ค่าลดหย่อนภาษี คือ
ค่าลดหย่อนและยกเว้นเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบในการคำนวณภาษีที่กฎหมายกำหนดให้นำไปหักออกจากเงินได้ ได้อีกหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว
เงินเดือนเท่าไหร่ถึงเสียภาษี
– เงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาท = ไม่ต้องยื่นภาษี
– เงินเดือนไม่เกิน 26,583.33 บาท = ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
– เงินเดือนมากกว่า 26,583.33 บาท = ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษี
ถ้าไม่ได้จ่ายประกันสังคมแลเงินเดือนไม่เกิน 25,833.33 บาท = ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
ถ้าไม่ได้จ่ายประกันสังคมแลเงินเดือนเกิน 25,833.33 บาท = ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษี
วิธีการคำนวน
สมมติว่าคุณมีเงินเดือน เดือนละ 26,583.33 บาท x 12 เดือน (ต้องคิดทั้งปี) = 319,000 บาท
สูตรคำนวนเงินได้สุทธิ ดังนี้
เงินได้ 319,000 บาท – ค่าใช้จ่าย 100,000 บาท** – ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท – เงินกองทุนประกันสังคม 9,000 บาท = เงินได้สุทธิ 150,000 บาท
หมายเหตุ **ค่าใช้จ่ายได้ 50% (แต่ไม่เกิน 100,000 บาท)
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ใช้ในการคำนวนภาษี
มีอะไรที่ใช้ลดหย่อนได้บ้าง
ค่าลดหย่อนส่วนตัว และครอบครัว
ค่าลดหย่อน กลุ่มประกัน
ค่าลดหย่อน กลุ่มเงินออม และการลงทุน
ค่าลดหย่อน กลุ่มอสังหาริมทรัพย์
ค่าลดหย่อน กลุ่มเงินบริจาค
ค่าลดหย่อนอื่นๆ ตามมาตรการรัฐในปีนั้นๆ เช่น
หมายเหตุ ผู้มีเงินได้ควรติดตามข่าวสารการลดหย่อนภาษีแต่ละปี เพื่อการวางแผนภาษีอย่างถูกต้องและเหมาะสม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก