โปรแกรม‌ ‌EZY-HR‌ ‌แนะนำ‌ ‌Add‌ ‌On‌ ‌ ‌
“‌Shift‌ ‌Request‌”‌‌ ‌‌พนักงาน‌ขอ‌สลับ‌กะ‌การ‌ทำงาน‌ของ‌ตัว‌เอง‌ใน‌วัน‌นั้นๆ‌ ‌

เรา‌ช่วย‌ทำงาน‌ใน‌ด้าน‌ใด‌?

พนักงาน‌สามารถ‌ส่ง‌คำขอ‌ ‌ความ‌ต้องการ‌จะ‌เปลี่ยน‌กะ‌การ‌ทำงาน‌ของ‌ตนเอง ‌ใน‌ช่วง‌เวลา‌ของ‌วัน‌นั้น‌ ‌
มายัง‌หัวหน้า‌ ‌โดย‌ผ่าน‌ระบบ‌หรือApplication‌ ‌ได้‌ ‌เมื่อ‌พนักงาน‌ส่ง‌คำขอ‌ ‌ระบบ‌จะ‌ทำ‌การ‌เเจ้ง‌เตือน‌
มายัง‌หัวหน้า‌ให้‌รับ‌ทราบ‌ ‌โดย‌สามารถ‌กด‌อนุมัติ‌ผ่าน‌ระบบ‌หรือAppได้‌ทันที‌ ‌เมื่อ‌หัวหน้า‌ทำการ‌อนุมัติ‌
ระบบ‌จะ‌ทำการ‌ปรับ‌เปลี่ยน‌ข้อมูล‌ภาพ‌รวม‌ ตาราง‌การ‌ทำงาน‌ของ‌พนักงาน‌ให้‌อัตโนมัติ‌ ‌

เเก้‌ไข‌ปัญหา‌อะไร‌ได้‌บ้าง‌ ‌
● พนักงาน‌ขอ‌เปลี่ยน‌กะ‌งาน‌ได้‌ด้วย‌ตัว‌เอง‌ ‌
● HR‌ ‌หรือ‌หัวหน้า‌ทำงาน‌ได้‌สะดวก‌ ‌รวดเร็ว‌ ‌เเละ‌ถูก‌ต้อง‌เเม่น‌ยำ‌มาก‌ขึ้น‌ ‌
● พนักงาน‌ไม่‌จำเป็น‌ต้อง‌เดิน‌ไป‌หา‌หัวหน้า‌งาน‌ ‌

“‌Shift‌ ‌Swap‌ ‌Request‌”‌‌ ‌‌พนักงาน‌ขอ‌สลับ‌กะ‌การ‌ทำงาน‌ ใน‌วัน‌ทำงาน‌วัน‌อื่น‌หรือ‌วัน‌หยุด‌ ‌

เรา‌ช่วย‌ทำงาน‌ใน‌ด้าน‌ใด‌ ‌

เมื่อ‌พนักงาน‌ส่ง‌คำขอ‌ ‌Shift‌ ‌Swap‌ ‌Request‌ ‌คือ‌การ‌ขอ‌สลับ‌กะ‌การ‌ทำงาน‌ของ‌ตนเอง‌ ‌โดย‌เรา‌อยาก‌
มา‌ทำงาน‌ใน‌วัน‌หยุด ‌เเท‌นวัน‌ที่‌เรา‌ต้อง‌มา‌ทำงาน‌ ‌ผ่าน Application‌ ‌หรือ‌ ‌ระบบ‌ ‌มายัง‌หัวหน้า‌ ‌
ระบบ‌จะ‌ทำ‌การ‌เเจ้ง‌เตือน‌มายัง‌หัวหน้า‌ให้‌รับ‌ทราบ‌ ‌โดย‌สามารถ‌กด‌อนุมัติ‌ผ่าน‌ระบบ‌หรือ App ได้‌ทันที‌ ‌
เมื่อ‌หัวหน้า‌ทำการ‌อนุมัติ ‌ระบบ‌จะ‌ทำการ‌ปรับ‌เปลี่ยน‌ข้อมูล‌ภาพ‌รวม‌ตาราง‌การ‌ทำงาน‌ของ‌พนักงาน‌ให้‌
อัตโนมัติ‌ ‌

‌เเก้‌ไข‌ปัญหา‌อะไร‌ได้‌บ้าง‌ ‌
● พนักงาน‌ขอ‌เปลี่ยน‌กะ‌งาน‌ได้‌ด้วย‌ตัว‌เอง‌ ‌
● HR‌ ‌หรือ‌หัวหน้า‌ทำงาน‌ได้‌สะดวก‌ ‌รวดเร็ว‌ ‌เเละ‌ถูก‌ต้อง‌เเม่น‌ยำ‌มาก‌ขึ้น‌ ‌
● พนักงาน‌ไม่‌จำเป็น‌ต้อง‌เดิน‌ไป‌หา‌หัวหน้า‌งาน‌ ‌


“‌Shift‌ ‌Swap‌ ‌Staff‌ ‌Request‌”‌‌ ‌‌พนักงาน‌ขอ‌สลับ‌กะ‌การ‌ทำงาน‌ใน‌วัน‌ทำงาน‌หรือ‌วัน‌หยุด‌กับ‌เพื่อน‌ร่วม‌งาน‌”‌ ‌
เรา‌ช่วย‌ทำงาน‌ใน‌ด้าน‌ใด‌ ‌

