงถึงความมั่นคงของชาติและผลกระทบต่อสังคม
คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 14 หมายถึง คนต่างด้าวที่มีภูมิลำเนาและเป็นคนสัญชาติของประเทศที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย ถ้าได้เข้ามาในราชอาณาจักรโดยมีเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง อาจได้รับอนุญาตให้ทำงานบางประเภทหรือลักษณะงานในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวในช่วงระยะเวลาหรือตามฤดูกาลที่กำหนดได้
คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 12 หมายถึง คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายพิเศษ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักร แล้วประสงค์จะทำงานต้องปฏิบัติ ดังนี้
ขอรับใบอนุญาตทำงาน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เข้ามาในราชอาณาจักรหรือ 30 วันนับแต่วันที่ทราบการได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายนั้นๆ
ได้ทำงานต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วเท่านั้น โดยยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบที่กฎหมายกำหนด
คุณสมบัติของคนต่างด้าวที่จะขอใบอนุญาต ได้แก่
คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานแล้ว ต้องปฎิบัติดังนี้
การกำหนดวันลาองค์กรโดยส่วนใหญ่จะอ้างอิงกฎหมายแรงงานเป็นหลักพื้นฐานและเพิ่มเติมยืดหยุ่นตามรูปแบบธุรกิจ การลาถือเป็นสวัสดิการประเภทหนึ่งที่ใช้เป็นผลตอบแทนพนักงาน หรือ ดึงดูดผู้สมัครเข้ามาร่วมงานกับองค์กร
หลักการกำหนดวันลาในระเบียบบริษัท มีแนวทางดังนี้
ประเภทวันลาสิทธิตามกฎหมายแรงงาน
ลำดับ | ประเภทวันลา | เงื่อนไข | เพิ่มเติม |
1 | วันหยุดประจำสัปดาห์ | สัปดาห์ละ 1 วัน ระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน | – กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้
– กรณีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่แน่นอน นายจ้างต้องประกาศวันหยุดให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน และแจ้งเป็นหนังสือให้แรงงานทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ประกาศกำหนด |
2 | วันหยุดตามประเพณี | ต้องไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน | และ 1 ใน 13 วันที่ทุกบริษัทต้องมีคือ “วันแรงงานแห่งชาติ” |
3 | วันหยุดพักผ่อนประจำปี | ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน เมื่ออายุงานครบ 1 ปี | – หากไม่ครบ 1 ปีสามารถให้ตามสัดส่วนได้ (ข้อตกลงระหว่างนายจ้าง)
– สามารถสะสมโดยยกยอดไปใช้ในปีถัดไปได้ (ข้อตกลงระหว่างนายจ้าง) |
4 | วันลาป่วย | โดยถ้อยคำในกฎหมายใช้คำว่า “ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง” | – ลาป่วยเกินกว่า 3 วัน นายจ้างมีสิทธิเรียกดูใบรับรองแพทย์ได้
– บางบริษัทระบุสิทธิการลาป่วยได้ 30 วันต่อปี (ข้อตกลงระหว่างนายจ้าง) |
5 | การลาคลอด | สิทธิลาคลอดก่อนและหลังคลอดครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน | ได้รับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน |
6 | การลาเพื่อทำหมัน | แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ “การลาเพื่อทำหมัน” กับ “การลาเนื่องจากการทำหมัน” | ในกฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน แต่จำนวนวันลาต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์ |
7 | การลาเพื่อรับราชการ | ลาได้รับค่าจ้าง 60 วันต่อปี | รับราชการในการเรียกพล เพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดสอบความพร้อม |
8 | วันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น | กฎหมายใหม่ กำหนดให้มีสิทธิลาได้ โดยได้รับค่าจ้างอย่างน้อย 3 วันทำงานต่อปี | |
9 | การลาเพื่อฝึกอบรม | ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาเพื่อการฝึกอบรม หรือพัฒนาความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์ | อาจกำหนดให้มีการแจ้งนายจ้างล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน |
