ความรู้เบื้องต้นสำหรับ HR มือใหม่ เมื่อบริษัทจำเป็นต้องจ้างแรงงานต่างด้าว

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

“คนต่างด้าว” หมายถึง  บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

“ทำงาน” หมายถึง  การทำงานโดยใช้กำลังกายหรือความรู้ โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง

“ใบอนุญาต” หมายถึง  ใบอนุญาตทำงาน

“ผู้รับใบอนุญาต” หมายถึง  คนต่างด้าวซึ่งได้รับใบอนุญาต

“ลูกจ้าง” หมายถึง ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 9 มาตรา 11 มาตรา 13 (1) และ (2)  และมาตรา 14 ให้ทำงานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 15 (เป็นลูกจ้างที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อเป็นประกันค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างกลับออกไปนอกราชอาณาจักร

ความหมายของคนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตราต่างๆ ได้แก่

คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 9  แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

  • ประเภททั่วไป หมายถึง คนต่างด้าวที่เป็นแรงงานที่ใช้ทักษะ ความชำนาญเฉพาะด้าน หรือมีความสามารถทางการสื่อสาร(ภาษา) ที่ยังหาคนไทยที่มีความสามารถไม่ได้ หรือเป็นการเข้ามาทำงานในกิจการที่ตนเองลงทุน  หรือกิจการของคู่สมรส หรือกิจการที่ร่วมลงทุน
  • ประเภทตลอดชีพ หมายถึง คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตทำงานตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 322 มีสาระสำคัญว่า ใบอนุญาตที่ออกให้แก่คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและทำงานอยู่แล้วก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2515  ให้ใช้ตลอดชีวิตของคนต่างด้าวเว้นแต่คนต่างด้าวจะเปลี่ยนอาชีพใหม่
  • ประเภทแจ้งการทำงาน หมายถึง  คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาเพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนที่มีระยะเวลาทำงานไม่เกิน 15 วันและจะทำงานนั้นได้เมื่อได้มีหนังสือแจ้งให้นายทะเบียนทราบ
  • ประเภทพิสูจน์สัญชาติ หมายถึง  แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา อนุญาตให้ทำงานได้ 2 งานคือ งานกรรมกรและคนรับใช้ในบ้าน (ประเภทนี้ใบอนุญาตทำงานชนิดบัตรชมพู)

คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 11  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • ประเภททั่วไป หมายถึง คนต่างด้าวที่เป็นแรงงานที่ใช้ทักษะ ความชำนาญเฉพาะด้าน หรือมีความสามารถทางการสื่อสาร (ภาษา) ที่ยังหาคนไทยที่มีความสามารถไม่ได้ เมื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วต้องดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตทำงานภาย 30 วัน
  • ประเภทนำเข้า หมายถึง แรงงานต่างด้าวว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าวระหว่างประเทศไทยกับประเทศคู่ภาคี (MOU) โดยขออนุญาตทำงานได้ 2 งาน คือ งานกรรมกรและคนรับใช้ในบ้าน

คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 13 (1) และ (2)  หมายถึง คนต่างด้าวซึ่งไม่อาจขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 9 เพราะอาจขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนเพื่อทำงานตามประเภทที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดยคำนึงถึงความมั่นคงของชาติและผลกระทบต่อสังคม

คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 14  หมายถึง  คนต่างด้าวที่มีภูมิลำเนาและเป็นคนสัญชาติของประเทศที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย ถ้าได้เข้ามาในราชอาณาจักรโดยมีเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง อาจได้รับอนุญาตให้ทำงานบางประเภทหรือลักษณะงานในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวในช่วงระยะเวลาหรือตามฤดูกาลที่กำหนดได้

คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 12 หมายถึง คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายพิเศษ ได้แก่  กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักร แล้วประสงค์จะทำงานต้องปฏิบัติ   ดังนี้

  1. คนต่างด้าวที่จะขออนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือการนิคมอุตสาหกรรมต้องยื่น

ขอรับใบอนุญาตทำงาน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เข้ามาในราชอาณาจักรหรือ 30 วันนับแต่วันที่ทราบการได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายนั้นๆ

  1. คนต่างด้าวไม่ว่าจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรประเภทคนอยู่ชั่วคราวจะ

ได้ทำงานต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วเท่านั้น โดยยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบที่กฎหมายกำหนด

คุณสมบัติของคนต่างด้าวที่จะขอใบอนุญาต ได้แก่

  1. มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับใบอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (NON-IMMIGRANT) โดยไม่ใช่ในฐานะนักท่องเที่ยว (Tourist) หรือผู้เดินทางผ่าน (TRANSIT)
  2. มีความรู้ความสามารถในการทำงานตามที่ขอรับใบอนุญาตทำงาน
  3. ต้องไม่เป็นคนวิกลจริตหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
  4. ต้องไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการอันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง หรือโรคพิษสุราเรื้อรัง
  5. ต้องไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันเข้าขอรับอนุญาต

คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานแล้ว ต้องปฎิบัติดังนี้

  • มีใบอนุญาตติดตัวไว้หรือมีอยู่ ณ ที่ทำงานในระหว่างทำงานเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา (ผู้มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท)
  • ทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตทำงาน (มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีปรับตั้งแต่ 2,000-100,0001 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
  • ต้องทำงานตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น หากประสงค์จะทำงานอื่นหรือเปลี่ยนท้องที่หรือสถานที่ในการทำงาน ต้องได้รับอนุญาตก่อน (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท)
  • ก่อนใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุ และประสงค์จะทำงานต่อต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนจึงจะทำงานได้
  • กรณีใบอนุญาตชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นขอใบแทนใบอนุญาตภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบ
  • กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล สัญชาติ ที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว หรือชื่อสถานที่ทำงานต้องยื่นคำร้องแก้ไข

การกำหนดวันลาองค์กรโดยส่วนใหญ่จะอ้างอิงกฎหมายแรงงานเป็นหลักพื้นฐานและเพิ่มเติมยืดหยุ่นตามรูปแบบธุรกิจ การลาถือเป็นสวัสดิการประเภทหนึ่งที่ใช้เป็นผลตอบแทนพนักงาน หรือ ดึงดูดผู้สมัครเข้ามาร่วมงานกับองค์กร

 

หลักการกำหนดวันลาในระเบียบบริษัท มีแนวทางดังนี้

  1. จำเป็นต้องยึดตามกฎหมายแรงงานเป็นหลัก
  2. ให้มากกว่าได้แต่ให้น้อยกว่ากฎหมายกำหนดไม่ได้
  3. ปรับตามความเหมาะสมกับธุรกิจ
  4. อาจจะใช้ระเบียบจากธุรกิจใกล้เคียงกันมาเป็นแนวทาง

 

ประเภทวันลาสิทธิตามกฎหมายแรงงาน

ลำดับ ประเภทวันลา เงื่อนไข เพิ่มเติม
1 วันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน ระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน – กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้

– กรณีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่แน่นอน นายจ้างต้องประกาศวันหยุดให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน และแจ้งเป็นหนังสือให้แรงงานทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ประกาศกำหนด