เมื่อ‌พนักงาน‌ส่ง‌คำขอ‌มายัง‌หัวหน้า‌งาน‌ผ่าน‌ระบบ ‌โดย‌พนักงาน‌ต้องการ‌ที่‌จะ‌สลับ‌กะ‌การ‌ทำงาน‌กับ‌เพื่อน‌ร่วม‌งาน‌ ระบบ‌จะ‌ประเมิน‌คำ‌ขอเเละ‌เปลี่ยน‌เเป‌ลง‌ข้อมูล‌ได้‌อย่าง‌รวดเร็ว‌และ‌ทำการ‌เปลี่ยน‌ ‌
เเป‌ลง‌ข้อมูล‌ใน‌ตาราง‌งาน‌ให้‌ทัน‌ ‌หัว‌หน้า‌งาน‌เเละHR สามารถ‌ทราบ‌ตาราง‌การ‌ทำงาน‌ของ‌พนัก‌งาน‌ได้‌
เเบ‌บทัน‌ที‌ ‌ใน‌การ‌ตรวจ‌สอบ‌เเละ‌หา‌จำนวน‌พนักงาน ‌ให้‌เพียง‌พอ‌ต่อ‌การ‌ทำ‌งาน‌เเละ‌บริการ‌ ‌


เเก้‌ไข‌ปัญหา‌อะไร‌ได้‌บ้าง‌ ‌
● พนักงาน‌สามารถ‌สร้าง‌คำ‌การ‌สลับ‌กะ‌งาน‌/‌วัน‌หยุด‌กับ‌เพื่อนร่วม‌งาน‌ได้‌เอง‌ ‌เพียง‌รอ‌คำ‌อนุมัติ‌จาก‌หัวหน้า‌งาน‌ ‌
● สะดวก‌ต่อ‌การ‌จัดการ‌งาน‌ระบบ‌ ‌โดย‌จะ‌ไม่‌เกิด‌ความ‌ผิด‌พลาด‌ของ‌ตาราง‌การ‌ทำ‌งงา‌นที่‌ทับ‌
ซ้อน‌กัน‌ ‌
● HRเข้า‌ถึง‌ข้อมูล‌ตาราง‌การ‌ทำงาน‌ที่‌ถูก‌ต้อง‌ได้‌ตลอด‌เวลา‌ ‌

ในหลายๆธุรกิจ คงต้องมีการส่งเสริมการขายด้วยการ มีพีซียืนเชียร์ขายสินค้า และเชื่อว่าคงประสบปัญหาคล้ายๆกัน คือ
เราจะรู้ได้อย่างไร เด็กถึงหน้างานแล้วตามเวลาที่ทางร้านกำหนด หรือ เราจะรู้ได้อย่างไรเด็กไม่กลับก่อนเวลา

EZY-HR เช็คอิน นอกสถานที่

ที่ผ่านมาธุรกิจประเภทนี้ ต้องมีหัวหน้างาน หรือที่เรียกว่า supervisor คอยสุ่มตรวจตามสถานที่ต่างๆที่มีการส่งเด็กไปทำการส่งเสริมการขาย ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว และการส่งsupervisor ตรวจงานก็มีปัญหาในเรื่องการเดินทาง ในแต่ละวัน supervisor สามารถเดินทางไปตรวจได้แค่ 3-5 ที่ ก็หมดเวลาแล้ว 1 วัน เพียงเพื่อเราอยากทราบว่า พนักงานส่งเสริมการขายทำงานจริงหรือไม่ แต่เราต้องเสียค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้อย่างมากมาย และอาจจะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด

เมื่อเวลาผ่านไปก็มีการพัฒนามากขึ้น คือ การให้เด็กถ่ายรูปลงกรุ๊ปว่าถึง ณ จุด แล้วจริงๆหรือยัง
แต่รูปถ่ายนั้นเราก็ไม่สามารถทราบได้เช่นกันว่า เป็นรูปจากคลังไหม เป็นรูปเก่าไหม

การแชร์โลเคชั่น เป็นโลเคชั่นหลอกไหม และปัญหานี้ก็ส่งผลกลับมายังหัวหน้างานเมื่อหน้าร้านโทรศัพท์ต่อตรงมาจากร้านว่า เด็กไม่มาให้มาขนบูทกลับไปได้เลย สิ่งที่ตามมาทำให้ส่งผลเสียหายและภาพลบกับเจ้าของสินค้า หรือ บริษัทมากๆ

โปรแกรม EZY-HR มีระบบ Checkin-out ทำให้ทราบได้ทันทีว่า พีซีถึงหน้าร้านจริงหรือไม่
ทั้งจากการตรวจสอบโลเคชั่น และการให้พนักงานยืนยันสถานที่ทำงานโดยการเซลฟี่ ที่ระบบมีการบังคับให้เป็นการถ่ายภาพสด จากสถานที่อยู่ ณ ขณะนั้น
โดยที่ทางหัวหน้างานสามารถเช็คเวลาเข้างานของพนักงานได้ผ่านเว็บเพื่อเช็คว่าใครมาทำงานแล้วบ้าง ทำให้ หมดปัญหาเรื่องการเข้าออกงานของ PC

จากตอนที่ 1 และ 2 เราทราบกันไปแล้วว่า ฝ่าย HR ทำงานสะดวกขึ้นได้อย่างไร

ตัวช่วย HR ให้งานง่ายขึ้น

 

ทุกวันนี้ เทคโนโลยีในงานระบบบริหารงานบุคคลเข้ามามีบทบาทส่วนช่วยเหลือในหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยลดงานด้านเอกสาร และลดเวลาในการทำงานลง จากเดิมที่ต้องเขียนเอง แก้ไขเอง หรือคิดเอง ก็เปลี่ยนเป็นระบบคำนวณและแก้ไขให้ ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่ฝ่าย HR จะไม่เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

 

แล้วในมุมพนักงานล่ะ พนักงานจะได้อะไร?

