โรคซึมเศร้า เริ่มเป็นที่รู้จักมาไม่นาน ยิ่งมาพูดถึงมากขึ้นจากข่าวการเสียชีวิตที่ได้ยินได้อ่านของดาราท่านหนึ่ง แอดมินเลยอยากหยิบยกมาเล่าให้ฟังกันว่าหากมีคนในองค์กรของท่านเป็นโรคซึมเศร้า คนในองค์กรควรทำอย่างไร เราในฐานะ HR จะทำอย่างไร

โรคซึมเศร้า เป็นโรคหนึ่งซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ เหมือนเช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต และไม่ว่าจะเป็นเพศ หญิง หรือชาย ช่วงอายุใดก็สามารถเกิดขึ้นได้ แต่สาเหตุนี้มักพบในกลุ่มคนที่พบเจอเหตุการณ์ที่กระทบต่อจิตใจ กระทบต่อความรู้สึกรุนแรง เช่น การผิดหวัง การสูญเสีย ความเครียดจากปัญหารุมเร้าซึ่งโรคนี้สามารถรักษาหายได้ด้วยการใช้ยา การรักษาทางจิตใจ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน  

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

  • สาเหตุจากพันธุกรรม ที่มากจากครอบครัวที่มีอาการเป็นโรคซึมเศร้า
  • สาเหตุจากสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ สภาพจิตใจที่เจอสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ ทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบความคิด เช่น มองสิ่งต่างๆในแง่ลบ เกิดความรู้สึกผิดหวัง เกิดอาการกังวลสภาพจิตใจรู้สึกแย่ หดหู่
  • สาเหตุจากการเจอสถานการณ์ต่างๆ ที่ทำให้กระทบจิตใจ ทำให้ส่งผลต่อสภาพจิตใจ เช่น การสูญเสีย การผิดหวัง เจอเรื่องเครียดตลอดเวลา

อาการของโรคซึมเศร้า

  • รู้สึกหงุดหงิดง่าย กังวลไม่สบายใจ
  • เก็บตัว แยกออกจากสังคมรอบข้าง
  • เศร้า หม่นหมอง ท้อแท้ สิ้นหวัง หมดกำลังใจ
  • ไม่มีสมาธิในการทำงาน ความสามารถแยกแยะไม่มี การตัดสินใจลดน้อยลง
  • การเบื่ออาหาร ทานอาหารลดน้อยลง
  • ซึมเศร้าเป็นทุกข์ รู้สึกเครียดตลอดเวลา
  • มีอาการนอนไม่หลับ นอนน้อยลงหรือนอนมากขึ้นเกินไป
  • มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย

การรักษาโรคซึมเศร้า

  • รักษาทางจิตใจ อาจจะเป็นการพบจิตแพทย์การพูดคุย ให้จิตแพทย์หาสาเหตุอาการที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าของแต่ละบุคคล ให้จิตแพทย์สังเกตทางพฤติกรรมแล้วทำให้ผู้ป่วย และคนรอบข้างได้เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหารักษาอาการของโรคซึมเศร้ากันต่อไป
  • รักษาทางยา ทางแพทย์เมื่อวิเคราะห์อาการของผู้ป่วยจนแน่ชัดแล้วจะมีการจ่ายยาให้ผู้ป่วยบางกลุ่มขึ้นอยู่กับกรณีไป

การปฏิบัติต่อพนักงานที่เป็นโรคซึมเศร้า

  1. HR ควรเก็บเป็นความลับ สิ่งนี้เป็นสิ่งแรกที่ควรทำอย่างยิ่ง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการปฏิบัติจากเพื่อนร่วมงานเช่นปกติ
  2. แจ้งหัวหน้างาน ให้คำแนะนำหัวหน้างานว่า….
  • โรคซึมเศร้าเป็นโรคชนิดหนึ่งที่สามารถรักษาได้
  • ปฏิบัติกับพนักงานดังเช่นปกติ พยายามจัดสมดุลการดูแลน้องในทีมให้เท่าเทียมกัน
  • ฝึกฝนการให้ Feedback ต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า
  1. แนะนำกฎระเบียบที่พนักงานสามารถใช้สิทธิ์ได้
  • โรคซึมเศร้าเป็นโรคชนิดหนึ่ง สามารถใช้สิทธิ์การลาป่วยตามกฎระเบียบบริษัท เช่น ลาป่วยได้ 30 วันต่อปี, ลาหยุดตามใบนัดแพทย์ เป็นต้น
  1. สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดียิ้มแย้มให้กัน ช่วยสนับสนุนซึ่งกันและกัน
  2. สุดท้ายตรวจติดตาม (Monitoring) ถามไถ่เป็นระยะถึงการรักษาผลทางการแพทย์เพื่อทราบสถานการณ์ แต่ไม่ให้บ่อยจนเกินไป และให้กำลังใจพนักงานเสมอ
  3. ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า 

คำพูดที่ควรใช้กับคนซึมเศร้าในที่ทำงาน

  • อยากคุยกับผมไหม หรือมีอะไรปรึกษาได้เสมอนะ (หัวหน้างาน)
  • คุณเป็นสมาชิกในทีมของเรานะ
  • (หัวหน้างาน) ติดขัดอะไรเข้ามาคุยกับผมได้ตลอดเวลา ผมยินดี support งานทุกคนนะ
  • คุณช่วยงานผมได้เยอะเลย
  • อาจไม่เข้าใจ แต่จะเป็นกำลังใจให้นะ

คำพูดที่ไม่ควร

  • ลืมๆ มันไปซะเถอะ
  • ไม่อยากรู้สึกแบบนี้ ก็เลิกคิดสิ
  • ไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวก็ผ่านไป
  • จะเศร้าไปถึงไหนกัน
  • เข้าใจว่ารู้สึกอย่างไร ฉันก็เคยเป็น
  • เลิกเศร้าได้แล้ว

ผู้ป่วยที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ดูแลตนเอง และปฏิบัติตามแพทย์อย่างเคร่งครัดก็จะสามารถหายได้ และดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ การให้โอกาสเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรส่งเสริมภายในองค์กรให้เป็นองค์กรที่น่าอยู่ช่วยกันนะคะ EZY-HR เป็นกำลังใจให้เสมอ

แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9 จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ขอขอบคุณ

https://www.lovecarestation.com/ประโยคที่ควรไม่ควร-พูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า/

 

 

Comments are closed.