2 วันหยุดตามประเพณี ต้องไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน และ 1 ใน 13 วันที่ทุกบริษัทต้องมีคือ “วันแรงงานแห่งชาติ”
3 วันหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน เมื่ออายุงานครบ 1 ปี – หากไม่ครบ 1 ปีสามารถให้ตามสัดส่วนได้ (ข้อตกลงระหว่างนายจ้าง)

– สามารถสะสมโดยยกยอดไปใช้ในปีถัดไปได้    (ข้อตกลงระหว่างนายจ้าง)

4 วันลาป่วย โดยถ้อยคำในกฎหมายใช้คำว่า “ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง” – ลาป่วยเกินกว่า 3 วัน นายจ้างมีสิทธิเรียกดูใบรับรองแพทย์ได้

– บางบริษัทระบุสิทธิการลาป่วยได้ 30 วันต่อปี (ข้อตกลงระหว่างนายจ้าง)

5 การลาคลอด สิทธิลาคลอดก่อนและหลังคลอดครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน ได้รับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน
6 การลาเพื่อทำหมัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ “การลาเพื่อทำหมัน” กับ “การลาเนื่องจากการทำหมัน” ในกฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน แต่จำนวนวันลาต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์
7 การลาเพื่อรับราชการ ลาได้รับค่าจ้าง 60 วันต่อปี  รับราชการในการเรียกพล เพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดสอบความพร้อม
8 วันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น กฎหมายใหม่ กำหนดให้มีสิทธิลาได้ โดยได้รับค่าจ้างอย่างน้อย 3 วันทำงานต่อปี
9 การลาเพื่อฝึกอบรม ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาเพื่อการฝึกอบรม หรือพัฒนาความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์ อาจกำหนดให้มีการแจ้งนายจ้างล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน

 

อ้างอิง : พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และฉบับใหม่ 2562

นอกจากกฎหมายแรงงานจะกำหนดให้นายจ้างจัดทำข้อบังคับการทำงานแล้ว ยังมีข้อกำหนดให้นายจ้างจัดทำทะเบียนลูกจ้างและจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

ทะเบียนลูกจ้าง

นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไปจัดทำทะเบียนลูกจ้างเป็นภาษาไทย และเก็บไว้ ณ สถานประกอบการหรือสำนักงานของนายจ้าง  พร้อมที่จะให้พนักงานแรงงานตรวจได้ในเวลาทำการ และนายจ้างต้องจัดทำภายใน 15 วันนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน  โดยในทะเบียนลูกจ้างอย่างน้อยจะต้องมีรายการดังต่อไปนี้

  • ชื่อและนามสกุล
  • เพศ
  • สัญชาติ
  • วันเดือนปีเกิด หรืออายุ
  • ที่อยู่ปัจจุบัน
  • วันที่เริ่มจ้างงาน
  • ตำแหน่งหรืองานในหน้าที่
  • อัตราค่าจ้างและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
  • วันสิ้นสุดของการจ้าง

และหากมีการเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนลูกจ้าง นายจ้างต้องแก้ไขเพิ่มเติมภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือภายใน 15 วันนับแต่วันที่ลูกจ้างได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงให้นายจ้างทราบ

เอกสารเกี่ยวกับการค่าจ้าง  ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด

นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไปต้องมีเอกสารเกี่ยวกับการค่าจ้าง  ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้

  • วันและเวลาทำงาน
  • ผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
  • อัตราและจำนวนค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดที่ลูกจ้างแต่ละคนได้รับ

และเมื่อมีการจ่ายดังรายการข้างต้นไม่ว่ารายการใดต้องจัดให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในเอกสารไว้เพื่อเป็นหลักฐานโดยรายการในเอกสารจะอยู่ในฉบับเดียวกันหรือแยกหลายฉบับก็ได้ ในกรณีที่นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด  และค่าล่วงเวลาในวันหยุดผ่านบัญชีธนาคารให้ถือว่าหลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของลูกจ้างเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับการจ่ายเงินดังกล่าว

อายุการจัดเก็บเอกสาร:  กฎหมายกำหนดให้นายจ้างเก็บรักษาทะเบียนลูกจ้างและเก็บเอกสารการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา  ค่าทำงานในวันหยุด  และค่าล่วงเวลาในวันหยุดไว้อย่างน้อย 2 ปีนับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างลูกจ้างแต่ละราย และในกรณีที่มีการยื่นคำร้องหรือมีข้อพิพาทแรงงานตามกฎหมายหรือมีการฟ้องร้องคดีแรงงาน ให้นายจ้างเก็บรักษาทะเบียนลูกจ้างไว้จนกว่าจะมีคำสั่งพิพากษาถึงที่สุดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

โรคซึมเศร้า เริ่มเป็นที่รู้จักมาไม่นาน ยิ่งมาพูดถึงมากขึ้นจากข่าวการเสียชีวิตที่ได้ยินได้อ่านของดาราท่านหนึ่ง แอดมินเลยอยากหยิบยกมาเล่าให้ฟังกันว่าหากมีคนในองค์กรของท่านเป็นโรคซึมเศร้า คนในองค์กรควรทำอย่างไร เราในฐานะ HR จะทำอย่างไร

โรคซึมเศร้า เป็นโรคหนึ่งซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ เหมือนเช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต และไม่ว่าจะเป็นเพศ หญิง หรือชาย ช่วงอายุใดก็สามารถเกิดขึ้นได้ แต่สาเหตุนี้มักพบในกลุ่มคนที่พบเจอเหตุการณ์ที่กระทบต่อจิตใจ กระทบต่อความรู้สึกรุนแรง เช่น การผิดหวัง การสูญเสีย ความเครียดจากปัญหารุมเร้าซึ่งโรคนี้สามารถรักษาหายได้ด้วยการใช้ยา การรักษาทางจิตใจ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน  

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

  • สาเหตุจากพันธุกรรม ที่มากจากครอบครัวที่มีอาการเป็นโรคซึมเศร้า
  • สาเหตุจากสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ สภาพจิตใจที่เจอสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ ทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบความคิด เช่น มองสิ่งต่างๆในแง่ลบ เกิดความรู้สึกผิดหวัง เกิดอาการกังวลสภาพจิตใจรู้สึกแย่ หดหู่
  • สาเหตุจากการเจอสถานการณ์ต่างๆ ที่ทำให้กระทบจิตใจ ทำให้ส่งผลต่อสภาพจิตใจ เช่น การสูญเสีย การผิดหวัง เจอเรื่องเครียดตลอดเวลา

อาการของโรคซึมเศร้า

  • รู้สึกหงุดหงิดง่าย กังวลไม่สบายใจ
  • เก็บตัว แยกออกจากสังคมรอบข้าง
  • เศร้า หม่นหมอง ท้อแท้ สิ้นหวัง หมดกำลังใจ
  • ไม่มีสมาธิในการทำงาน ความสามารถแยกแยะไม่มี การตัดสินใจลดน้อยลง
  • การเบื่ออาหาร ทานอาหารลดน้อยลง
  • ซึมเศร้าเป็นทุกข์ รู้สึกเครียดตลอดเวลา
  • มีอาการนอนไม่หลับ นอนน้อยลงหรือนอนมากขึ้นเกินไป
  • มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย

การรักษาโรคซึมเศร้า

  • รักษาทางจิตใจ อาจจะเป็นการพบจิตแพทย์การพูดคุย ให้จิตแพทย์หาสาเหตุอาการที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าของแต่ละบุคคล ให้จิตแพทย์สังเกตทางพฤติกรรมแล้วทำให้ผู้ป่วย และคนรอบข้างได้เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหารักษาอาการของโรคซึมเศร้ากันต่อไป
  • รักษาทางยา ทางแพทย์เมื่อวิเคราะห์อาการของผู้ป่วยจนแน่ชัดแล้วจะมีการจ่ายยาให้ผู้ป่วยบางกลุ่มขึ้นอยู่กับกรณีไป

การปฏิบัติต่อพนักงานที่เป็นโรคซึมเศร้า

  1. HR ควรเก็บเป็นความลับ สิ่งนี้เป็นสิ่งแรกที่ควรทำอย่างยิ่ง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการปฏิบัติจากเพื่อนร่วมงานเช่นปกติ
  2. แจ้งหัวหน้างาน ให้คำแนะนำหัวหน้างานว่า….
  • โรคซึมเศร้าเป็นโรคชนิดหนึ่งที่สามารถรักษาได้
  • ปฏิบัติกับพนักงานดังเช่นปกติ พยายามจัดสมดุลการดูแลน้องในทีมให้เท่าเทียมกัน
  • ฝึกฝนการให้ Feedback ต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า
  1. แนะนำกฎระเบียบที่พนักงานสามารถใช้สิทธิ์ได้
  • โรคซึมเศร้าเป็นโรคชนิดหนึ่ง สามารถใช้สิทธิ์การลาป่วยตามกฎระเบียบบริษัท เช่น ลาป่วยได้ 30 วันต่อปี, ลาหยุดตามใบนัดแพทย์ เป็นต้น
  1. สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดียิ้มแย้มให้กัน ช่วยสนับสนุนซึ่งกันและกัน
  2. สุดท้ายตรวจติดตาม (Monitoring) ถามไถ่เป็นระยะถึงการรักษาผลทางการแพทย์เพื่อทราบสถานการณ์ แต่ไม่ให้บ่อยจนเกินไป และให้กำลังใจพนักงานเสมอ
  3. ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า 

คำพูดที่ควรใช้กับคนซึมเศร้าในที่ทำงาน

  • อยากคุยกับผมไหม หรือมีอะไรปรึกษาได้เสมอนะ (หัวหน้างาน)
  • คุณเป็นสมาชิกในทีมของเรานะ
  • (หัวหน้างาน) ติดขัดอะไรเข้ามาคุยกับผมได้ตลอดเวลา ผมยินดี support งานทุกคนนะ
  • คุณช่วยงานผมได้เยอะเลย
  • อาจไม่เข้าใจ แต่จะเป็นกำลังใจให้นะ

คำพูดที่ไม่ควร

  • ลืมๆ มันไปซะเถอะ
  • ไม่อยากรู้สึกแบบนี้ ก็เลิกคิดสิ
  • ไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวก็ผ่านไป
  • จะเศร้าไปถึงไหนกัน
  • เข้าใจว่ารู้สึกอย่างไร ฉันก็เคยเป็น
  • เลิกเศร้าได้แล้ว

ผู้ป่วยที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ดูแลตนเอง และปฏิบัติตามแพทย์อย่างเคร่งครัดก็จะสามารถหายได้ และดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ การให้โอกาสเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรส่งเสริมภายในองค์กรให้เป็นองค์กรที่น่าอยู่ช่วยกันนะคะ EZY-HR เป็นกำลังใจให้เสมอ

แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9 จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ขอขอบคุณ

https://www.lovecarestation.com/ประโยคที่ควรไม่ควร-พูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า/

 

 

คลอดมาอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงงาน (ฉบับที่ 7)  พ.ศ. 2562 บังคับใช้ 5 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา วันนี้ผู้เขียนสรุปสาระสำคัญของ พ.ร.บ ฉบับมาให้เพื่อนๆ ชาว HR เข้าใจอย่างง่ายๆ ดังนี้

 

1. อัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัดชำระ

หากนายจ้างผิดนัดจ่ายเงินตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ ต้องเสียดอกเบี้ยอัตรา 15% ต่อปี เช่นในกรณี

  • กรณีที่นายจ้างไม่คืนหลักประกันที่เป็นเงิน
  • ไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า หรือไม่จ่ายค่าจ้าง
  • ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้

ภายในเวลาที่กำหนด

  • ไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างหยุดกิจการ หรือค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ

 

2. การเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง

กรณีนายจ้างมีการเปลี่ยนตัว เปลี่ยนนิติบุคคล จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง และให้สิทธิต่างๆ ที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้างเดิมคงมีสิทธิต่อไป โดยนายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิ และหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ

 

3. ลากิจธุระที่จำเป็น

ลูกจ้างมีสิทธิลากิจได้ อย่างน้อย 3 วัน และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันที่ลา

 

4. ลาเพื่อคลอดบุตร

ลูกจ้างหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วัน  โดยให้รวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตร แต่ให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วย และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน

 

5. ห้ามเลือกปฎิบัติในการจ่ายค่าจ้าง

นายจ้างต้องกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานอันมีลักษณะ คุณภาพ และปริมาณเท่ากัน หรืองานที่มีค่าเท่าเทียมกันในอัตราเท่ากันไม่ว่าลูกจ้างนั้นจะเป็นชายหรือหญิง

 

6. สินจ้าง(ค่าจ้าง) แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

กรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้นายจ้างจ่ายเงินให้ลูกจ้างเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับ นับแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่เลิกสัญญาจ้างมีผล โดยให้จ่ายในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน

 

 7. กำหนดการจ่ายค่าตอบแทนให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลา

ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุดและเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลา ดังต่อไปนี้

  • ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้างเป็นรายเดือน รายวัน รายชั่วโมง หรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่น ที่ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง
  • ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้าง นอกจาก ๑) ให้จ่ายตามกำหนดเวลาที่นายจ้าง และลูกจ้างตกลงกัน
  • ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง

ในกรณีเลิกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่าย  ตามที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ให้แก่ลูกจ้างภายใน 3 วันนับแต่วันที่เลิกจ้าง

 

8. เงินระหว่างหยุดกิจการชั่วคราว

ในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นการชั่วคราวด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้าง จนทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน

 

9. อัตราค่าชดเชย

ปรับค่าชดเชยใหม่…เป็น 6 อัตรา

11

10. เงินชดเชยพิเศษเนื่องจากย้ายสถานประกอบการ

  • นายจ้างซึ่งประสงค์จะย้ายสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งแห่งใด ไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่ หรือย้ายไปยังสถานที่อื่นของนายจ้าง ให้ “นายจ้างปิดประกาศ” แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าโดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ที่ลูกจ้างสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ และประกาศนั้นอย่างน้อยต้องมีข้อความชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่าลูกจ้างคนใดจะต้องถูกย้ายไปสถานที่ใดและเมื่อใด
  • หากลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้างคนนั้น และไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายใน 30 วันนับแต่วันที่ปิดประกาศ หรือนับแต่วันที่ย้าย
  • นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วันนับแต่วันที่สัญญาจ้างสิ้นสุด
  • ในกรณีที่นายจ้างไม่เห็นด้วยกับเหตุผลของลูกจ้าง ให้นายจ้างยื่นคำร้อง ต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ

11. การยกเลิกหนังสือเตือนกรณีนายจ้างไม่ยื่นแบบแสดงสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน

นายจ้างผู้ใดไม่ยื่นหรือไม่แจ้งแบบแสดงสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

 

ช่วงนี้ต้องรีบ update กฎหมายแรงงานใหม่ๆ จะได้ไม่ผิดพลาดกัน และอาจจะต้องปรับปรังปรุงกฎระเบียนข้อบังคับองค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานฉบับใหม่ด้วยนะคะ EZY-HR ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อน HR ทุกคน ปรับปรุงพัฒนางานของเรากันต่อไป

ขอขอบคุณค่ะ

HR มือใหม่อาจจะยังงงๆ กับกฎหมายแรงงานอันมากมาย ว่าควรเริ่มตรงไหนก่อนหลังดี ไม่รู้ก็ไม่ได้อีก

มาค่ะ…มาดูกันว่า HR มือใหม่ ควรรู้อะไรบ้าง

 

1. สัญญาการจ้างงาน หรือ สัญญาว่าจ้าง

คือ สัญญา ข้อตกลงกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งอาจตกลงกันด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษร ที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับ “จะถือว่าเป็นสัญญาว่าจ้างแล้ว” และเมื่อใดที่ลูกจ้างทำงานให้กับนายจ้างแล้วก็จะถือว่าสัญญาเป็นอันสมบูรณ์ ดังนั้น…เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลังจึงควรทำข้อตกลงให้เป็นหนังสือสัญญาจ้าง

***เนื้อหาในสัญญาจ้างจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานมิเช่นนั้นจะถือว่าสัญญาเป็นโมฆะ

 

2. การกำหนดวัน เวลา ทำงาน และเวลาพัก

ตามกฎหมายแรงงานกำหนดชั่วโมงการทำงานแตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจโดย

  • งานด้านพาณิชกรรมหรืองานอื่นทั่วไป ทำงานไม่เกินวันละ 9 ชั่วโมง แต่สัปดาห์หนึ่งไม่เกิน 48 ชั่วโมง
  • งานอุตสาหกรรม สัปดาห์หนึ่งไม่เกิน 48 ชั่วโมง
  • งานขนส่งไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง
  • ต้องให้ลูกจ้างมีเวลาพักระหว่างการทำงานวันหนึ่งไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง หลังจากลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกิน 5 ชั่วโมงติดต่อกัน

3. กำหนดวันหยุด

วันหยุดประจำสัปดาห์ ต้องจัดให้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน โดยมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วันทำงาน หรือเข้าใจง่ายๆ ทำงาน 6 วันต้องหยุด 1 วัน จะสะสมหรือเลื่อนไม่ได้

***เว้นแต่ธุรกิจโรงแรม งานขนส่ง หรืองานอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าสะสมวันหยุดประจำสัปดาห์ หรือเลื่อนไปหยุดเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ในระยะเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน

วันหยุดตามประเพณี

– ต้องประกาศวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าปีหนึ่ง

– ให้มีไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ

ทั้งนี้พิจารณาจากวันหยุดราชการ วันหยุดทางศาสนา หรือตามขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น และถ้าหากวันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้าง ต้องให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป

 ข้อควรระวัง

  • กรณีนายจ้างประกาศวันหยุดตามประเพณีไม่ถูกต้องตามกฎหมาย มีความผิดและมีโทษทางอาญาตามมาตรา 146 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
  • กรณีที่นายจ้างไม่จัดให้ลูกจ้างหยุดตามประเพณี ต้องจ่ายค่าจ้างทำงานในวันหยุด หรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามกฎหมายมาตรา 46 ให้แก่ลูกจ้างด้วย

วันหยุดพักผ่อนประจำ เมื่อลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี (พักร้อน) ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน

  • ต้องแจ้งจำนวนวันหยุดพักร้อนให้ลูกจ้างทราบ
  • การทำข้อตกลงการสะสม และเลื่อนวันพักร้อน (กรณีที่ใช้ในปีนั้นไม่หมด) ไปรวมกับปีถัดไป
  • นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างวันพักร้อนที่เหลือ (คำนวณตามจำนวนวันทำงาน) ในวันที่ลูกจ้างลาออก หรือถูกเลิกจ้าง

 

4. กำหนดหลักการลาของลูกจ้าง

วันลาป่วย

  • มีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง และมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันลาป่วยปีหนึ่งไม่เกิน 30 วัน
  • สามารถกำหนดให้ลูกจ้างที่ลาป่วย 3 วันทำงานขึ้นไป แสดงใบรับรองแพทย์ (หากลูกจ้างไม่ยอมแสดง ถือว่าเป็นการผิดวินัยฐานลาผิดระเบียบ)

ลาทำหมัน ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อการทำหมัน ตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนด ออกใบรับรอง โดยไม่กำหนดว่ากี่ครั้ง โดยจ่ายค่าจ้างเสมือนลูกจ้างมาทำงานปกติ

ลาตั้งครรภ์ 

  • ลูกจ้างหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วัน โดยรวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตร แต่ให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วย
  • ต้องจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน

ลากิจธุระอันจำเป็น  ลูกจ้างสามารถลากิจ เพื่อกิจธุระอันจำเป็น อย่างน้อย 3 วัน โดยได้รับค่าจ้างตามปกติ

ลาเพื่อรับราชการทหาร ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารไม่เกินปีละ 60 วัน โดยได้รับค่าจ้างตามปกติ

ลาเพื่อฝึกอบรม ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถ ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงกำหนดทำได้ โดยการจ่ายค่าจ้างจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด

 

5. การทำงานล่วงเวลา และค่าทำงานล่วงเวลา

ค่าล่วงเวลา คือ การทำงานตั้งแต่เวลาเลิกงาน (เวลาหลังเลิกงานที่แต่ละบริษัทกำหนด) จะได้รับค่าจ้างจำนวน 1.5 เท่าของค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง

ค่าทำงานในวันหยุด คือ ลูกจ้างที่ทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ 0-8 ชั่วโมงแรก (ไม่รวมเวลาพัก 1 ชั่วโมง) จะได้รับค่าจ้างจำนวน 1 เท่าของค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง

ค่าล่วงเวลาในวันหยุด  คือ ลูกจ้างที่ทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่ชั่วโมงที่ 9 เป็นต้นไป (ไม่รวมเวลาพัก 1 ชั่วโมง) จะได้รับค่าจ้างจำนวน 3 เท่าของค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง

 

 6. กำหนดการจ่ายค่าตอบแทน

นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินประโยชน์อื่นๆ เนื่องจาก การจ้าง เป็นเงินตราไทย ต้องกำหนดวันที่จ่าย และวิธีการจ่ายให้ชัดเจน

***อัตราการจ้างงานขั้นต่ำในแต่ละพื้น สิ่งที่ต้องทราบ คือ นายจ้างไม่สามารถจ่ายค่าจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กำหนดไว้ได้โดยเด็ดขาด ยกเว้น ลูกจ้างอยู่ในช่วงทดลองงาน แต่ต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอัตราค่าจ้างในระหว่างทดลองนี้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย

 

7. สิทธิในการได้รับการคุ้มครองแรงงาน

สิทธิพื้นฐานที่กระทรวงแรงงานระบุไว้ หากนายจ้างทำละเมิดสัญญาจ้างงานหรือขัดกับกฎหมาย รัฐสามารถแทรกแซงเอกชนเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างได้

 

8. กองทุนเงินทดแทน

กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนเงินทดแทน ที่ดูแลโดยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงเพื่อคุ้มครองกรณี ลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย เสียชีวิตหรือสูญหาย เนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง โดย…

  • นายจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเป็นรายปีภายใน 31 มกราคมของทุกปี
  • ต้องรายงานค่าจ้างจริงของปีที่ผ่านมาภายในเดือนกุมภาพันธ์

*หากค่าจ้างที่ประมาณไว้น้อยกว่าก็จะเรียกเก็บเงินสมทบเพิ่ม เรียกว่า “เงินสมทบจากการรายงานค่าจ้าง” ภายในเดือนมีนาคม

*หากค่าจ้างที่ประมาณการสูงกว่าค่าจ้างจริงนายจ้างก็จะได้รับเงินสมทบส่วนที่จ่ายเกินคืนไป

  • อัตราเงินสมทบจะอยู่ระหว่าง 2% – 1.0% ของค่าจ้าง ขึ้นอยู่กับลักษณะความเสี่ยงภัยในการทำงานของแต่ละกิจการโดยค่าจ้างรายปีที่นำคำนวณสูงสุดอยู่ที่ 240,000 บาท
  • (หากค่าจ้างที่ประมาณไว้น้อยกว่าก็จะเรียกเก็บเงินสมทบเพิ่ม เรียกว่า “เงินสมทบจากการรายงานค่าจ้าง” ภายในเดือนมีนาคม  หากค่าจ้างที่ประมาณการสูงกว่าค่าจ้างจริงนายจ้างก็จะได้รับเงินสมทบส่วนที่จ่ายเกินคืนไปด้วยเช่นกัน  โดย โดยค่าจ้างรายปีที่คำนวณสูงสุดอยู่ที่ 240,000 บาท 

กองทุนเงินทดแทนจะคุ้มครองดูแลในกรณี ดังนี้

  1. ค่ารักษาพยาบาล กรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน

– นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 50,000 บาท

– กรณีลูกจ้างเป็นผู้ป่วยในมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล และค่าบริการทั่วไป ให้นายจ้างจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าว เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินวันละ 1,300 บาท

  1. ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ กรณีฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานภายหลังการประสบอันตราย ได้รับตามอัตรา ดังนี้

– ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานด้านอาชีพ โดยให้จ่ายได้เฉพาะที่เป็นการฝึกตามหลักสูตรที่หน่วยงานของสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้ดำเนินการ ไม่เกิน 24,000 บาท

– ค่าใช้จ่ายในกระบวนการเวชศาสตร์ฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานด้านการแพทย์ โดยเป็นค่าใช้จ่ายทางกายภาพบำบัด ไม่เกินวันละ 200 บาท และค่าใช้จ่ายทางกิจกรรมบำบัด ไม่เกินวันละ 100 บาท แต่รวมแล้ว ไม่เกิน 24,000 บาท

– ค่าใช้จ่ายในกระบวนการบำบัดรักษาและการผ่าตัด เพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน ไม่เกิน 40,000 บาท หากมีความจำเป็นให้จ่ายเพิ่มได้อีกไม่เกิน 110,000 บาท โดยคณะกรรมการการแพทย์พิจารณา และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเห็นชอบ

– ค่าวัสดุและอุปกรณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู หน่วยละไม่เกินอัตราตามที่กระทรวงการคลังกำหนด แต่รวมแล้วไม่เกิน 160,000 บาท

  1. ค่าทำศพ

ผู้จัดการทำศพของลูกจ้างที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากการทำงานจะได้รับค่าทำศพเป็นจำนวน 100 เท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

  1. ค่าทดแทน

เงินที่จ่ายให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ์สำหรับการประสบอันตราย เจ็บป่วย เสียชีวิตหรือสูญหายของลูกจ้าง นอกเหนือจากสิทธิ์ได้รับค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานหรือค่าทำศพ โดยค่าทดแทนนี้ลูกจ้างจะได้รับเป็นรายเดือนทุกเดือน ในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนของลูกจ้างตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดดังนี้

  1. ค่าทดแทนกรณีไม่สามารถทำงานติดต่อกันเกิน 3 วันขึ้นไป ลูกจ้างได้รับเงินเป็นรายเดือนทุกเดือนในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน สูงสุดไม่เกิน 12,000 บาทต่อเดือน ตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถทำงานได้ แต่ไม่เกิน 1 ปี
  2. ค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกาย หลังสิ้นสุดการรักษาลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าทดแทนในร้อยละ 60  ของค่าจ้างรายเดือน เป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี
  3. ค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพ ลูกจ้างที่สูญเสียอวัยวะจนส่งผลให้ไม่สามารถทำงานได้ จะได้รับค่าทดแทนในร้อยละ 60  ของค่าจ้างรายเดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี
  4. ค่าทดแทนกรณีตายหรือสูญหาย ผู้มีสิทธิตามกฎหมาย เช่น บิดา มารดา สามี ภรรยา บุตร ของลูกจ้างจะรับค่าทดแทนร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนเป็นระยะเวลา 8 ปี

ทั้งหมดนี้ถือเป็นกฎหมายพื้นฐานที่ HR มือใหม่ควรรู้ เพราะส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการทำตามกฎระเบียบตามที่กฎหมายกำหนด และส่วนหนึ่งก็เพื่อเป็นหลักประกันให้ลูกจ้างทำงานได้อย่างมีความสุข

Employee Handbook หรือ คู่มือพนักงาน ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่บริษัทต่างๆ ต้องจัดทำขึ้น ซึ่งข้อดีมีมากมาย ทั้งให้พนักงานเข้าใจเกี่ยวกับองค์กร เข้าใจกฎเกณฑ์ ข้อบังคับการทำงาน ข้อควรปฏิบัติและอื่นๆ ที่บริษัทต้องการให้พนักงานรับทราบ

 

ปัจจุบัน Employee Handbook หรือ คู่มือพนักงาน ของแต่ละบริษัทก็มีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าทำอย่างไรให้พนักงานได้รับทราบข้อมูลของบริษัทตนเอง
ในปัจจุบันที่เห็นส่วนใหญ่ หลายบริษัทก็มีการจัดพิมพ์เป็นเล่มและส่งมอบให้พนักงาน และเซ็นต์รับทราบรายละเอียด กฎข้อบังคับการทำงานไปพร้อมๆ กันเลย ซึ่งถ้ามาลองคิดดูแล้วการจัดทำคู่มือก็ใช้งบประมาณค้อนข้างสูงเช่นกัน ยกตัวอย่าง พนักงาน 300 คน คนละเล่ม เลือกแบบรูปเล่มที่ไม่แพงมาก 4 สี น่าจะราคาเล่มละ 100 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท บวกกับมีพนักงานเข้า-ออกอีก ดูแล้วค่าใช้จ่ายเยอะไม่ใช่น้อย บางบริษัทลงทุนน้อยก็ถ่ายเอกสารเอา หรืออย่างงายก็ปิดประกาศไปเลย ซึ่งทั้งหมดก็มีเป้าหมายเดียวกัน เพื่อให้พนักงานรับทราบรายละเอียดบริษัท ข้อบังคับการทำงาน บทลงโทษ หรืออื่นๆ แต่พนักงานอ้างว่าไม่ได้อ่าน เมื่อกระทำความผิด เราจะลงโทษเค้าได้อย่างไร