อ้างอิง : พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และฉบับใหม่ 2562
นอกจากกฎหมายแรงงานจะกำหนดให้นายจ้างจัดทำข้อบังคับการทำงานแล้ว ยังมีข้อกำหนดให้นายจ้างจัดทำทะเบียนลูกจ้างและจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
ทะเบียนลูกจ้าง
นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไปจัดทำทะเบียนลูกจ้างเป็นภาษาไทย และเก็บไว้ ณ สถานประกอบการหรือสำนักงานของนายจ้าง พร้อมที่จะให้พนักงานแรงงานตรวจได้ในเวลาทำการ และนายจ้างต้องจัดทำภายใน 15 วันนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน โดยในทะเบียนลูกจ้างอย่างน้อยจะต้องมีรายการดังต่อไปนี้
และหากมีการเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนลูกจ้าง นายจ้างต้องแก้ไขเพิ่มเติมภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือภายใน 15 วันนับแต่วันที่ลูกจ้างได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงให้นายจ้างทราบ
เอกสารเกี่ยวกับการค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด
นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไปต้องมีเอกสารเกี่ยวกับการค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
และเมื่อมีการจ่ายดังรายการข้างต้นไม่ว่ารายการใดต้องจัดให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในเอกสารไว้เพื่อเป็นหลักฐานโดยรายการในเอกสารจะอยู่ในฉบับเดียวกันหรือแยกหลายฉบับก็ได้ ในกรณีที่นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดผ่านบัญชีธนาคารให้ถือว่าหลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของลูกจ้างเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับการจ่ายเงินดังกล่าว
อายุการจัดเก็บเอกสาร: กฎหมายกำหนดให้นายจ้างเก็บรักษาทะเบียนลูกจ้างและเก็บเอกสารการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดไว้อย่างน้อย 2 ปีนับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างลูกจ้างแต่ละราย และในกรณีที่มีการยื่นคำร้องหรือมีข้อพิพาทแรงงานตามกฎหมายหรือมีการฟ้องร้องคดีแรงงาน ให้นายจ้างเก็บรักษาทะเบียนลูกจ้างไว้จนกว่าจะมีคำสั่งพิพากษาถึงที่สุดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
การจ้างงานประจำ คือการทำสัญญาจ้างโดยตรงจากนายจ้าง มีข้อกำหนดและมีค่าตอบแทนระบุชัดเจน แต่ไม่มีการระบุระยะเวลาสิ้นสุด เช่น พนักงานประจำ / ลูกจ้างประจำ
การจ้างงานแบบไม่ประจำ คือ การทำสัญญาจ้างโดยตรงจากนายจ้าง มีข้อกำหนดและมีค่าตอบแทนระบุชัดเจน ตามข้อตกลงกับนายจ้างนั้นๆ แต่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้อย่างชัดเจน หรือการทำสัญญาจ้างแบบมีกำหนดเวลา เช่น พนักงานชั่วคราว พนักสัญญาจ้าง พนักงานพาร์ทไทม์ เป็นต้น
อธิบายรายละเอียดการจ้างงานแต่ละแบบ และการเชื่อมโยงยุทธวิธีหาคนทำงาน
การจ้างงานแบบสัญญาจ้างชั่วคราว
– มีระยะเวลาที่จ้างแน่นอน เช่น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี เป็นต้น
– การจ้างงานลักษณะนี้ พนักงานชั่วคราวได้สิทธิ์เหมือนพนักงานประจำ
– การจ่ายค่าตอบแทนในรูปแบบเงินเดือน
– ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น ค่าจ้างขั้นต่ำ เวลาพัก เวลาทำงาน ค่าทำงานในวันหยุดประจำปีบริษัท ค่าทำงานล่วงเวลา วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดพักผ่อนประจำปี สิทธิการลาป่วย พนักงานมีสิทธิได้รับเท่าเทียมกันตามที่กฎหมายกำหนด
การจ้างแบบสัญญาจ้างชั่วคราว ยกตัวอย่างเช่น…..
กรณี
การจ้างงานแบบ Part-time
ลักษณะเดียวกับสัญญาจ้างชั่วคราว แต่งาน Part-time เหมาะกับการทำงานเป็นกะ เป็นรายชั่วโมง หรือทำงานเป็นโครงการระยะสั้น 5 วัน 10 วัน 20 วัน เป็นต้น
– เป็นการจ้างมาช่วยพนักงานประจำ
– ค่าตอบแทนอาจคิดเป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน เช่นชั่วโมงละ 70 บาท วันละ 500 บาท เป็นต้น
– หรือจ้าง 3 วันต่อสัปดาห์ (ในกลุ่มนักศึกษาปี 4 ที่กำลังจบมีวันว่างต่อสัปดาห์เยอะ)
การจ้างงานแบบ Part-time ยกตัวอย่างเช่น….
