#ระบบลางานออนไลน์ #ภาษี2565 #ลดหย่อนภาษี #โปรแกรมลาออนไลน์ #ประกัน #ระบบลาออนไลน์ #โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน #โปรแกรมเงินเดือน #โปรแกรมเงินเดือน #hr #HR #ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล #โปรแกรมคํานวณเงินเดือน
วันนี้เรามาต่อกันที่ EP. 2 กันนะคะ
สำหรับ ep. นี้จะเกี่ยวกับกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน
เราเชื่อเลยว่ายังมีอีกหลายคนที่ไม่รู้ ว่าการทำประกัน หรือการลงทุนต่าง ๆ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ วันนี้ EZY-HR เลยรวบรวมข้อมูลมาให้ทุกคนในโพสต์นี้ มาอ่านกันเยอะ ๆ น้าาา !
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออมและการลงทุน
📍 ลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน
ยื่นภาษี
1.เงินส่งสมทบประกันสังคม สำหรับในปี 2564 นี้
สามารถหักลดหย่อนได้สูงสุด 5,100 บาท จากเดิมที่ลดหย่อนได้สูงสุด 9,000 บาท ( เนื่องจากปี 2564 มีการปรับลดเงินนำส่งสมทบประกันสังคมเพื่อลดภาระในช่วงโควิด-19 ถึง 3 รอบ คือ รอบเดือนมกราคม เหลือ 3% ,รอบเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม เหลือ 0.5% และรอบเดือนมิถุนายน – พฤศจิกายน เหลือ 2.5% )
2.ประกันชีวิต ประกันแบบสะสมทรัพย์
ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท
เงื่อนไข
– เป็นประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
– เป็นบริษัทประกันชีวิตที่ดำเนินกิจการในไทย
3. ประกันสุขภาพ
ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันต้องไม่เกิน 25,000 บาท
ประกันชีวิต และ ประกันสุขภาพรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
4.ประกันสุขภาพของบิดา-มารดา
ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
เงื่อนไข
– บิดา – มารดา ต้องไม่มีเงินได้ในปีภาษีที่หักลดหย่อนเกิน 30,000 บาท
4.เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของเงินได้ แต่สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
เงื่อนไข
– ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
– เป็นบริษัทประกันชีวิตที่ดำเนินกิจการในประเทศไทย
📍 ลดหย่อนภาษีกลุ่มการลงทุน (รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท )
ยื่นภาษีลงทุน
1.กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
2.กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
3. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
สามารถลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
4.กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
ตามที่จ่ายจริง สูงสุดปีละ 13,200 บาท
5.เบี้ยประกันชีวิตบำนาญ
15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
📍 ค่าลดหย่อนภาษีที่อยู่อาศัย
ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
📍 ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค
ยืนภาษีกลุ่มบริจาค
1. เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง
นำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
2. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ
หักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น
3. เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักลดหย่อนจากเงินบริจาคเพื่อการศึกษา
และทั้งหมดนี่เป็นการลดหย่อนภาษีที่ EZY-HR รวมไว้ให้เพื่อน ๆ ทุกคนน้าาา
อย่าลืมใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีปีนี้กันนะทุกคน
_____________________________________
Line official : @ezyhr
Tel. : 095-951-4318

ถ้าพูดถึงเรื่องยื่นภาษีทีไร เพื่อน ๆ หลายคนก็แอบหนักใจทุกที

แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะเราสามารถลดหย่อนได้นะทุกคนนน !

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 10,000 บาท/เดือน
หรือ 120,000/ปี ต้องยื่นภาษีทุกคน และไม่ใช่ทุกคนที่จะโดนเรียกเก็บภาษี
และที่สำคัญ คือ การคำนวนภาษี คำนวนจากรายได้หลังโดนหักลบค่าลดหย่อนต่าง ๆ แล้ว บอกเลยว่าเพื่อน ๆ ทุกคนสบายใจได้

ยื่นภาษีปี 64 ลดหย่อนอะไรได้บ้าง EZY-HR โปรแกรมเงินเดือน

มาดูกันดีกว่าว่ายื่นภาษีปี 64 ลดหน่อยอะไรได้บ้าง?