 

สำหรับพนักงานแล้ว การใช้งานระบบโปรแกรมจัดการระบบบริหารงานบุคคลที่ดี จะลดระยะเวลาทำงานลงเช่นกัน และเพิ่มความสะดวกสบายทั้งในฝั่งของหัวหน้างานและฝั่งพนักงาน มีเรื่องใดบ้างมาดูกัน

 

  1. เพิ่มความรวดเร็วในการลงเวลาทำงาน และตรวจสอบเวลาตนเองได้ โดยสามารถดูได้ทั้งบนหน้า web และหน้า mobile application
  2. พนักงานสามารถตรวจสอบโควตาการลาคงเหลือของลาแต่ละประเภทได้เอง โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินมาถาม HR และต้องไปนั่งเปิดใบกระดาษลาย้อนหลัง
  3. พนักงานสามารถขอลา ขอโอที หรือขอรายการอื่นๆ ได้ตามที่มีการตั้งค่าในระบบเอาไว้ และสามารถตรวจสอบการอนุมัติได้ทันที
  4. หัวหน้างานสามารถอนุมัติการลา ขอโอที หรือขอรายการอื่นๆ ได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ทั้งในและนอกบริษัท
  5. หัวหน้างานสามารถตรวจสอบการมาทำงานของพนักงาน รวมถึงการจัดเวลาการทำงานของพนักงานเองได้ โดยไม่ต้องส่งเรื่องมาที่ HR เพื่อดำเนินการให้
  6. พนักงานสามารถดาวโหลดสลิปเงินเดือนได้เอง รวมถึงตรวจสอบรายการเงินได้ ค่าลดหย่อน และประมาณการภาษี เพื่อวางแผนทางด้านภาษีได้
  7. ที่สำคัญที่สุด ลดการใช้กระดาษและหมึก ลดเวลาในการเดินและตามเอกสาร ลดการสูญหายหรือเสียหายของเอกสารต่างๆ

 

สนใจอยากจะรู้ว่า โปรแกรมจัดการระบบบริหารงานบุคคลออนไลน์ EZY-HR จะช่วยคุณได้ยังไง ภายใน 10 นาที คลิกที่นี่

รูปประกอบจาก Photo by bruce mars from Pexels

 

ตอนที่แล้ว เราได้พูดถึงภาระงานของฝั่ง HR ที่ต้องทำในแต่ละเดือน

ตัวช่วย งาน HR ให้ง่าย

ด้วยภาระงานจำนวนมากขนาดนี้ ฝ่าย HR ก็มักจะปวดหัวกับการทำงานในแต่ละอย่างต้องให้รวดเร็วและทันเวลาเสมอ เพราะงาน HR มีเรื่องของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องแทบจะทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการขาดลามาสายที่ต้องสรุปเป็นรายเดือน การประเมินผลทดลองงาน การสรุปภาษีประจำปี การประเมินผลงานประจำปี การจัดทำสถิติรายวัน รายเดือน รายไตรมาส และรายปี เป็นต้น

เช่น ประกันสังคมและรายงาน ภงด.1 ต้องส่งภายในระยะเวลาที่กำหนดในแต่ละเดือน ไม่เช่นนั้นจะโดนโทษปรับ ซึ่งคิดเป็นรายวัน หรือการต่อเอกสาร Work Permit ของพนักงานที่เป็นต่างชาติ ถ้าดำเนินการไม่ทัน พนักงานท่านนั้นจะต้องกลับประเทศก่อนและต้องเสียเวลาในการดำเนินการเอกสารใหม่ เป็นต้น