กรณี
การจ้างงานแบบรายวันหรือรายชั่วโมง
– ได้รับค่าตอบแทนในวันที่งาน คิดเป็นวัน หรือ จำนวนชั่วโมงที่ทำ
– ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายกำหนด
การจ้างงานแบบรายวันหรือรายชั่วโมง ยกตัวอย่างเช่น…..
การจ้างแบบรับเหมา
– เป็นการรับเหมางานเป็นชิ้นงาน รับจ้างทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตั้งแต่ต้นจนจบ
– ค่าตอบแทนตามตกลงจากผลงาน ปริมาณงานที่สำเร็จ หรือตามสัดส่วน เป็นต้น
การจ้างงานแบบรับเหมา ยกตัวอย่างเช่น…
สรุป
การจ้างงานแบบหลากหลายจะช่วยให้ HR มีโซลูชั่นในการช่วยหาคนมาทำงานได้ตรงตามความต้องการมากขึ้น ไม่ต้องเสียเวลา ไม่เสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ ยกตัวอย่างที่แอดเคยหาคนมาช่วยงาน ดังนี้
– หาคนมาทำงานช่วงระหว่างพนักงานฝ่ายบัญชีลาคลอด ก็ลองหาพนักงานสัญญาจ้าง 4 เดือน มาเรียนรู้งาน และช่วยงานฝ่ายฯ ตลอดระยะเวลาพนักงานลาคลอด
– นักศึกษาฝึกงานก็เป็นโซลูชั่นหนึ่งที่ช่วยเสริมกำลังคน เช่น นักศึกษาฝึกงานด้านไฟฟ้ามาควบคุมตรวจงานระบบไฟในงานคอนเสิร์ต
– การหากำลังเสริมมาช่วยในช่วงเวลาเร่งด่วน หรือฤดูกาลที่ขายสินค้าได้ดี เช่น จ้างพนักงาน part time มาช่วยงานในวันเสาร์และอาทิตย์
– หรือแม้แต่การจ้างพนักงานในองค์กรทำงานเสริม เช่น บริษัทต้องการ call center (hotline) รับโทร.ช่วงเวลา 18.00 – 20.00 น. ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 พฤศจิกายน หลังจากประกาศออกไปก็ได้รับผลตอบรับอย่างดี ช่วงถ่วงเวลาให้เราหาคนมาฟอร์มทีมตามกำหนดการ
– หรือแม้แต่บางองค์กรสมัยนี้มีการจ้างผู้เกษียณอายุมาทำงานช่วงเวลาสั้นๆ วันละ 4 – 6 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3 – 4 วันก็เพิ่มกำลังคนได้เป็นอย่างดี
– หรือจ้างคณะอาจารย์และนักศึกษารับงานโครงการไปออกแบบให้ผลงานออกมาก็จ่ายตามชิ้นงาน การออกแบบระบบโปรแกรมสำเร็จใช้ในองค์กร
แต่การเพิ่มโซลูชั่นการจ้างงานที่หลากหลายก็ต้องมีวิธีการตรวจสอบ วัดผลงานที่ชัดเจนว่าคุ้มค่าตอบแทนหรือไม่ รวบถึงการจ่ายค่าตอบแทนที่ถูกต้องแม่นยำด้วย การหาโปรแกรมสำเร็จรูปมาช่วยควรมีความยืดหยุ่นให้สอดคล้องรองรับกับรูปแบบการจ้างงานในปัจจุบัน อย่างเช่น โปรแกรมเงินเดือน EZY-HR ที่สามารถคำนวณค่าตอบแทนพนักงานรายวันและรายชั่วโมงได้ด้วย https://support.ezy-hr.com/วิธีเพิ่มพนักงานรายวัน/
เมื่ออาทิตย์ที่แล้วมีโอกาสได้ไปเดินงานมหกรรมหนังสือที่เมืองทองธานี ได้หนังสือดีๆ มาหลายเล่ม หนึ่งในนั้นคือ หนังสือปรัชญาการทำงาน และการดำเนินชีวิตของ ดร.เทียม โชควัฒนา ผู้ก่อตั้งและวางรากฐานกิจการในเครือสหพัฒน์
“ความรู้เหมือนดาบยิ่งใช้ยิ่งคม”
ผู้ใดมีความรู้และนำเอาความรู้ของตนมาใช้และถ่ายทอดให้ผู้อื่น
ผู้นั้นจะยิ่งเกิดความชำนาญและเป็นการเพิ่มคุณค่าแห่งความรู้นั้นด้วย
เปรียบเสมือนดาบที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ และได้รับการเอาใจใส่ดูแล
ให้คงไว้ซึ่งความคม…ตลอดเวลา
เมื่อเห็นบทนี้แอดจึงนึกถึงเรื่อง ปิรามิดการเรียนรู้ (Learning Pyramid) ที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากทฤษฎีของ Edgar Dale (1969)
ปิรามิดการเรียนรู้ (Learning Pyramid) คือ วิธีการเรียนรู้แต่ละวิธีได้รับประสิทธิภาพแต่ต่างกัน