1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องถามกฎหมาย และคู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้
3. ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาทต่อครรภ์ โดยสามีสามารถลดหย่อนภาษีในกรณีที่ภรรยาไม่มีเงินได้ เอกสารหลักฐานที่ใช้สำหรับการลดหย่อนภาษี คือ ใบเสร็จรับเงิน และใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาล
4. ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท โดยจะต้องเป็นบุตรโดยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรม และมีอายุไม่เกิน 20 ปี หรืออายุไม่เกิน 25 ปี
5. ค่าลดหย่อนบุตร คนที่ 2 ที่เกิดปี 2560 เป็นต้นไป
สามารถลดหย่อยนได้ คนละ 60,000 บาท
6. ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและคู่สมรส ซึ่งบิดามารดาจะต้องไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้ไม่เกินคนละ 30,000 บาทต่อปี และต้องมีอายุ 60ปี บริบูรณ์ขึ้นไป
สามารถลดหย่อนได้ คนละ 30,000 บาท
7. ค่าลดหย่อนกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ สามารถลดหย่อนได้ คนละ 60,000 บาท และผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวผู้พิการ
และทั้งหมดนี่เป็นการลดหย่อนภาษีที่ EZY-HR รวมไว้ให้เพื่อน ๆ ทุกคนน้าาา
Line official : @ezyhr
Tel. : 095-951-4318
Posted in HR.
สาระน่ารู้วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องการเลิกจ้างพนักงานกันค่ะ ในกรณีที่ลูกจ้างลาป่วย ลากิจบ่อยๆนั้นนายจ้างสามารถเลิกจ้างได้หรือไม่?!
.
.
ลากิจลาป่วยบ่อย
เลิกจ้างเพราะพนักงานหย่อนสมรรถภาพในการทำงานหรือขาดงานบ่อย นายจ้างจะพิจารณาเลิกจ้างได้อย่างไร? ที่ผ่านมาแอดมินมักจะพูดถึงกรณีของลูกจ้างเสียส่วนใหญ่ วันนี้เราจะมาดูในกรณีของนายจ้างกันบ้างค่ะ
.
.
หากลูกจ้างลาป่วยลากิจบ่อยครั้ง นายจ้างเตือนและให้เข้าโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน แต่ลูกจ้างก็ยังไม่ปรับปรุงพฤติการณ์ดังกล่าว ถือว่าเป็นการหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน นายจ้างเลิกจ้างได้ มิใช่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
.
.
จากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 48/2560
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งฝ่ายการผลิต เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2549 ต่อมาวันที่ 4 เมษายน 2557 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2557 เป็นต้นไป ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
.
.
จำเลยให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากสถิติการลาป่วยย้อนหลังตั้งแต่ปี 2554 – 2556 มีจำนวนมาก มีผลทำให้โจทก์เป็นผู้หย่อนสมรรถภาพในหน้าที่การงานและมีผลการทำงานตกต่ำตลอดมา จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นไปตามข้อบังคับการทำงานหมวดที่ 11
.
.
ศาลแรงงานภาค 2 พิจารณาแล้วเห็นว่าแม้โจทก์ลาป่วย ลากิจบ่อยครั้งจนเคยได้รับหนังสือเตือนจากจำเลย แต่กรณีดังกล่าวมิได้เข้าลักษณะเป็นผู้หย่อนสมรรถภาพ หรือไร้ความสามารถหรือจิตฟั่นเฟือนจนมิอาจปฏิบัติหน้าที่การงานของตนให้แก่จำเลยได้ เพียงแต่โจทก์ประพฤติตนบกพร่องไม่เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่และขาดความรับผิดชอบเท่านั้น จึงพิพากษาให้จำเลย จ่ายเงินจำนวน 26,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
.
.
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงาน เห็นว่า คดีนี้จำเลยเลิกจ้างโจทก์อ้างเหตุหย่อน สมรรถภาพในหน้าที่การทำงานหรือไร้ความสามารถหรือจิตฟั่นเฟือนตามข้อบังคับการทำงานหมวดที่ 11 ซึ่งการหย่อนสมรรถภาพในหน้าที่การทำงานนั้นต้องพิจารณาถึงตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ ความสามารถ ในการทำงาน และการหย่อนลงของความสามารถมาประกอบ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นพนักงานเดินเครน จึงต้องอุทิศเวลาและความสามารถในการทำงานตามที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมอบหมายให้สำเร็จ ลุล่วงอย่างเต็มความสามารถ แต่โจทก์กลับลาป่วยและลากิจบ่อยครั้งทำให้สถิติการหยุดงานหรือขาดงาน จนเคยได้รับหนังสือเตือนจากจำเลย อันมีผลให้จำเลยไม่ได้รับการทำงานตอบแทนจากโจทก์ในเวลาทำงานปกติ แม้จะเป็นการลาตามสิทธิซึ่งโจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการลาบ่อยครั้งจนเกินสมควร
อีกทั้งโจทก์ยังได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานปี 2553 – 2556 ในระดับที่ต้องปรับปรุง (เกรดซี) ติดต่อกัน จึงย่อมแสดงความสามารถในการทำงานของโจทก์ที่ลดน้อยถอยลงอย่างต่อเนื่องตลอดมา
.
.
ประกอบกับจำเลยเองก็ไม่ได้เลิกจ้างโจทก์โดยทันทีหลังจากที่มีผลการประเมินดังกล่าว แต่กลับยังได้ให้โอกาส โจทก์ในการแก้ไขฟื้นฟูความสามารถตามโครงการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแล้ว โจทก์ก็ไม่ได้ปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวถือว่าเป็นการหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควรและเพียงพอ มิใช่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างดังกล่าว ที่ศาลแรงงานภาค 2 พิพากษามานั้นศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ไม่เห็นพ้องด้วย พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์
.
.
.
ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง: https://bit.ly/3eFWeKn
สนใจระบบโปรแกรมเงินเดือนไลน์ที่มีฟีเจอร์ครบ EZY-HR https://www.ezy-hr.com
Posted in HR.
นายจ้างเหมาจ่ายโอทีชั่วโมงละ 50 บาท โดยไม่สนว่าการทำงาน ล่วงเวลาของพนักงานนั้นเป็นการทำล่วงเวลาหลังเลิกงานในวันทำงาน ปกติ วันหยุดประจำสัปดาห์ หรือวันหยุดนักขตฤกษ์ แบบนี้ถือว่าขัด ต่อกฎหมายแรงงานหรือไม่