 

Employee Handbook หรือ คู่มือพนักงาน ในยุค 4.0 ยุคที่มีโซเชียล Line, Facebook เราต้องมาทำอย่างนี้กันอยู่อีกหรือ หากต้องการให้พนักงานได้รับทราบกฎระเบียบของบริษัท
จะดีกว่าไหม หากมี Employee Handbook หรือ คู่มือพนักงาน ที่เป็น Applications ให้พนักงานสามารถอ่านที่ไหน เวลาไหน เมื่อไหร่ก็ได้ เพื่อเพิ่มความสะดวกอีกทางหนึ่ง ของการบริหารทรัพยากรบุคคล พร้อมกับลดค่าใช้จ่ายในการผลิตคู่มือให้สำหรับพนักงานในเวลาเดียวกัน อีกทั้ง ยังสามารถทราบได้อีกว่าพนักงานคนไหนอ่านแล้วบ้าง และยังสามารถให้พนักงานกดตกลงเพื่อรับทราบกฎระเบียบข้อบังคับการทำงาน และบทลงโทษ หรือสิ่งต่างๆ ได้อีกด้วย

 
แค่นี้ก็เป็นเรื่องง่ายๆ อีกทางหนึ่ง ที่จะช่วยลดภาระงานด้านบริหารทัพยากรบุคคล แถมยังสามารถรู้ได้อีกด้วยว่าพนักงานคนใดตอบตกลง รับทราบเงื่อนไขของบริษัทได้แล้วบ้าง แค่นี้ก็ช่วยให้งาน HR เบาลงไปเป็นกองแล้ว

 

 

594524

594525

594526

 

 

 

 

 

 

 

 

 


1526369860851

1526369846250

1526369834470

1526369794502

ล้อกอิน แอพส์ รีวิว โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์

ในการทำงานแต่ละวันของพนักงานบริษัทจะเห็นว่ามีกิจกรรมมากมายที่ เกี่ยวข้องกับฝ่ายบุคคล ตัวอย่าง เช่น การขออนุญาติ, การขอทำโอที, การสร้าง ตารางการทำงานล่วงหน้า, การอนุมัติข้อมูลต่างๆให้กับลูกน้อง, การดูข้อมูลพื้น ฐาน ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คุณอาจจะเคยทำกิจกรรมเหล่านี้ผ่านทางระบบใน Office หรืออาจเป็นรูปแบบของ Doc flow แต่การที่ต้องเข้ามาใน Office นั้นก็ สร้างความลำบากให้กับผู้ที่จะขออนุมัติและผู้ให้การอนุมัติ แต่ปัญหาดังกล่าว กำลังจะหมดไปเพราะในวันนี้สิ่งที่กล่าวมาในข้างต้นนั้นสามารถทำได้ผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือของคุณเพียงแค่ปลายนิ้วเท่านั้นบน IOS และ Android

รีวิวโปรแกรมเงินเดือน แอนดรอยด์ เพลย์สโตร์

รีวิวแอพโปรแกรมเงินเดือน EZY-HR สำหรับ iPhone

เริ่มต้นกันที่หน้า Login ครับซึ่งก่อนจะใส่ username/password เพื่อเข้าใช้งาน ได้จะต้องตั้งค่าบริษัทก่อนครับ(Company setup) แล้วเลือก Save จากนั้นใส่ username/password แล้วเข้าสู่ะบบได้เลยครับ

ล้อกอิน แอพส์ รีวิว โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์

เข้าสู่หน้าจอหลักที่ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนครับ ตรงส่วนหัวนั้นจะแสดงข้อมูล ทีบอกถึงจำนวนที่ท่านต้องอนุมัติข้อมูลให้กับลูกน้อง (อนุมัติการลา, โอที, ตาราง ทำงาน) และแสดงรูปโปรไฟล์

ในส่วนด้านล่างจะแสดงเมนูที่ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆของฝ่ายบุคคล ประกอบไปด้วย

  1. My Inbox แสดงข้อมูลที่เราต้องอนุมัติให้ลูกน้องครับ
  2. My Calendar ดูวันหยุดของบริษัท และวันลาบนปฏิทินครับ
  3. My Leave จัดการข้อมูลการลาของเรา
  4. My Ot จัดการข้อมูลโอทีของเรา
  5. My Worktime Sheet จัดการข้อมูลตารางงานของเรา
  6. My Quota สรุปโควต้าการลาที่เหลืออยู่ครับเมนูด้านล่างมี 3 ปุ่ม ปุ่มแรกใช้กลับมาหน้าหลักนี้ครับ ปุ่มที่สองใช้สำหรับดู

ข้อมูลพื้นฐานของเรา และปุ่มสุดท้ายออกจากแอพกลับไปหน้า Login ครับ

เมนูหลัก แอพส์ โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์

มาต่อกันครับผมขอเริ่มที่ My Leave ก่อน เมื่อเราเข้ามาจะพบข้อมูลการลาของ เราเองครับแสดงประเภทการลา วันที่ลา และจำนวนวันที่ลาครับ เราสามารถ เข้าไปดูรายละเอียดด้วยการแตะที่ข้อมูลครับ

รีวิว แอพส์ โปรแกรม มือถือ ไอโฟน โปรแกรมเงินเดือน

หากเราต้องการลาครับให้แตะที่ปุ่ม Create Leave จะเข้าสู่หน้าจอสร้างใบลา

ในการสร้างใบลาก็ไม่ยากครับ เพียงแค่เลือกประเภทการลา และเลือกรูป แบบว่าเป็นเต็มวันหรือครึ่งวัน จากนั้นเลือกวันและเวลาที่ต้องการลาครับ เมื่อเรา กดส่งข้อมูลแล้วจะมีการแจ้งเตือนทางอีเมล์ไปยังผู้อนุมัติใบลาของเราด้วยครับ

รีวิว แอพส์ โปรแกรม มือถือ ไอโฟน โปรแกรมเงินเดือน ออนไลน์ คลาวด์

ในส่วนต่อมาคือ My OT และ My Worktime Sheet ซึ่งผมจะไม่ได้ลงลึกมาก เนื่องจากคล้ายกับ My Leave นะครับ ต่างกันในตอนกดสร้างครับโดยราย ละเอียดที่ต้องการจะน้อยกว่าครับและระบุลงไปถึงเวลาด้วย

รีวิว แอพส์ โปรแกรม มือถือ ไอโฟน โปรแกรมเงินเดือน ออนไลน์ คลาวด์ รีวิว แอพส์ โปรแกรม มือถือ ไอโฟน โปรแกรมเงินเดือน ออนไลน์ คลาวด์