ถ้ามีระบบที่มีความสามารถเหล่านี้ได้นะ จะช่วยทำให้งาน  HR ง่ายขึ้นมากโดย

  1. ทำการเก็บบันทึกประวัติที่เกิดขึ้น ซึ่งง่ายต่อการค้นหาโดยสามารถเรียกดูข้อมูลตามที่เราต้องการได้ โดยสามารถเรียกดูได้เป็นรายแผนก รายคน หรือตามประเภทของแต่ละฟังค์ชั่นได้
  2. ทำการประมวลผล ในฟังค์ชั่นและรายงานหลายๆ อย่างในระบบ มีการประมวลผลและสรุปยอดต่างๆ ให้ ทำให้ช่วยประหยัดระยะเวลา โดยสามารถเรียกดูได้เป็นรายแผนก รายคน หรือตามประเภทของแต่ละฟังค์ชั่นได้
  3. แจ้งเตือน ในระบบมีหลายๆ ฟังค์ชั่นที่สามารถแจ้งเตือนผู้ใช้งานได้ ทำให้ไม่พลาดที่จะทำงานที่สำคัญๆ เช่น แจ้งเตือนพนักงานผ่านทดลองงานหรือกำลังจะหมดสัญญาจ้าง แจ้งเตือนพนักงานที่ลาในวันนั้น แจ้งเตือนใบคำขอต่างๆ ที่รอการอนุมัติ แจ้งเตือนใบอนุญาตหมดอายุ แจ้งเตือนเอกสารราชการหมดอายุ แจ้งเตือนการต่อทะเบียนรถ การจ่ายภาษีโรงเรือน หรืออื่นๆ ตามที่มีการบันทึกไว้ในระบบ เป็นต้น
  4. อำนวยความสะดวก ระบบมีการอำนวยความสะดวกในการทำงานแก่ทั้ง Admin และพนักงานผู้ใช้งาน โดยสามารถสร้าง User ให้พนักงานเข้าทำงานในระบบได้ เป็นการลดงานของ Admin ที่จะต้องมาทำเองทุกอย่าง เมื่อเปิดให้พนักงานเข้ามาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการส่งใบคำขอเรื่องต่างๆ ก็สามารถขอผ่านระบบได้ หัวหน้างานก็สามารถอนุมัติให้พนักงานได้อย่างรวดเร็ว ทาง Admin หรือผู้มีตำแหน่งสูงขึ้นไปตามลำดับชั้นก็สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ พนักงานยังสามารถตรวจสอบประวัติหรือรายการต่างๆ ย้อนหลังได้ด้วยตนเอง เช่น ลาอะไรไปแล้วบ้าง คงเหลือวันลาแต่ละประเภทกี่วัน ใบลาได้รับการอนุมัติหรือยัง เป็นต้น
  5. รายงาน ในระบบมีรายงานที่หลากหลายและมีจำนวนมาก เพื่อให้ครอบคลุมการทำงานให้ได้มากที่สุด และตรงความต้องการของทาง HR ในการเรียกใช้ข้อมูล และสามารถนำรายงานไปใช้ต่อได้ โดยสามารถเรียกออกรายงานเป็น Excel หรือ PDF ก็ได้
  6. ลดระยะเวลา เนื่องจากระบบเราสามารถเปิดให้ทุกคนเข้ามาใช้งานได้ ดังนั้น การทำงานจากเดินที่ใช้เป็นเอกสาร ต้องส่งอีเมล์ หรือเดินไปส่งเอกสาร หรือต้องรอส่งเอกสารเข้าสำนักงานใหญ่ จะหมดไป เพราะกดส่งแล้วจะวิ่งไปหาผู้เกี่ยวข้องทันที และผู้เกี่ยวข้อง สามารถอนุมัติหรือเห็นเอกสารได้ทันที ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการรอการอนุมัติหรือตอบกลับ หรือแม้กระทั่งลดเวลาในการที่พนักงานจะมาสอบถามกับทาง HR ถึงรายละเอียดต่างๆ ที่พนักงานต้องการทราบ เช่น วันลาเหลือเท่าใด ค่าลดหย่อนที่ยื่นมา ได้นำเข้าระบบแล้วหรือไม่ หรือแม้กระทั่งสามารถดูฟังค์ชั่นการประเมินภาษีที่สรุปยอดคร่าวๆ ให้ว่า คาดว่าพนักงานจะต้องเสียภาษีเท่าใด ทำให้พนักงานวางแผนเรื่องการลดหย่อนภาษีล่วงหน้าได้
  7. ลดการใช้กระดาษ เนื่องจากเรามีการอำนวยความสะดวกผ่านระบบ ดังนั้น จะสามารถลดการใช้กระดาษได้ เพราะเป็นการใช้ผ่านระบบทั้งหมด ถึงแม้จะลดได้ไม่ทั้งหมด แต่ก็สามารถลดรายจ่ายลงไปได้ ไม่ว่าจะเป็นใบลา ใบโอที การส่งเบิกต่างๆ

การจัดการกะ ตอนที่ 4

ทายกันถูกไหมครับ กับการจัดการแบบที่สามที่เหลืออยู่ ใช่แล้วครับ แบบสุดท้ายคือ การขอสลับกะกับพนักงานคนอื่นนั่นเอง (ปรบมือ)

35484244_2180191242267563_7103178735607611392_n

การสลับกะสองแบบแรกที่พูดถึง เป็นการขอสลับกับตัวเองทั้งสิ้นครับ ไม่ว่าจะเป็นการขอเปลี่ยนกะ หรือการขอสลับวันทำงานหรือวันหยุด แต่แบบที่สาม จะเป็นแบบขอสลับกะกับคนอื่น

สุดท้ายแล้ว หากเราไม่สามารถขอเปลี่ยนกะ หรือสลับกะการทำงานได้ เนื่องจากการวางจำนวนคนที่ต้องการในแต่ละกะไว้อย่างตายตัว การขอเปลี่ยนไปทำงานกะอื่น หรือการขอสลับวันหยุด อาจทำให้พนักงานในกะนั้นๆ ไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติงานได้ ทำให้ไม่สามารถขอเปลี่ยนได้ นี่จะเป็นวิธีสุดท้ายที่สามารถทำได้ครับ

