







เพราะเหตุใด EZY-HR Application จึงต้องมีโหมดเช็คอินผ่านมือถือให้เลือกใช้งานได้อย่างหลากหลาย⁉⁉
.
.
เหตุผลที่ EZY-HR Application มีโหมดการเช็คอินอย่างหลากหลายนั้น เพื่อต้องการตอบสนองความต้องการในการใช้งานของลูกค้าได้อย่างครอบคลุมโดยคำนึงถึงรูปแบบธุรกิจเป็นหลัก ?✨
.
เช่นพนักงาน PC ตามห้างหรือพนักงานออกบูท ทางแอดมินสามารถกำหนดให้พนักงานทำการเช็คอินพร้อมถ่ายรูปตนเองคู่บูทได้ หรือหากเป็นเซลล์ที่ต้องออกไปพบลูกค้าบ่อยๆไม่สะดวกสแกนนิ้วผ่านเครื่องฟิงเกอร์สแกนก็สามารถเช็คอินผ่านมือถือได้ เป็นต้น
.
.
Q: ในกรณีที่ต้องการตั้งค่าการเช็คอิน – เอ้าท์ ผ่าน EZY-HR Application สามารถตั้งค่าการใช้งานของพนักงานแต่ละท่านให้ต่างกันได้หรือไม่ เช่นมีพนักงานบางกลุ่มที่ต้องการ Record เวลาเข้างานเท่านั้นไม่สนใจรูปและโลเคชั่นเป็นต้น⁉
A: การใช้งาน EZY-HR Application สามารถเลือกโหมดในการเช็คอินเป็นรายบุคคลได้ค่ะ โดยมีโหมดการใช้งานให้เลือกดังต่อไปนี้
✅ No: ปิดการใช้งานเช็คอินจากหน้า mobile application
✅ NoFakeGPSCheck: ไม่อนุญาตให้มือถือติดตั้งโปรแกรมโกง GPS (จะมีแค่มือถือรุ่น Note 4 เท่านั้น)
✅ AllowNoGps: สามารถเช็คอินได้ แม้มือถือจะจับสัญญาณ GPS ไม่เจอ
✅ SelfieForceCheck: จะต้องถ่ายรูปและจับสัญญาณ GPS ให้เจอถึงจะสามารถเช็คอินได้
✅ BeaconForceCheck: จะต้องจับสัญญาณบีคอนให้เจอถึงจะสามารถกด เช็คอินได้
✅ BeaconAndSelfieForceCheck: จะต้องจับสัญญาณบีคอนให้เจอพร้อมถ่ายรูปจึงจะสามารถเช็คอินได้
สามารถดูวิธีการตั้งค่าได้ที่ https://bit.ly/323w1hC
ทางเลือกใหม่ของระบบบันทึกเวลาทำงานสำหรับองค์กรที่ทันสมัย
สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม www.ezy-hr.com
บีค่อน (Beacon) คืออะไร
เมื่อก่อนตอนที่ผู้เขียนยังทำบันทึกเวลา (Time Attendance) อยู่นั้น เดิมจะติดตั้งเครื่องสแกนนิ้ว สแกนหน้า บัตรตอก พนักงานบันทึกลายนิ้วมือ และดึงรายงานมาสรุป เพื่อจัดทำเงินเดือน แต่ปัญหาคือ หากต้องไปติดตั้งทุกสาขา ก็จะมีค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกัน จึงหาเทคโนโลยีใหม่มาช่วย
บีค่อน (Beacon) คอยตรวจจับส่งสัญญาณไปที่มือถือของพนักงาน เพื่อเช็คเวลาเข้า – ออกบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน ความสามารถเด่นของบีคอนคือ การให้ข้อมูลตำแหน่งระยะใกล้ที่แม่นยำ เป็นอุปกรณ์ตัวเล็กๆ มีหลายสี ลักษณะคล้ายแมลงเต่าทอง ติดตั้งไม่ยุ่งยาก มีความทนทาน ที่สำคัญราคากันเอง
ขั้นตอนการทำงาน
บีค่อน กับธุรกิจบริการ
– ทำหน้าที่เป็นพนักงานต้อนรับ เช่น ถ้าลูกค้าเดินไปบริเวณที่ติดบีค่อน ลูกค้าจะได้รับข้อความ “ยินดีต้อนรับ” และข้อมูลร้าน เช่น โปรโมชั่น เมนูเด่นประจำสัปดาห์ เป็นต้น
– ใช้เป็นระบบนำทาง พื้นที่อาคาร พื้นที่ในร่ม พื้นที่จำกัด ซึ่ง GPS ทำได้แม่นยำไม่มากพอ
– ทำระบบบัตรคิว พวกที่ต้องต้อนรับลูกค้าจำนวนมาก
– ทำเป็นตัวปลดล๊อกจักรยานด้วยแอปมือถือ เป็นตัวติดตามไปเก็บจักรยาน
– เอาไว้ใช้ติดตามสัตว์เลี้ยง หรือสิ่งของสำคัญ เช่น พวงกุญแจ เป็นต้น
หากเพื่อนๆ สนใจ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมลองสอบถามเจ้าหน้าที่ของ EZY-HR ได้นะคะ ยินดีให้คำปรึกษาค่ะ
เริ่มต้นก่อนซื้อโปรแกรมเงินเดือน ควรลิสปัญหาของการทำเงินเดือนออกมาก่อน เช่น
– ช่วงทำเงินเดือนทีไร กลับบ้านดึกทุกวัน จะดีแค่ไหน ถ้าเกิดว่าระบบที่เราใช้ ทำให้เรา work from home ได้