 

ผู้เขียนเคยพบว่าแต่ละบริษัทมีการคำนวณค่าล่วงเวลาที่ต่างกันไป บ้างเหมาจ่ายเป็นรายชั่วโมง บางคำนวณตามเรทเงินเดือน เช่น ถ้าเงินเดือนไม่ถึง 20,000 คิดโอที 1.5 เท่าของค่าแรง แต่ถ้าเกิน 20,000 คิดที่ 130 บาท/ชั่วโมง ถ้าเป็นรายเดือน คิดโอที 1.5 เท่าของค่าแรง ฯลฯ เป็นต้น

 

เห็นไหมคะว่ามีการคำนวณค่าล่วงเวลาที่หลากหลายมากมายทีเดียว
แต่แล้วแบบใดถูก(ไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน) แบบใดผิด (ขัดต่อกฎหมายแรงงาน) เรามาดูกันต่อเลยค่ะ

 

มาตรา 61 บัญญัติว่า “ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย”

 

จากมาตรา 61 แล้ว หากพนักงานได้รับเงินเดือน 9,000 บาท คือวันละ 300 โอทีควรได้ 56.25 ต่อ ชั่วโมง พนักงานทำงาน 2 ชั่วโมง นายจ้างจ่ายให้ 100 บาท หรือเท่ากับชั่วโมงละ 50 บาท เช่นนี้จะถือว่าขัดต่อกฎหมายแรงงาน เพราะถือว่านายจ้างให้ค่าตอบแทนต่ำกว่าที่ลูกจ้างควรจะได้รับ

 

นอกจากนั้น มาตรา 63 ยังได้บัญญัติไว้อีกว่า “ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุดให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุดให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงใรวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย”

 

ตามมาตรา 63 แล้ว หากพนักงานได้รับเงินเดือน 10,500 บาท คือวันละ 350 ค่าล่วงเวลาที่พนักงานควรได้รับจากการทำงานนอกเวลางาน 8 ชั่วโมงแรกในวันหยุดประจำสัปดาห์หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ที่ 131.25 บาทต่อชั่วโมง ทำล่วงเวลาหลังเลิกงานจำนวน 2 ชั่วโมงถ้านายจ้างให้ค่าล่วงเวลาที่ 240 บาท หรือ 120 บาท/ชั่วโมง เช่นนี้จะถือว่าขัดต่อกฎหมายแรงงาน แต่ถ้านายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้ที่ 262.50 เช่นนี้เป็นการจ่ายค่าล่วงเวลาที่เป็นธรรมไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงานค่ะ

 

 โอทีเหมาจ่ายรายชั่วโมง
สนใจโปรแกรมคำนวณเงินเดือนที่ช่วยให้คุณจัดการเรื่องโอทีได้อย่างถูกต้อง ลองดูรายละเอียดของโปรแกรมเงินเดือน EZY-HR ได้เลยค่ะ

เพราะเหตุใด EZY-HR Application จึงต้องมีโหมดเช็คอินผ่านมือถือให้เลือกใช้งานได้อย่างหลากหลาย
.
.

แอพส์ เช็คอิน เข้าเวลางาน ทันสมัย
เหตุผลที่ EZY-HR Application มีโหมดการเช็คอินอย่างหลากหลายนั้น เพื่อต้องการตอบสนองความต้องการในการใช้งานของลูกค้าได้อย่างครอบคลุมโดยคำนึงถึงรูปแบบธุรกิจเป็นหลัก ?
.
เช่นพนักงาน PC ตามห้างหรือพนักงานออกบูท ทางแอดมินสามารถกำหนดให้พนักงานทำการเช็คอินพร้อมถ่ายรูปตนเองคู่บูทได้ หรือหากเป็นเซลล์ที่ต้องออกไปพบลูกค้าบ่อยๆไม่สะดวกสแกนนิ้วผ่านเครื่องฟิงเกอร์สแกนก็สามารถเช็คอินผ่านมือถือได้ เป็นต้น
.
.
Q: ในกรณีที่ต้องการตั้งค่าการเช็คอิน – เอ้าท์ ผ่าน EZY-HR Application สามารถตั้งค่าการใช้งานของพนักงานแต่ละท่านให้ต่างกันได้หรือไม่ เช่นมีพนักงานบางกลุ่มที่ต้องการ Record เวลาเข้างานเท่านั้นไม่สนใจรูปและโลเคชั่นเป็นต้น