ธุรกิจใดบ้างที่มีการขอในเรื่องแบบนี้ โรงงาน โรงแรม โรงพยาบาลอีกเช่นเคยครับ

โรงงานจะมีการกำหนดจำนวนพนักงานที่คุมเครื่องจักรหรือสายพานในกระบวนการผลิตไว้อย่างชัดเจน ซึ่งการลดลงของพนักงานที่เข้าทำงาน อาจส่งผลให้กระบวนการผลิตล่าช้าได้ หรือในกรณีโรงพยาบาลอาจทำให้จำนวนพยาบาลที่ดูแลคนไข้ไม่เพียงพอและดูแลไม่ทั่วถึงได้

การขอเปลี่ยนกะกับคนอื่น จึงเป็นทางออกที่ได้ผลสำหรับพนักงานที่ต้องลาไปทำธุระ ซึ่งจะทำให้ไม่เสียเวลางานเช่นกัน เพียงแต่พนักงานจะต้องไปหาคนที่จะแลกกะด้วยมาให้ได้เท่านั้นเอง จากนั้นก็เขียนใบคำร้องส่งมาที่หัวหน้างานหรือ HR เหมือนเดิมเพื่อขอนุมัติ

วิธีนี้พนักงานอาจต้องรอบคอบนิดหนึ่ง เนื่องจากกะที่มีการเปลี่ยนไป ถ้ายังอีกหลายวันหรือหลายสัปดาห์ สุดท้ายแล้วพนักงานอาจลืมได้ เมื่อใกล้ๆ เวลาอาจต้องคุยกันให้เรียบร้อยอีกครั้ง

ผมเคยเจอกรณีเพื่อนที่ทำงานในโรงพยาบาลจำกะผิด จนเพื่อนต้องโทรมาตามก็มีกว่าจะไปถึงโรงพยาบาลก็ใช้เวลาอีกเป็นชั่วโมง ยังดีว่า กะที่ลืมเป็นกะดึกและอยู่ในแผนกที่ไม่ใช่แผนกสำคัญมาก ทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อคนไข้โดยตรงครับ

การขอสลับกะ

การสลับกะอีกแบบหนึ่งที่นิยมใช้กัน โดยเฉพาะในธุรกิจโรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานก็คือ การขอสลับวันทำงานหรือวันหยุด

พนักงานไม่สะดวกมาทำงาน ก็จะเขียนใบคำร้องยื่นกับ HR หรือหัวหน้างาน ขอสลับวันทำงานแทน

เช่น วันเสาร์เป็นวันหยุด วันศุกร์เป็นวันทำงาน ผมมีธุระต้องทำในวันศุกร์ จึงขอสลับเอาวันเสาร์เป็นวันทำงาน และวันศุกร์เป็นวันหยุดแทน

วิธีนี้ ข้อดีก็เช่นเดียวกับ การขอเปลี่ยนกะ คือพนักงานเองก็ไม่เสียโอกาสในการไปทำธุระ และยังได้ทำงานและผลงานเท่าเดิม

บริษัทก็ไม่เสียพนักงานไปกับการลา และปริมาณงานก็ยังได้เท่าเดิมเช่นกัน

แต่อย่างที่เคยเตือนในตอนที่แล้ว ข้อควรระวังก็ยังคงต้องระวังอยู่เช่นเดิม ไม่อนุญาตพร่ำเพรื่อเพื่อไม่ให้พนักงานขอสลับวันทำงานจนติดเป็นนิสัยหรือใช้ไปกับเรื่องไม่สำคัญจริงๆ ครับ

ตอนต่อไป ผมจะคุยเรื่องการสลับวันอีกแบบที่เหลือครับ ลองทายกันเล่นๆ ก่อนก็ได้นะครับ ว่า เหลืออะไร ^ ^

การจัดการกะ ตอนที่ 2

ตามสัญญาครับ อีกครึ่งหนึ่งที่เหลือของการจัดการกะคือการแก้ไขมันนั่นเอง

หลังจากที่จัดกะเรียบร้อยแล้ว พนักงานมีการลา มีการขอเปลี่ยนกะเกิดขึ้นโดยเป็นการลากระทันหันไม่ได้แจ้งล่วงหน้า ทำให้ตารางกะเกิดอาการรวน เราจะทำอย่างไรล่ะ

แบบแรกที่เราจะคุยกันวันนี้คือ การขอเปลี่ยนกะ

โปรแกรมเงินเดือน EZY-HR การจัดการตารางกะ เปลี่ยนกะ

การขอเปลี่ยนกะคืออะไร

การขอเปลี่ยนกะคือการที่พนักงานต้องการขอเปลี่ยนกะการทำงานในวันนั้นเป็นเวลาอื่น เนื่องด้วยติดกิจธุระ

เช่น วันที่ 20 ผมติดธุระต้องไปติดต่อสำนักงานเขตในช่วงเช้า ซึ่งชนกับตารางกะ หากบริษัทมีระบบในการขอเปลี่ยนเวลาเริ่มงานได้ ก็อาจจะเขียนใบคำร้องส่งไปยัง HR หรือหัวหน้างานเพื่ออนุมัติการเปลี่ยนเวลาเข้างาน เพื่อไปทำธุระและกลับมาทำงานในตอนบ่าย