 

ขอย้อนกลับมาตรง My Inbox ครับ โดยเข้าจากหน้าหลักได้เลยครับ ในหน้าจอนี้ จะแสดงข้อมูลการขออนุญาติลา/โอที/ตารางงานของลูกน้องเราที่รอการอนุมัติ ครับ วิธีการเข้าไปอนุมัตินั้น ให้แตะที่แถวของข้อมูลได้เลยครับ เมื่อเราอนุมัติแล้ว จะมีอีเมล์แจ้งเตือนไปที่ลูกน้องของเราด้วยครับ

รีวิว แอพ ไอโฟน โปรแกรมเงินเดือน ออนไลน์

ในส่วนที่เหลือเป็นการเรียกดูข้อมูลครับ
• My Calendar ใช้ในการดูวันหยุด และวันลาของเราบนปฏิทินครับ
• My Quota ใช้ในการดูสรุปข้อมูล โควต้าวันลาของเรา แยกตามประเภทครับ

รีวิวแอพพลิเคชั่น โปรแกรมเงินเดือน เพย์โรล ออนไลน์ อัตโนมัติ รีวิวโปรแกรมเงินเดือน เพย์โรล ออนไลน์ โมบาย มือถือ แอปเปิ้ล ไอโฟน แอนดรอยด์

ด้วยการใช้งานที่ง่าย และไม่ซับซ้อน แอพนี้จะสามารถช่วยให้ท่านจัดการ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายบุคคลได้สะดวก รวดเร็ว ถูกต้องได้จากทุกที่เลยครับ ขอจบการ รีวิวโปรแกรมเงินเดือน และ แนะนำการใช้งานแอพไว้เท่านี้ครับ

การขอโอที ระบบโปรแกรมเงินเดือน EZY-HR นั้นมีความสามารถจัดการให้เป็นแบบวันหยุดแทนการจ่ายเงินได้ หรือที่เรียกว่าวันหยุดติดดาว โดยทำตามขั้นตอนได้ดังต่อไปนี้

เลือก OT & TIMESHEET>OT Summary> Create CTO Request

Screen Shot 2558-09-19 at 3.20.47 PM

กรอกรายละเอียดการทำโอที โดยจะต้องเลือก CTO Rate ว่าจะให้กี่เปอร์เซนต์ จากนั้นระบบจะคำนวณออกมาเป็นจำนวนนาที ที่พนักงานคนนั้นจะได้รับ และเลือกผู้ทำการอนุมัติโอที

Screen Shot 2558-09-19 at 3.22.43 PM

สถานะจะการขอโอทีจะเป็น OPEN และมีอีเมล์แจ้งไปยังผู้อนุมัติ เพื่อให้เข้ามาทำการอนุมัติโอที

Screen Shot 2558-09-19 at 3.23.11 PM  Screen Shot 2558-09-19 at 3.23.26 PM

เมื่ออนุมัติแล้วพนักงานจะได้ COMPENSATION เพิ่มเข้าไปในระบบทันที

Screen Shot 2558-09-19 at 3.28.41 PM

พนักงานสามารถขอลาหยุด โดยใช้วันลาจาก COMPENSATION โดยเลือก ELEAVE>All Leaves>Create Leave Request

Screen Shot 2558-09-19 at 3.24.35 PM

กรอกข้อมูลใบลา เลือก Leave Type เป็น COMPENSATION โดยสามารถเลือก Type ได้ว่า จะลาทั้งวัน หรือลาเป็นจำนวนชั่วโมงได้ และเลือกผู้ทำการอนุมัติใบลา

Screen Shot 2558-09-19 at 3.30.39 PM

*** ในกรณีที่ขอลาหยุดมากกว่าโควต้า (Remaining Leave) ระบบจะทำการแจ้งเตือนไม่สามารถสร้างใบลาได้

Screen Shot 2558-09-19 at 3.25.45 PM Screen Shot 2558-09-19 at 3.25.31 PM

เมื่อพนักงานกรอกข้อมูลใบลาหยุดเรียบร้อยแล้ว และมีอีเมล์แจ้งไปยังผู้อนุมัติ เพื่อให้เข้ามาทำการอนุมัติใบลา

Screen Shot 2558-09-19 at 3.33.31 PM

เมื่อใบลาได้รับการอนุมัติแล้ว COMPENSATION ของพนักงานจะปรับลดลงทันที

Screen Shot 2558-09-19 at 3.34.16 PM

ตารางกะ กับการคำนวณเงินเดือนจากเวลาเข้างาน

การตั้งค่าเพื่อเริ่มต้นการใช้งานไซต์งาน และตารางกะ Roster Management

ในการเริ่มต้นใช้งานฟีเจอร์ตารางกะของ EZY-HR นั้น จะต้องมีการตั้งค่าเริ่มต้นของแต่ละไซต์งาน และตารางกะที่จะนำมาใช้กับพนักงานที่ทำงานในระบบนั้นๆ โดยที่ไซต์งานนั้น สามารถกำหนดให้มีหลายไซต์งานได้ เพื่อที่จะได้สามารถติดตามและจัดการการคำนวณเวลาทำงานในแบบหลายๆไซต์งานได้

การกำหนดตารางการทำงานให้กับพนักงาน

หลังจากที่เราได้มีการกำนหนดค่าเริ่มต้นไซต์งาน และตารางกะแล้ว เราจะต้องมีการใส่ค่าเวลาการทำงานในแต่ละกะของพนักงานในระบบของโปรแกรมเงินเดือน EZY-HR โดยการใส่เวลาการทำงานของเวลาการทำงานแต่ละประเภทจะมีวิธีการที่แตกต่างกัน สามารถดูรายละเอียดได้ในส่วนของ “การกำหนดตารางการทำงานให้กับพนักงาน”

การคำนวณเวลาการทำงานของพนักงาน

เมื่อเราได้กำหนดเวลาการทำงานของพนักงานให้ครบถ้วนแล้ว การเริ่มต้นคำนวณเวลาการทำงานของพนักงานจะสามารถทำได้ทั้งแบบแมนวล หลังจากที่ได้ทำการอัพโหลดไฟล์บันทึกเวลาการสแกนนิ้วเข้าระบบแล้ว หรือสามารถคำนวณได้แบบอัตโนมัติแบบเรียลไทม์* (ในกรณีที่ใช้งานระบบ Real Time Finger Scan เท่านั้น)

การตั้งค่าและใช้งานอื่นๆ

รวบรวมวิธีการทำงาน และเทคนิคในการใช้งานที่ไม่ได้อยู่ในเนื้อหาด้านต้น Link

 

การตั้งค่าเพื่อเริ่มต้นการใช้งานไซต์งาน

การตั้งค่าเริ่มต้นสำหรับไซต์งาน

ล้อกอินเข้าไปในระบบด้วย User ที่เป็น Admin และไปที่เมนูด้านซ้าย OT & TIMESHEET -> Shift Management เพื่อเข้าไปสู่การตั้งแค่เริ่มต้นไซต์งาน

 

โปรแกรมเงินเดือน EZY-HR ตารางกะ

 

*** ระบบจะอนุญาตให้ผู้ใช้งานที่เป็น Admin เท่านั้น ที่สามารถเข้ามาจัดการข้อมูลไซต์งานและกะการทำงานได้

 