A: การใช้งาน EZY-HR Application สามารถเลือกโหมดในการเช็คอินเป็นรายบุคคลได้ค่ะ โดยมีโหมดการใช้งานให้เลือกดังต่อไปนี้

✅ No: ปิดการใช้งานเช็คอินจากหน้า mobile application

✅ NoFakeGPSCheck: ไม่อนุญาตให้มือถือติดตั้งโปรแกรมโกง GPS (จะมีแค่มือถือรุ่น Note 4 เท่านั้น)

✅ AllowNoGps: สามารถเช็คอินได้ แม้มือถือจะจับสัญญาณ GPS ไม่เจอ

✅ SelfieForceCheck: จะต้องถ่ายรูปและจับสัญญาณ GPS ให้เจอถึงจะสามารถเช็คอินได้

✅ BeaconForceCheck: จะต้องจับสัญญาณบีคอนให้เจอถึงจะสามารถกด เช็คอินได้

✅ BeaconAndSelfieForceCheck: จะต้องจับสัญญาณบีคอนให้เจอพร้อมถ่ายรูปจึงจะสามารถเช็คอินได้

สามารถดูวิธีการตั้งค่าได้ที่ https://bit.ly/323w1hC

ทางเลือกใหม่ของระบบบันทึกเวลาทำงานสำหรับองค์กรที่ทันสมัย
สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม www.ezy-hr.com

ค่าลดหย่อนภาษี คือ
ค่าลดหย่อนและยกเว้นเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบในการคำนวณภาษีที่กฎหมายกำหนดให้นำไปหักออกจากเงินได้ ได้อีกหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว

เงินเดือนเท่าไหร่ถึงเสียภาษี
– เงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาท = ไม่ต้องยื่นภาษี
– เงินเดือนไม่เกิน 26,583.33 บาท = ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
– เงินเดือนมากกว่า 26,583.33 บาท = ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษี
ถ้าไม่ได้จ่ายประกันสังคมแลเงินเดือนไม่เกิน 25,833.33 บาท = ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
ถ้าไม่ได้จ่ายประกันสังคมแลเงินเดือนเกิน 25,833.33 บาท = ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษี

วิธีการคำนวน
สมมติว่าคุณมีเงินเดือน เดือนละ 26,583.33 บาท x 12 เดือน (ต้องคิดทั้งปี) = 319,000 บาท

สูตรคำนวนเงินได้สุทธิ ดังนี้

เงินได้ 319,000 บาท – ค่าใช้จ่าย 100,000 บาท** – ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท – เงินกองทุนประกันสังคม 9,000 บาท = เงินได้สุทธิ 150,000 บาท

หมายเหตุ **ค่าใช้จ่ายได้ 50% (แต่ไม่เกิน 100,000 บาท)

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ใช้ในการคำนวนภาษี 

ตาราง

มีอะไรที่ใช้ลดหย่อนได้บ้าง

ค่าลดหย่อนส่วนตัว และครอบครัว

1

ค่าลดหย่อน กลุ่มประกัน 

2

ค่าลดหย่อน กลุ่มเงินออม และการลงทุน

3

ค่าลดหย่อน กลุ่มอสังหาริมทรัพย์

4

ค่าลดหย่อน กลุ่มเงินบริจาค

5

ค่าลดหย่อนอื่นๆ ตามมาตรการรัฐในปีนั้นๆ เช่น

6

หมายเหตุ ผู้มีเงินได้ควรติดตามข่าวสารการลดหย่อนภาษีแต่ละปี เพื่อการวางแผนภาษีอย่างถูกต้องและเหมาะสม

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.rd.go.th/publish/557.0.html

ความรู้เบื้องต้นสำหรับ HR มือใหม่ เมื่อบริษัทจำเป็นต้องจ้างแรงงานต่างด้าว

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

“คนต่างด้าว” หมายถึง  บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

“ทำงาน” หมายถึง  การทำงานโดยใช้กำลังกายหรือความรู้ โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง

“ใบอนุญาต” หมายถึง  ใบอนุญาตทำงาน

“ผู้รับใบอนุญาต” หมายถึง  คนต่างด้าวซึ่งได้รับใบอนุญาต

“ลูกจ้าง” หมายถึง ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 9 มาตรา 11 มาตรา 13 (1) และ (2)  และมาตรา 14 ให้ทำงานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 15 (เป็นลูกจ้างที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อเป็นประกันค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างกลับออกไปนอกราชอาณาจักร

ความหมายของคนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตราต่างๆ ได้แก่

คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 9  แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