วิธีนี้พนักงานจะได้ทำธุระของตนได้โดยไม่กระทบกับการทำงานที่จะต้องเสียเวลางานไปตลอดครึ่งเช้า ซึ่งอาจทำให้ปริมาณงานที่ทำได้ในวันนั้นลดลง เพราะพนักงานยังคงทำงาน 8 ชั่งโมงคงเดิมนั่นเอง

และบริษัทก็ไม่ต้องสูญเสียปริมาณงานที่จะลดลงเนื่องจากพนักงานลา ทำให้ได้ผลงานเต็มเม็ดเต็มหน่วย

ข้อดีอีกอย่างของการยอมให้พนักงานขอแบบนี้ได้คือ พนักงานจะรู้สึกดีกับบริษัทที่ยอมรับฟังคำขอ และเห็นอกเห็นใจกับพนักงานที่ติดธุระจำเป็นจริงๆ ที่จะต้องขอเปลี่ยน

อย่างไรก็ตาม ก็ควรมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดในการอนุมัติการขอเปลี่ยนกะแบบนี้ เพราะถ้าอนุมัติกันง่ายๆ ทุกคน อาจะทำให้ติดเป็นนิสัย และเสียการปกครองในการทำงานได้ เพราะพนักงานอาจขอเปลี่ยนกันตามใจตนไปหมด

 

ตอนหน้าเราจะมาดูกันต่อครับ นอกจากการขอเปลี่ยนกะแล้ว ยังมีอะไรอีกบ้าง

 

 

ติดตามเราและร่วมแสดงความเห็นกันได้ได้อีกที่ครับ ที่เฟสบุ้คเพจ EZY-HR https://www.facebook.com/ezyhr/
#FB #โปรแกรมเงินเดือน

 

ถ้ากำลังมองหาโซลูชั่นบริหารงานบุคคลแบบทันสมัย ใช้งานง่าย ตอบโจทย์ ฟีเจอร์ครบๆ จบในที่เดียว ลองดูระบบ EZY-HR ได้ท่ี่นี่เลยครับ https://www.ezy-hr.com/

Employee Handbook หรือ คู่มือพนักงาน ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่บริษัทต่างๆ ต้องจัดทำขึ้น ซึ่งข้อดีมีมากมาย ทั้งให้พนักงานเข้าใจเกี่ยวกับองค์กร เข้าใจกฎเกณฑ์ ข้อบังคับการทำงาน ข้อควรปฏิบัติและอื่นๆ ที่บริษัทต้องการให้พนักงานรับทราบ

 

ปัจจุบัน Employee Handbook หรือ คู่มือพนักงาน ของแต่ละบริษัทก็มีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าทำอย่างไรให้พนักงานได้รับทราบข้อมูลของบริษัทตนเอง
ในปัจจุบันที่เห็นส่วนใหญ่ หลายบริษัทก็มีการจัดพิมพ์เป็นเล่มและส่งมอบให้พนักงาน และเซ็นต์รับทราบรายละเอียด กฎข้อบังคับการทำงานไปพร้อมๆ กันเลย ซึ่งถ้ามาลองคิดดูแล้วการจัดทำคู่มือก็ใช้งบประมาณค้อนข้างสูงเช่นกัน ยกตัวอย่าง พนักงาน 300 คน คนละเล่ม เลือกแบบรูปเล่มที่ไม่แพงมาก 4 สี น่าจะราคาเล่มละ 100 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท บวกกับมีพนักงานเข้า-ออกอีก ดูแล้วค่าใช้จ่ายเยอะไม่ใช่น้อย บางบริษัทลงทุนน้อยก็ถ่ายเอกสารเอา หรืออย่างงายก็ปิดประกาศไปเลย ซึ่งทั้งหมดก็มีเป้าหมายเดียวกัน เพื่อให้พนักงานรับทราบรายละเอียดบริษัท ข้อบังคับการทำงาน บทลงโทษ หรืออื่นๆ แต่พนักงานอ้างว่าไม่ได้อ่าน เมื่อกระทำความผิด เราจะลงโทษเค้าได้อย่างไร

 

Employee Handbook หรือ คู่มือพนักงาน ในยุค 4.0 ยุคที่มีโซเชียล Line, Facebook เราต้องมาทำอย่างนี้กันอยู่อีกหรือ หากต้องการให้พนักงานได้รับทราบกฎระเบียบของบริษัท
จะดีกว่าไหม หากมี Employee Handbook หรือ คู่มือพนักงาน ที่เป็น Applications ให้พนักงานสามารถอ่านที่ไหน เวลาไหน เมื่อไหร่ก็ได้ เพื่อเพิ่มความสะดวกอีกทางหนึ่ง ของการบริหารทรัพยากรบุคคล พร้อมกับลดค่าใช้จ่ายในการผลิตคู่มือให้สำหรับพนักงานในเวลาเดียวกัน อีกทั้ง ยังสามารถทราบได้อีกว่าพนักงานคนไหนอ่านแล้วบ้าง และยังสามารถให้พนักงานกดตกลงเพื่อรับทราบกฎระเบียบข้อบังคับการทำงาน และบทลงโทษ หรือสิ่งต่างๆ ได้อีกด้วย