หลังจากนั้นจะเข้าสู่หน้าจอการตั้งค่ากะเวลาการทำงานและไซต์งานเบื้องต้น เราสามารถที่จะเพิ่มไซต์งานได้โดยการกดที่ปุ่ม Shift Management เพื่อเข้าสู่หน้าจอการจัดการข้อมูลไซต์งานอีกครั้งหนึ่ง

โปรแกรมเงินเดือน EZY-HR ตารางกะ

ในหน้าจอแสดงข้อมูลของไซต์งาน จะแสดงถึงไซต์งานทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบแล้ว

เมื่อเข้าสู่หน้าจอการจัดการไซต์งานแล้ว เราสามารถที่จะเพิ่มไซต์งานเข้าไปได้ โดยการกดที่ปุ่ม New Site และกรอกข้อมูลที่จำเป็นเข้าไปเพื่อทำการสร้างไซต์งาน โดยที่แต่ละไซต์งานจะสามารถมีกะการทำงานได้หลายกะ

เมื่อกรอกข้อมูล “Name” หรือชื่อของกะการทำงาน และ “Remarks” ซึ่งเป็นข้อความหมายเหตุของไซต์งานนี้แล้ว ให้กดที่ปุ่ม Submit เพื่อทำการบันทึกข้อมูล โดยที่ระบบจะมีข้อความขึ้นเพื่อบอกว่าบันทึกข้อมูลไซต์การทำงานเรียบร้อยแล้ว และกลับที่หน้าแรก
หลังจากที่เราได้ทำการสร้างข้อมูลไซต์งานได้ครบหมดเรียบร้อยแล้ว ให้กลับไปที่หน้าจอการสร้างข้อมูลตารางกะการทำงานอีกครั้งหนึ่ง โดยไปที่เมนูทางด้านซ้าย OT & TIMESHEET ->  Shift Management

และกดที่ปุ่ม New Shift เพื่อทำการเริ่มต้นสร้างข้อมูลตารางกะการทำงาน
*** หมายเหตุ ต้องสร้างข้อมูลไซต์งานก่อนที่จะสร้างข้อมูลตารางกะการทำงาน

โปรแกรมเงินเดือน EZY-HR ตารางกะ

ใส่ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับตารางกะลงไปให้ครบถ้วน

Name ชื่อที่ใช้เพื่อระบุ กะการทำงานนี้
Start เวลาเริ่มต้นการทำงานของกะการทำงานนี้
End เวลาที่สิ้นสุดการทำงานของกะการทำงานนี้
Site ไซต์งาน (ที่เราได้สร้างไว้ก่อนแล้ว)
Remarks ข้อมูลเพิ่มเติมที่เอาไว้เพื่ออธิบายกะการทำงานนี้

โปรแกรมเงินเดือน EZY-HR ตารางกะ

หลังจากนั้นให้กด Submit เพื่อทำการบันทึกข้อมูลเข้าไปในระบบ โดยที่เราสามารถที่จะแก้ไขหรือลบได้โดยการกดปุ่มดินสอเพื่อทำการแก้ไข หรือถังขยะเพื่อทำการลบทางด้านขวาของไซต์งานนั้นๆ
การกำหนดตารางการทำงานให้กับพนักงาน

 

การกำหนดกะการทำงานให้กับพนักงานในแต่ละรูปแบบ

เราสามารถเข้าไปที่หน้าจอเพื่อทำการกำหนดตารางการทำงานให้กับพนักงานได้โดยการไปที่เมนูทางด้านซ้าย OT & TIMESHEET -> Assign Shift
ระบบจะแสดงหน้าจอทำการตั้งตารางกะการทำงานของพนักงาน โดยจะเริ่มต้นที่การตั้งกะการทำงานแบบรายสัปดาห์เป็นค่าเริ่มต้น แต่เราสามารถที่จะอัพโหลดข้อมูลกะการทำงานแบบรายวันเข้าไปได้ที่หน้าจอนี้เช่นเดียวกัน
โดยเราสามารถที่จะเปลี่ยนมุมมองการทำงานได้โดยการไปที่ View Options ทางด้านขวา
การกำหนดกะการทำงานแบบรายสัปดาห์
ในการกำหนดตารางกะการทำงานแบบรายสัปดาห์นั้น เราเพียงแต่ระบุวันในแต่ละสัปดาห์ของพนักงานแต่ละคนว่า ทำการกะอะไร ในกรณีนี้จะเป็นตารางกะที่เหมือนกันในแต่ละสัปดาห์

เริ่มต้นโดยการกดที่ปุ่ม New Shift Day of Week

ใส่ข้อมูลทั้งหมดลงไป
Shift คือกะการทำงานทีต้องการจะมอบหมายให้พนักงานทำในวันนั้นๆ
Fullstaff พนักงานที่เราต้องการจะมอบหมายให้ใช้ตารางกะ
Dow วันของสัปดาห์ที่จะให้พนักงานใช้ตารางกะนั้นๆ (จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์)
Remarks หมายเหตุเพิ่มเติม

หลังจากนั้นให้กดที่ปุ่ม Submit เพื่อทำการบันทึกข้อมูลของ ตารางกะ โดยระบบจะมีข้อความแจ้งขึ้นมาว่า ตารางกะการทำงานของพนักงานคนนั้นได้มีการบันทึกแล้ว และแสดงข้อมูลตารางกะการทำงานทั้งหมดขึ้นมา

หมายเหตุ เราสามารถที่จะเปลี่ยนมุมมองการดูข้อมูลได้ 3 แบบ คือ
Record View ซึ่งจะแสดงเป็นรายการทีละบรรทัด
Calendar View จะแสดงเป็นปฎิทิน
และ Table View จะแสดงเป็นรายวัน (กำหนดวันเริ่มต้น-สิ้นสุด)

การแสดงข้อมูลแบบ Calendar View จะต้องทำการเลือกชื่อพนักงานขึ้นมาในดรอปดาวน์ลิสต์

หน้าจอการดูข้อมูลแบบ Table View
จะต้องทำการใส่ข้อมูลวันที่เร่ิมต้น Startdate และวันที่สิ้นสุด Enddate เข้าไปและกดที่ปุ่ม Submit แล้วระบบจะทำการแสดงข้อมูลตารางกะการทำงานของพนักงานที่มีการกำหนดเข้าไปในระบบแล้ว

 

การคำนวณเวลาการทำงานของพนักงาน

ระบบการคำนวณเวลาของ EZY-HR
จะมีการคำนวณ เวลาการเข้างาน ของพนักงานโดยอาศัย ข้อมูลตามลำดับ ดังต่อไปนี้

โดยระบบจะเอา ข้อมูลเวลาการทำงาน ของข้อที่สูงที่สุดมาใช้ โดยเริ่มต้นจาก 1. ข้อมูลที่ตั้งไว้เริ่มต้นของระบบ

 

การตั้งค่าและคำถามอื่นๆ

การสนับสนุนการทำงานเพิ่มเติม
คำถามเพิ่มเติม จะมีการอัพเดตใน เว้บไซต์  EZY-HR อย่างสม่ำเสมอ โดยสามารถที่จะเข้าไปดูได้ที่ https://www.ezy-hr.com/blog