  • ประเภททั่วไป หมายถึง คนต่างด้าวที่เป็นแรงงานที่ใช้ทักษะ ความชำนาญเฉพาะด้าน หรือมีความสามารถทางการสื่อสาร(ภาษา) ที่ยังหาคนไทยที่มีความสามารถไม่ได้ หรือเป็นการเข้ามาทำงานในกิจการที่ตนเองลงทุน  หรือกิจการของคู่สมรส หรือกิจการที่ร่วมลงทุน
  • ประเภทตลอดชีพ หมายถึง คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตทำงานตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 322 มีสาระสำคัญว่า ใบอนุญาตที่ออกให้แก่คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและทำงานอยู่แล้วก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2515  ให้ใช้ตลอดชีวิตของคนต่างด้าวเว้นแต่คนต่างด้าวจะเปลี่ยนอาชีพใหม่
  • ประเภทแจ้งการทำงาน หมายถึง  คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาเพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนที่มีระยะเวลาทำงานไม่เกิน 15 วันและจะทำงานนั้นได้เมื่อได้มีหนังสือแจ้งให้นายทะเบียนทราบ
  • ประเภทพิสูจน์สัญชาติ หมายถึง  แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา อนุญาตให้ทำงานได้ 2 งานคือ งานกรรมกรและคนรับใช้ในบ้าน (ประเภทนี้ใบอนุญาตทำงานชนิดบัตรชมพู)

คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 11  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • ประเภททั่วไป หมายถึง คนต่างด้าวที่เป็นแรงงานที่ใช้ทักษะ ความชำนาญเฉพาะด้าน หรือมีความสามารถทางการสื่อสาร (ภาษา) ที่ยังหาคนไทยที่มีความสามารถไม่ได้ เมื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วต้องดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตทำงานภาย 30 วัน
  • ประเภทนำเข้า หมายถึง แรงงานต่างด้าวว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าวระหว่างประเทศไทยกับประเทศคู่ภาคี (MOU) โดยขออนุญาตทำงานได้ 2 งาน คือ งานกรรมกรและคนรับใช้ในบ้าน

คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 13 (1) และ (2)  หมายถึง คนต่างด้าวซึ่งไม่อาจขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 9 เพราะอาจขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนเพื่อทำงานตามประเภทที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดยคำนึงถึงความมั่นคงของชาติและผลกระทบต่อสังคม

คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 14  หมายถึง  คนต่างด้าวที่มีภูมิลำเนาและเป็นคนสัญชาติของประเทศที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย ถ้าได้เข้ามาในราชอาณาจักรโดยมีเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง อาจได้รับอนุญาตให้ทำงานบางประเภทหรือลักษณะงานในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวในช่วงระยะเวลาหรือตามฤดูกาลที่กำหนดได้

คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 12 หมายถึง คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายพิเศษ ได้แก่  กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักร แล้วประสงค์จะทำงานต้องปฏิบัติ   ดังนี้

  1. คนต่างด้าวที่จะขออนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือการนิคมอุตสาหกรรมต้องยื่น

ขอรับใบอนุญาตทำงาน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เข้ามาในราชอาณาจักรหรือ 30 วันนับแต่วันที่ทราบการได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายนั้นๆ

  1. คนต่างด้าวไม่ว่าจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรประเภทคนอยู่ชั่วคราวจะ

ได้ทำงานต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วเท่านั้น โดยยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบที่กฎหมายกำหนด

คุณสมบัติของคนต่างด้าวที่จะขอใบอนุญาต ได้แก่

  1. มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับใบอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (NON-IMMIGRANT) โดยไม่ใช่ในฐานะนักท่องเที่ยว (Tourist) หรือผู้เดินทางผ่าน (TRANSIT)
  2. มีความรู้ความสามารถในการทำงานตามที่ขอรับใบอนุญาตทำงาน
  3. ต้องไม่เป็นคนวิกลจริตหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
  4. ต้องไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการอันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง หรือโรคพิษสุราเรื้อรัง
  5. ต้องไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันเข้าขอรับอนุญาต

คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานแล้ว ต้องปฎิบัติดังนี้

  • มีใบอนุญาตติดตัวไว้หรือมีอยู่ ณ ที่ทำงานในระหว่างทำงานเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา (ผู้มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท)
  • ทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตทำงาน (มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีปรับตั้งแต่ 2,000-100,0001 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
  • ต้องทำงานตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น หากประสงค์จะทำงานอื่นหรือเปลี่ยนท้องที่หรือสถานที่ในการทำงาน ต้องได้รับอนุญาตก่อน (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท)
  • ก่อนใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุ และประสงค์จะทำงานต่อต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนจึงจะทำงานได้
  • กรณีใบอนุญาตชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นขอใบแทนใบอนุญาตภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบ
  • กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล สัญชาติ ที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว หรือชื่อสถานที่ทำงานต้องยื่นคำร้องแก้ไข

การกำหนดวันลาองค์กรโดยส่วนใหญ่จะอ้างอิงกฎหมายแรงงานเป็นหลักพื้นฐานและเพิ่มเติมยืดหยุ่นตามรูปแบบธุรกิจ การลาถือเป็นสวัสดิการประเภทหนึ่งที่ใช้เป็นผลตอบแทนพนักงาน หรือ ดึงดูดผู้สมัครเข้ามาร่วมงานกับองค์กร

 