 
แค่นี้ก็เป็นเรื่องง่ายๆ อีกทางหนึ่ง ที่จะช่วยลดภาระงานด้านบริหารทัพยากรบุคคล แถมยังสามารถรู้ได้อีกด้วยว่าพนักงานคนใดตอบตกลง รับทราบเงื่อนไขของบริษัทได้แล้วบ้าง แค่นี้ก็ช่วยให้งาน HR เบาลงไปเป็นกองแล้ว

 

 

594524

594525

594526

 

 

 

 

 

 

 

 

 


1526369860851

1526369846250

1526369834470

1526369794502

สวัสดิการมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้กับพนักงานในการทำงาน ทำให้พนักงานมีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดี และพร้อมทุ่มเททำงานให้กับองค์กร

แต่พนักงานส่วนใหญ่จะลืมไปว่า องค์กรของเรามีสวัสดิการอะไรบ้าง เพราะส่วนใหญ่มักได้รับแจ้งตั้งแต่เริ่มเข้างานครั้งแรกแล้วก็จบไป พอผ่านไปนานๆ เข้า 2 ปี 3 ปี อะไรที่ไม่ค่อยได้ใช้ ก็ลืม หรือถ้าไม่ลืม ก็ลืมเงื่อนไขว่า เอ๊ะ แล้วจะใช้ยังไง

EZY-HR สามารถตอบโจทย์ได้ในส่วนนี้ เพียงพนักงานคลิ๊กเข้าไปที่ Benefit ก็สามารถตรวจสอบประเภทของสวัสดิการที่มีได้ และยังทราบถึงเงื่อนไขการใช้ เอกสารที่ต้องเตรียม วงเงินที่รองรับ ทำให้คำนวณค่าใช้จ่ายส่วนต่างได้เอง ทั้งสะดวก และรวดเร็วกว่าการไปสอบถามกับทาง HR
เมื่อเรายื่นเรื่องขอเบิกค่าสวัสดิการไปแล้ว ยังสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้อีกด้วยว่า ลืมเบิกหรือไม่ หรือว่า เบิกแล้วติดปัญหาอะไรไหม ถูกทำจ่ายแล้วหรือยัง

ทาง HR หรือฝ่ายบัญชี ก็สามารถตรวจสอบได้อย่างรวดเร็วจากเอกสารที่พนักงานแนบมาในคำร้อง และไม่ต้องกลัวเองสารหาย เพราะบ่อยครั้ง เอกสารตัวจริงมักไปติดไปกับกองเอกสารหนาๆ ที่โต๊ะของเรานั่นแหละ

Features

  • Benefits Dashboard หน้าจอแสดงภาพรวมทั้งหมดของระบบจัดการสวัสดิการ ทั้งการจำแนกประเภทของสวัสดิการว่ามีอะไรบ้าง, การจัดการการยื่นเรื่อง และการคำนวณในกรณีพิเศษต่างๆเช่นสวัสดิการที่ขึ้นกับอายุงาน หรือสวัสดิการเฉพาะกลุ่ม ฯลฯ

EZYHR Benefit Management

  • นอกเหนือจากนั้น ยังสามารถนำเอาใบรีเควสท์ทั้งหมด นำมาคำนวณเพื่อนำส่งข้อมูลไประบบ Payroll เพื่อออกในสลิปเงินเดือนของพนักงานได้ง่ายๆ

Benefit and Welfare Management Payroll

 

ถ้าสนใจอยากจะใช้ระบบบริหารงานบุคคลสมัยใหม่ ที่จะทำให้งานบริหารคนของคุณกลายเป็นเรื่อง ง่ายๆ สบายๆ ติดต่อเราเพื่อขอทดลองใช้ได้เลย

องค์กรและพนักงาน ดูเหมือนเป็นคนละสิ่ง แท้ที่จริงแล้วเป็นหนึ่งเดียวกันแยกจากกันไม่ออก สิ่งที่ยืนยันความคิดนี้ เมื่อองค์กรไม่ดี พนักงานในองค์กรนั้นก็ไม่ดี เมื่อพนักงานไม่ดีเป็นที่แน่นอนว่าองค์กรนั้นจะดีไปไม่ได้ ในโลกนี้เราก็ต่างต้องการสิ่งที่ดี ไม่มีทางได้มาแบบไม่ลงทุนไม่มีทางได้มาแบบจับเสือมือเปล่า ไม่เว้นแม้แต่การสร้างองค์กรที่ดี สร้างพนักงานที่ดี

แต่การลงทุนด้วยกำลังเงินแต่เพียงอย่างเดียว ก็ไม่ได้การันตีว่าการสร้างองค์กร การสร้างพนักงานให้รักองค์กร จะราบรื่นเป็นไปได้ด้วยดี มีส่วนประกอบหนึ่งซึ่งถูกมองข้ามมาตลอด นั่นคือกระบวนการการเริ่มงาน หรือรู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า Employee Onboarding

onboarding

 

คุณลักษณะที่ดีของการจัดการการเริ่มงานของพนักงานใหม่ที่ควรให้ความสำคัญมีจุดสังเกตยังไงบ้าง ดูจาก 10 ลักษณะเหล่านี้

 