ความรู้เหมือนดาบยิ่งใช้ยิ่งคม คำสอนนี้คมจริง การสอน การถ่ายทอด การแบ่งปันความรู้นั้นต้องทำการบ้านอย่างหนัก ผู้สอนต้องอ่านมากขึ้น ศึกษาข้อมูลมากขึ้น นำมารวบรวมให้เป็นหัวข้อ หาวิธีถ่ายทอดให้ผู้รับฟังเข้าใจ
ผู้สอนเองก็จะได้ประโยชน์จากการแบ่งปันมากขึ้น ได้ความรู้ความชำนาญมากขึ้น ได้การแลกเปลี่ยนในมุมมองอื่นๆ มากขึ้น มีการต่อยอดจากการเรียนเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ยังไม่จบแค่นี้ค่ะ…สไตล์ของบทความ EZY-HR
ยกตัวอย่างลองหาวิธีพัฒนาทักษะความรู้พนักงานจากปิรามิด หากเรามีโครงการสนับสนุนให้พนักงานเป็น “วิทยากร” ในส่วนที่ตนชำนาญ มาลองคิดชื่อโครงการกัน เช่น
โครงการ “Tutor Tume ติวเตอร์ ติวมี”
โครงการ “Knowledge Sharing แบ่งปันความรู้”
โครงการ “Learn Ploen เรียนเพลิน”
วัตถุประสงค์
สนับสนุนให้พนักงานในองค์กรแบ่งปันความรู้ความชำนาญที่ตนมีอยู่ให้กับเพื่อนร่วมงานภายในองค์กร
ขั้นตอน
*อย่าจำกัดเลยค่ะ เปิดกว้างทางการเรียนรู้ ทุกอย่างมีประโยชน์ต่อการทำงานทั้งสิ้นหากรู้จักประยุกต์ใช้
*จัดคลาสที่พนักงานอยากเรียนสลับกับคลาสที่จำเป็นต้องเรียน
แอดมิดเขียนเสมอว่า เครื่องมือที่ดี คือ เครื่องมือที่คนใช้ ท่านสามารถนำทฤษฎีต้นแบบมาประยุกต์ใช้ หรือการผสมผสานเครื่องมือเครื่องใช้ให้เข้ากับองค์กร และพนักงานในองค์กร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1. หนังสือปรัชญาการทำงานและการดำเนินชีวิต ของ ดร.เทียม โชควัฒนา
2. ปิรามิดแห่งการเรียนรู้ (The Learning Pyramid) เรียนยังไงให้ได้ผลมากที่สุด https://www.myquestionth.com/question/8709
โรคซึมเศร้า เริ่มเป็นที่รู้จักมาไม่นาน ยิ่งมาพูดถึงมากขึ้นจากข่าวการเสียชีวิตที่ได้ยินได้อ่านของดาราท่านหนึ่ง แอดมินเลยอยากหยิบยกมาเล่าให้ฟังกันว่าหากมีคนในองค์กรของท่านเป็นโรคซึมเศร้า คนในองค์กรควรทำอย่างไร เราในฐานะ HR จะทำอย่างไร
โรคซึมเศร้า เป็นโรคหนึ่งซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ เหมือนเช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต และไม่ว่าจะเป็นเพศ หญิง หรือชาย ช่วงอายุใดก็สามารถเกิดขึ้นได้ แต่สาเหตุนี้มักพบในกลุ่มคนที่พบเจอเหตุการณ์ที่กระทบต่อจิตใจ กระทบต่อความรู้สึกรุนแรง เช่น การผิดหวัง การสูญเสีย ความเครียดจากปัญหารุมเร้าซึ่งโรคนี้สามารถรักษาหายได้ด้วยการใช้ยา การรักษาทางจิตใจ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน
สาเหตุของโรคซึมเศร้า
อาการของโรคซึมเศร้า
การรักษาโรคซึมเศร้า
การปฏิบัติต่อพนักงานที่เป็นโรคซึมเศร้า
คำพูดที่ควรใช้กับคนซึมเศร้าในที่ทำงาน
คำพูดที่ไม่ควร
ผู้ป่วยที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ดูแลตนเอง และปฏิบัติตามแพทย์อย่างเคร่งครัดก็จะสามารถหายได้ และดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ การให้โอกาสเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรส่งเสริมภายในองค์กรให้เป็นองค์กรที่น่าอยู่ช่วยกันนะคะ EZY-HR เป็นกำลังใจให้เสมอ
แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9 จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ขอขอบคุณ
https://www.lovecarestation.com/ประโยคที่ควรไม่ควร-พูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า/
คลอดมาอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 บังคับใช้ 5 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา วันนี้ผู้เขียนสรุปสาระสำคัญของ พ.ร.บ ฉบับมาให้เพื่อนๆ ชาว HR เข้าใจอย่างง่ายๆ ดังนี้
1. อัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัดชำระ
หากนายจ้างผิดนัดจ่ายเงินตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ ต้องเสียดอกเบี้ยอัตรา 15% ต่อปี เช่นในกรณี
ภายในเวลาที่กำหนด
2. การเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง
กรณีนายจ้างมีการเปลี่ยนตัว เปลี่ยนนิติบุคคล จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง และให้สิทธิต่างๆ ที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้างเดิมคงมีสิทธิต่อไป โดยนายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิ และหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ
3. ลากิจธุระที่จำเป็น
ลูกจ้างมีสิทธิลากิจได้ อย่างน้อย 3 วัน และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันที่ลา
4. ลาเพื่อคลอดบุตร
ลูกจ้างหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วัน โดยให้รวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตร แต่ให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วย และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน
5. ห้ามเลือกปฎิบัติในการจ่ายค่าจ้าง
นายจ้างต้องกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานอันมีลักษณะ คุณภาพ และปริมาณเท่ากัน หรืองานที่มีค่าเท่าเทียมกันในอัตราเท่ากันไม่ว่าลูกจ้างนั้นจะเป็นชายหรือหญิง
6. สินจ้าง(ค่าจ้าง) แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
กรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้นายจ้างจ่ายเงินให้ลูกจ้างเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับ นับแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่เลิกสัญญาจ้างมีผล โดยให้จ่ายในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน
7. กำหนดการจ่ายค่าตอบแทนให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลา
ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุดและเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลา ดังต่อไปนี้
ในกรณีเลิกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่าย ตามที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ให้แก่ลูกจ้างภายใน 3 วันนับแต่วันที่เลิกจ้าง
8. เงินระหว่างหยุดกิจการชั่วคราว
ในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นการชั่วคราวด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้าง จนทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน
9. อัตราค่าชดเชย
ปรับค่าชดเชยใหม่…เป็น 6 อัตรา
10. เงินชดเชยพิเศษเนื่องจากย้ายสถานประกอบการ
11. การยกเลิกหนังสือเตือนกรณีนายจ้างไม่ยื่นแบบแสดงสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน
นายจ้างผู้ใดไม่ยื่นหรือไม่แจ้งแบบแสดงสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
ช่วงนี้ต้องรีบ update กฎหมายแรงงานใหม่ๆ จะได้ไม่ผิดพลาดกัน และอาจจะต้องปรับปรังปรุงกฎระเบียนข้อบังคับองค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานฉบับใหม่ด้วยนะคะ EZY-HR ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อน HR ทุกคน ปรับปรุงพัฒนางานของเรากันต่อไป
ขอขอบคุณค่ะ