หลักการกำหนดวันลาในระเบียบบริษัท มีแนวทางดังนี้

  1. จำเป็นต้องยึดตามกฎหมายแรงงานเป็นหลัก
  2. ให้มากกว่าได้แต่ให้น้อยกว่ากฎหมายกำหนดไม่ได้
  3. ปรับตามความเหมาะสมกับธุรกิจ
  4. อาจจะใช้ระเบียบจากธุรกิจใกล้เคียงกันมาเป็นแนวทาง

 

ประเภทวันลาสิทธิตามกฎหมายแรงงาน

ลำดับ ประเภทวันลา เงื่อนไข เพิ่มเติม
1 วันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน ระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน – กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้

– กรณีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่แน่นอน นายจ้างต้องประกาศวันหยุดให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน และแจ้งเป็นหนังสือให้แรงงานทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ประกาศกำหนด

2 วันหยุดตามประเพณี ต้องไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน และ 1 ใน 13 วันที่ทุกบริษัทต้องมีคือ “วันแรงงานแห่งชาติ”
3 วันหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน เมื่ออายุงานครบ 1 ปี – หากไม่ครบ 1 ปีสามารถให้ตามสัดส่วนได้ (ข้อตกลงระหว่างนายจ้าง)

– สามารถสะสมโดยยกยอดไปใช้ในปีถัดไปได้    (ข้อตกลงระหว่างนายจ้าง)

4 วันลาป่วย โดยถ้อยคำในกฎหมายใช้คำว่า “ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง” – ลาป่วยเกินกว่า 3 วัน นายจ้างมีสิทธิเรียกดูใบรับรองแพทย์ได้

– บางบริษัทระบุสิทธิการลาป่วยได้ 30 วันต่อปี (ข้อตกลงระหว่างนายจ้าง)

5 การลาคลอด สิทธิลาคลอดก่อนและหลังคลอดครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน ได้รับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน
6 การลาเพื่อทำหมัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ “การลาเพื่อทำหมัน” กับ “การลาเนื่องจากการทำหมัน” ในกฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน แต่จำนวนวันลาต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์
7 การลาเพื่อรับราชการ ลาได้รับค่าจ้าง 60 วันต่อปี  รับราชการในการเรียกพล เพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดสอบความพร้อม
8 วันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น กฎหมายใหม่ กำหนดให้มีสิทธิลาได้ โดยได้รับค่าจ้างอย่างน้อย 3 วันทำงานต่อปี
9 การลาเพื่อฝึกอบรม ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาเพื่อการฝึกอบรม หรือพัฒนาความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์ อาจกำหนดให้มีการแจ้งนายจ้างล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน

 

อ้างอิง : พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และฉบับใหม่ 2562

นอกจากกฎหมายแรงงานจะกำหนดให้นายจ้างจัดทำข้อบังคับการทำงานแล้ว ยังมีข้อกำหนดให้นายจ้างจัดทำทะเบียนลูกจ้างและจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

ทะเบียนลูกจ้าง

นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไปจัดทำทะเบียนลูกจ้างเป็นภาษาไทย และเก็บไว้ ณ สถานประกอบการหรือสำนักงานของนายจ้าง  พร้อมที่จะให้พนักงานแรงงานตรวจได้ในเวลาทำการ และนายจ้างต้องจัดทำภายใน 15 วันนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน  โดยในทะเบียนลูกจ้างอย่างน้อยจะต้องมีรายการดังต่อไปนี้

  • ชื่อและนามสกุล
  • เพศ
  • สัญชาติ
  • วันเดือนปีเกิด หรืออายุ
  • ที่อยู่ปัจจุบัน
  • วันที่เริ่มจ้างงาน
  • ตำแหน่งหรืองานในหน้าที่
  • อัตราค่าจ้างและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
  • วันสิ้นสุดของการจ้าง

และหากมีการเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนลูกจ้าง นายจ้างต้องแก้ไขเพิ่มเติมภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือภายใน 15 วันนับแต่วันที่ลูกจ้างได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงให้นายจ้างทราบ

เอกสารเกี่ยวกับการค่าจ้าง  ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด

นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไปต้องมีเอกสารเกี่ยวกับการค่าจ้าง  ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้

  • วันและเวลาทำงาน
  • ผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
  • อัตราและจำนวนค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดที่ลูกจ้างแต่ละคนได้รับ

และเมื่อมีการจ่ายดังรายการข้างต้นไม่ว่ารายการใดต้องจัดให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในเอกสารไว้เพื่อเป็นหลักฐานโดยรายการในเอกสารจะอยู่ในฉบับเดียวกันหรือแยกหลายฉบับก็ได้ ในกรณีที่นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด  และค่าล่วงเวลาในวันหยุดผ่านบัญชีธนาคารให้ถือว่าหลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของลูกจ้างเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับการจ่ายเงินดังกล่าว