1. พนักงานได้รับการชี้แจง มอบหมายงานตรงตามตำแหน่งที่สมัคร

เพื่อที่ว่าวันหนึ่งจะไม่เกิดเหตุผลในการลาออกว่าต้องทำงานในสิ่งที่ไม่ได้รับการชี้แจง ซึ่งไม่ได้เป็นการทำงานเพิ่มหรือทำงานนอกเหนือหน้าที่ แต่เป็นการที่พนักงานรู้สึกว่า ต้องทำงานในสิ่งที่ไม่ถนัด ไม่ตรงกับความสามารถไม่มีทักษะ

 

2. พนักงานได้รับการอบรมเกี่ยวกับกฎระเบียบ ข้อบังคับการทำงาน

รวมถึงนโยบายขององค์กร เป็นเรื่องที่จำเป็น แต่เป็นเรื่องที่ถูกมองข้ามอยู่บ่อยครั้ง พนักงานต้องรับทราบสิ่งเหล่านี้เพื่อป้องกัน หลีกเลี่ยงการทำผิดแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เนื่องจากแต่ละองค์กร กฎระเบียบ ข้อบังคับการทำงาน นโยบายมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ในบางกรณีองค์กรเดิมเป็นเรื่องปกติไม่มีข้อห้าม ในองค์กรใหม่อาจกลายเป็นเรื่องต้องห้าม

 

3. พนักงานรับทราบถึงวิธีการจ่ายค่าจ้าง วันที่จ่าย

สวัสดิการต่างๆและวิธีการเข้าถึงสวัสดิการนั้น สวัสดิการดีมีอยู่จริงสำหรับพนักงานที่ไม่รู้วิธีเข้าถึง ก็เหมือนเป็นสวัสดิการในฝัน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพหักเงินสะสมเท่าไหร่ องค์กรสมทบเท่าไหร่ ประกันสุขภาพกลุ่มวงเงินค่ารักษาเท่าไหร่ ทำไมต้องรู้ ทำไมต้องบอกเพื่อให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของตัวเอง ในฐานะสมาชิกขององค์กร และยังเป็นโอกาสให้องค์กรสื่อสาร ถึงการดูแลพนักงานไปในคราวเดียวกัน

 

4. ผังองค์กรเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากมีความซับซ้อนสำหรับพนักงานใหม่

นอกจากใครเป็นใคร แผนกไหน ดูแลเรื่องไหน และแผนกซึ่งพนักงานสังกัดอยู่ สำคัญกับองค์กรอย่างไร

 

5. องค์กรเริ่มจากกจุดไหน เติบโตอย่างไร

ประวัติองค์กรสร้างความผูกพันได้ไม่น้อย อีกทั้งยังช่วยในการ align เป้าหมายของพนักงาน ให้ไปยังทิศทางเดียวกับขององค์กรอีกด้วย

 

6. แนะนำตัวและเดินทัวร์ในคราวเดียว

ไม่ใช่แค่รู้หน้า รู้ห้อง รู้แผนก มากไปกว่านั้นนี่ คือการบอกกล่าวว่าองค์กร มีสมาชิกใหม่เข้ามาและบอกสมาชิกใหม่ว่าคุณคือส่วนหนึ่งขององค์กร เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเกิดปัญหาในการทำงาน ก็จะได้รู้ว่าจะต้องไปที่ไหน

 

7. องค์กรคือบ้าน ก็ต้องมีพี่เลี้ยง น้องเลี้ยงเพื่อนเลี้ยง

คอยให้คำแนะนำ ปรึกษากับสมาชิกใหม่ ต้องมั่นใจว่า บรรดาผู้เลี้ยงทั้งหลายเป็นคู่หูที่ดี นอกจากนั้นเรายังได้ในเรื่องการเผยแพร่วัฒนธรรมองค์กรให้กระจายไปถึงพนักงานใหม่อีกด้วย

 

8. วันแรกเป็นอย่างไร

สมาชิกใหม่ควรมีโอกาสสื่อสารโอกาสน้อยที่จะตอบหากถามความคิดเห็นโดยการให้เขียน แบบสอบถามวันแรกควรเป็นแบบสั้นๆ ง่ายๆ เพื่อให้สบายใจในการตอบและง่ายต่อการประเมินสถานการณ์

 

9. เดือนแรกสมาชิกใหม่เป็นอย่างไร เป็นโอกาสของหัวหน้างานในการพูดคุยถึง

การปรับตัวต่อวัฒนธรรมองค์กร และให้โอกาสมาชิกใหม่ ได้เล่าถึงสิ่งที่พบ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในช่วงเริ่มงานในองค์กรนี้ของแต่ละคน รีเฟล็คชั่นหรือการเปิดใจจะช่วยให้เรารู้ว่าพนักงานใหม่พบกับปัญหาในการปรับตัวอะไรบ้าง

 

10. ครบเก้าสิบวัน ได้เวลาที่พนักงานใหม่

ต้องได้รับการบอกกล่าวว่า จะได้เป็นสมาชิกเต็มตัว หรือองค์กรต้องใช้เวลามากกว่านี้และสำคัญมากหากพนักงานไม่ได้ไปต่อ บอกกันไปในวันนี้ เพื่อให้พนักงานมีเวลาสามสิบวัน เตรียมตัวในการมองหาองค์กรที่เหมาะกับตัวเองมากกว่านี้

สนใจแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่อง Employee Onboarding ในองค์กรยุคใหม่ ติดต่อเราได้ที่นี่ โปรแกรมเงินเดือน EZY-HR