– กว่าจะรวบรวมโอทีจากแต่ละสาขา เล่นเอาเหนื่อย แบบนี้ต้องคลาวด์นะ
– การเขียนลงบันทึกมีโอกาสเอื้อประโยชน์กันได้ ระบบที่ดีต้องมีฟีเจอร์ให้ระบุงานที่ทำได้นะ
– เอางานกลับไปทำที่บ้านก็ไม่ได้ เพราะข้อมูลอยู่ในเซิร์ฟเวอร์
ต่างๆ เหล่านี้จะให้คำตอบคุณได้ว่าคุณต้องการโปรแกรมเงินเดือนแบบไหนมาช่วยงาน
โดยทั่วไป ผู้ที่ตัดสินใจซื้อโปรแกรม คือ เจ้าของกิจการ หรือผู้บริหาร เมื่อนำมาให้พนักงานใช้งานแล้วเกิดปัญหาใช้งานยากพนักงานอาจมีการต่อต้าน แต่อันที่จริงแล้วเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมักจะมีการต่อต้านเสมอ ดังนั้น การเลือกซื้อโปรแกรมควรให้ payroll มีส่วนร่วมในการคัดเลือกจะช่วยลดปัญหา
งบประมาณที่ตั้งจากฝ่ายบริหารเป็นปัจจัยหลักที่ต้องนำมาใช้ในการตัดสินใจ แต่หากว่าเราได้โปรแกรมที่เหมาะสมนำมาช่วยงานได้ กรณีราคาเกินมาบ้างเราก็ยังมีเหตุผลในการนำเสนอที่ชัดเจน เพราะเราได้วิเคราะห์ความต้องการตามข้อ 1 แล้ว ซึ่งเดี๋ยวนี้ระบบคลาวด์ดีๆ จะทำให้งานของเราง่ายขึ้นเยอะ เพราะเซิฟเวอร์ก็ไม่ต้องซื้อ ไอทีก็ไม่ต้องจ้าง
การบริการหลังการขายเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเมื่อเราติดปัญหาควรจะมีคำแนะนำ พร้อมช่วยแก้ปัญหาโดยทันทีทันใด สังเกตุจาก…
– โทร.ติดต่อง่ายไหม มีผู้รับสายเป็นอย่างไร นำเสียงยินดีให้บริการหรือไม่
– การเข้ามานำเสนอการใช้งานโปรแกรม (Demo) เป็นอย่างไร ผู้ขายสื่อสารชัดเจน เข้าใจง่าย ยิ้มแย้มแจ่มใส น่าพูดคุย เป็นต้น
– การตอบเมล์รวดเร็วหรือเปล่า
– จำนวน Support ในบริษัทมีเพียงพอ
– เครื่องมือในการช่วย Support เช่น การทำคู่มืออ่านง่าย มีคู่มือออน์ไลน์ มีวีดีโอสื่อการสอน มี Line Support ฯลฯ
สำรวจข้อจำกัด เงื่อนไข สิ่งแวดล้อมภายในบริษัท ยกตัวอย่างเช่น…. บริษัทมีโปรแกรมทะเบียนพนักงานอยู่แล้ว ต้องการแค่โปรแกรมคำนวณเงินเดือน ต้องโอนย้ายข้อมูลจากโปรแกรมทะเบียนพนักงานไปเข้าโปรแกรมเงินเดือนตัวใหม่ ดังนั้นโปรแกรมจึงควรยืดหยุ่นรองรับการโอนย้าย (Import File)
ควรตั้งคำถามให้มากว่า ทำอันนี้ได้ไหม ทำอย่างนี้ได้ไหม เพื่อทราบว่าโปรแกรมหยืดหยุ่นรองรับการใช้งานของเรา ***ที่สำคัญควรสอบถามด้วยว่ามีค่าบริการเพิ่มหรือเปล่า จะได้คำนวณงบประมาณไม่ผิดพลาด***
รูปแบบ สบายตา โปรแกรมใช้งานง่าย ตอบสนองความต้องการ มีให้เข้าไปทดลองใช้ ที่สำคัญการออกรายงานเพื่อนำส่งส่วนราชการตรงกับแบบฟอร์มหรือเปล่า อีกด้านการออกรายงานแสดงผลตรงกับความต้องการผู้บริหารหรือไม่
– Background ของบริษัทฯ จัดตั้งมากี่ปีแล้ว เคยมีผู้ใช้บริการกับโปรแกรมเมอร์ที่เป็นฟรีแลนซ์ แต่พอหลังจากโปรแกรมเสร็จก็ไม่สามาถติดต่อได้อีกเลย….
– บริษัทคู่ค้าน่าเชื่อถือหรือไม่ เช่น เช่าพื้นที่เก็บข้อมูลจากที่ใด (Cloud Server) ระบบปลอดภัยหรือไม่ อุปกรณ์เครื่องสแกนนิ้ว (Finger Scan) จากยี่ห้อใด รับประกันกี่ปี ฯลฯ
หาข้อมูล หรือสอบถามลูกค้าที่ใช้บริการ ยิ่งถ้าเป็นเสียงจากผู้ใช้บริการช่วยบอกเราว่าโปรแกรมใช้งานได้ดี ก็สามารถเพิ่มความมั่นใจให้เรามาขึ้น
– โปรแกรมมีการปรับปรุงตามคำแนะนำของลูกค้า เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน
– พัฒนา Update ให้ทันตามความต้องการ และทันยุคสมัย
– มีการเตรียมตัว รองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (Disruption)
หากคิดวิเคราะห์ตามนี้แล้วก็คงไม่มีคำว่า “เลือกผิดชีวิตเปลี่ยน” หรอกนะคะ ถ้าเพื่อนๆ ต้องการคำปรึกษาก็สามารถเข้ามาสอบถามกันได้ เรายินดีให้คำปรึกษาค่ะ