อายุการจัดเก็บเอกสาร:  กฎหมายกำหนดให้นายจ้างเก็บรักษาทะเบียนลูกจ้างและเก็บเอกสารการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา  ค่าทำงานในวันหยุด  และค่าล่วงเวลาในวันหยุดไว้อย่างน้อย 2 ปีนับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างลูกจ้างแต่ละราย และในกรณีที่มีการยื่นคำร้องหรือมีข้อพิพาทแรงงานตามกฎหมายหรือมีการฟ้องร้องคดีแรงงาน ให้นายจ้างเก็บรักษาทะเบียนลูกจ้างไว้จนกว่าจะมีคำสั่งพิพากษาถึงที่สุดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

การจ้างงานประจำ คือการทำสัญญาจ้างโดยตรงจากนายจ้าง มีข้อกำหนดและมีค่าตอบแทนระบุชัดเจน แต่ไม่มีการระบุระยะเวลาสิ้นสุด เช่น พนักงานประจำ / ลูกจ้างประจำ

 

การจ้างงานแบบไม่ประจำ คือ การทำสัญญาจ้างโดยตรงจากนายจ้าง มีข้อกำหนดและมีค่าตอบแทนระบุชัดเจน ตามข้อตกลงกับนายจ้างนั้นๆ แต่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้อย่างชัดเจน หรือการทำสัญญาจ้างแบบมีกำหนดเวลา เช่น พนักงานชั่วคราว พนักสัญญาจ้าง พนักงานพาร์ทไทม์ เป็นต้น

ปัจจัยที่ทำให้หน่วยงานสรรหาว่าจ้างต้องรีบปรับตัว เพื่อหาคนมาร่วมงานกับองค์กรได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ1

 

อธิบายรายละเอียดการจ้างงานแต่ละแบบ และการเชื่อมโยงยุทธวิธีหาคนทำงาน

การจ้างงานแบบสัญญาจ้างชั่วคราว

– มีระยะเวลาที่จ้างแน่นอน เช่น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี เป็นต้น

– การจ้างงานลักษณะนี้ พนักงานชั่วคราวได้สิทธิ์เหมือนพนักงานประจำ

– การจ่ายค่าตอบแทนในรูปแบบเงินเดือน 

– ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น ค่าจ้างขั้นต่ำ เวลาพัก เวลาทำงาน ค่าทำงานในวันหยุดประจำปีบริษัท ค่าทำงานล่วงเวลา วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดพักผ่อนประจำปี สิทธิการลาป่วย พนักงานมีสิทธิได้รับเท่าเทียมกันตามที่กฎหมายกำหนด

การจ้างแบบสัญญาจ้างชั่วคราว ยกตัวอย่างเช่น…..

  • งานโครงการ (Project) เช่น แผนงานวางโครงการสื่อสารองค์กรไว้ 1 ปี แต่กำลังคนด้านกราฟิคที่ต้องการใช้ไม่เพียงพอ
  • งาน Event ที่กำลังจะจัด 3 เดือน 6 เดือน ต้องการกำลังมาเสริม
  • หรือมีพนักงานที่กำลังลาคลอด แต่ทางแผนกต้องการกำลังคน HR ก็สามารถเตรียมหากำลังสำรองเป็นสัญญาจ้างไวั 3 – 4 เดือน เพื่อช่วยสนับสนุนงาน

กรณี 

  1. เมื่อครบอายุสัญญาหากบริษัทไม่มีงานต่อก็จบงานตามสัญญา 
  2. กรณีต้องการต่อสัญญา บริษัทและพนักงานตกลงเห็นตรงกันก็ต่อสัญญาหรือจัดทำสัญญาระบุอายุสัญญาใหม่
  3. กรณีเลิกจ้างหากยังไม่ครบกำหนดตามสัญญา บริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับพนักงานตามกฎหมายแรงงานระบุไว้ หรือก็จ่ายค่าจ้างครบตามอายุสัญญา  

 

การจ้างงานแบบ Part-time

ลักษณะเดียวกับสัญญาจ้างชั่วคราว แต่งาน Part-time เหมาะกับการทำงานเป็นกะ เป็นรายชั่วโมง หรือทำงานเป็นโครงการระยะสั้น 5 วัน 10 วัน 20 วัน เป็นต้น 

– เป็นการจ้างมาช่วยพนักงานประจำ 

– ค่าตอบแทนอาจคิดเป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน เช่นชั่วโมงละ 70 บาท วันละ 500 บาท เป็นต้น

– หรือจ้าง 3 วันต่อสัปดาห์ (ในกลุ่มนักศึกษาปี 4 ที่กำลังจบมีวันว่างต่อสัปดาห์เยอะ)

การจ้างงานแบบ Part-time ยกตัวอย่างเช่น….

  • ต้องการพนักงานมาทำสำรวจตลาดจำนวน 15 วัน วันละ 500 บาท
  • ต้องการพนักงานมาช่วยดูแลลูกค้าเฉพาะวันเสาร์ – อาทิตย์
  • ต้องการพนักงานมาคีย์ข้อมูลอาทิตย์ละ 3 วัน 
  • ต้องการพนักงานมาช่วยที่ร้านอาหารในช่วงเวลาเย็นตั้งแต่ 17.00 – 20.00 น. เพราะช่วงนั้นลูกค้าเยอะ

กรณี

  1. จ่ายค่าจ้างเมื่อเสร็จงาน 
  2. จ่ายค่าจ้างตามรอบที่กำหนด เช่น ทุกวันที่ 15 และทุกสิ้นเดือน โดยโอนเข้าบัญชี

 

การจ้างงานแบบรายวันหรือรายชั่วโมง

– ได้รับค่าตอบแทนในวันที่งาน คิดเป็นวัน หรือ จำนวนชั่วโมงที่ทำ

– ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายกำหนด

การจ้างงานแบบรายวันหรือรายชั่วโมง ยกตัวอย่างเช่น…..

  • มีความยืดหยุ่นเรื่องของเวลาทำงาน เช่น งานพนักงานขาย หรือบริการลูกค้า ตามสาขาในห้างฯ หรืองานอีเวนท์ต่างๆ ที่มีช่วยช่วง 1 – 2 สัปดาห์ เป็นต้น
  • แนวโน้มใหม่ๆ เช่น การจ้างผู้สูงอายุ หรือผู้เกษียณอายุ เพื่อมาช่วยสนับสนุนการทำงานเป็นการเตรียมรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ 

 

การจ้างแบบรับเหมา

– เป็นการรับเหมางานเป็นชิ้นงาน รับจ้างทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตั้งแต่ต้นจนจบ 

– ค่าตอบแทนตามตกลงจากผลงาน ปริมาณงานที่สำเร็จ หรือตามสัดส่วน เป็นต้น

การจ้างงานแบบรับเหมา ยกตัวอย่างเช่น…

  • งานออกแบบระบบสำเร็จรูป เพื่อสนันสนุนงานเฉพาะภายในองค์กร เป็นระบบย่อย ไม่ต้องเสียงบประมาณซื้อระบบใหญ่ที่เสี่ยงต่อค่าใช้จ่ายสูง 
  • งานจ้างเหมาออกแบบหน้า Web Application

 

สรุป

การจ้างงานแบบหลากหลายจะช่วยให้ HR มีโซลูชั่นในการช่วยหาคนมาทำงานได้ตรงตามความต้องการมากขึ้น ไม่ต้องเสียเวลา ไม่เสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ ยกตัวอย่างที่แอดเคยหาคนมาช่วยงาน ดังนี้

– หาคนมาทำงานช่วงระหว่างพนักงานฝ่ายบัญชีลาคลอด ก็ลองหาพนักงานสัญญาจ้าง 4 เดือน มาเรียนรู้งาน และช่วยงานฝ่ายฯ ตลอดระยะเวลาพนักงานลาคลอด

– นักศึกษาฝึกงานก็เป็นโซลูชั่นหนึ่งที่ช่วยเสริมกำลังคน เช่น นักศึกษาฝึกงานด้านไฟฟ้ามาควบคุมตรวจงานระบบไฟในงานคอนเสิร์ต

– การหากำลังเสริมมาช่วยในช่วงเวลาเร่งด่วน หรือฤดูกาลที่ขายสินค้าได้ดี เช่น จ้างพนักงาน part time มาช่วยงานในวันเสาร์และอาทิตย์ 

– หรือแม้แต่การจ้างพนักงานในองค์กรทำงานเสริม เช่น บริษัทต้องการ call center (hotline) รับโทร.ช่วงเวลา 18.00 – 20.00 น. ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 พฤศจิกายน หลังจากประกาศออกไปก็ได้รับผลตอบรับอย่างดี ช่วงถ่วงเวลาให้เราหาคนมาฟอร์มทีมตามกำหนดการ

– หรือแม้แต่บางองค์กรสมัยนี้มีการจ้างผู้เกษียณอายุมาทำงานช่วงเวลาสั้นๆ วันละ 4 – 6 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3 – 4 วันก็เพิ่มกำลังคนได้เป็นอย่างดี 

– หรือจ้างคณะอาจารย์และนักศึกษารับงานโครงการไปออกแบบให้ผลงานออกมาก็จ่ายตามชิ้นงาน การออกแบบระบบโปรแกรมสำเร็จใช้ในองค์กร

 

แต่การเพิ่มโซลูชั่นการจ้างงานที่หลากหลายก็ต้องมีวิธีการตรวจสอบ วัดผลงานที่ชัดเจนว่าคุ้มค่าตอบแทนหรือไม่ รวบถึงการจ่ายค่าตอบแทนที่ถูกต้องแม่นยำด้วย การหาโปรแกรมสำเร็จรูปมาช่วยควรมีความยืดหยุ่นให้สอดคล้องรองรับกับรูปแบบการจ้างงานในปัจจุบัน อย่างเช่น โปรแกรมเงินเดือน EZY-HR ที่สามารถคำนวณค่าตอบแทนพนักงานรายวันและรายชั่วโมงได้ด้วย https://support.ezy-hr.com/วิธีเพิ่มพนักงานรายวัน/