โปรแกรม‌ ‌EZY-HR‌ ‌แนะนำ‌ ‌Add‌ ‌On‌ ‌ ‌
“‌Shift‌ ‌Request‌”‌‌ ‌‌พนักงาน‌ขอ‌สลับ‌กะ‌การ‌ทำงาน‌ของ‌ตัว‌เอง‌ใน‌วัน‌นั้นๆ‌ ‌

เรา‌ช่วย‌ทำงาน‌ใน‌ด้าน‌ใด‌?

พนักงาน‌สามารถ‌ส่ง‌คำขอ‌ ‌ความ‌ต้องการ‌จะ‌เปลี่ยน‌กะ‌การ‌ทำงาน‌ของ‌ตนเอง ‌ใน‌ช่วง‌เวลา‌ของ‌วัน‌นั้น‌ ‌
มายัง‌หัวหน้า‌ ‌โดย‌ผ่าน‌ระบบ‌หรือApplication‌ ‌ได้‌ ‌เมื่อ‌พนักงาน‌ส่ง‌คำขอ‌ ‌ระบบ‌จะ‌ทำ‌การ‌เเจ้ง‌เตือน‌
มายัง‌หัวหน้า‌ให้‌รับ‌ทราบ‌ ‌โดย‌สามารถ‌กด‌อนุมัติ‌ผ่าน‌ระบบ‌หรือAppได้‌ทันที‌ ‌เมื่อ‌หัวหน้า‌ทำการ‌อนุมัติ‌
ระบบ‌จะ‌ทำการ‌ปรับ‌เปลี่ยน‌ข้อมูล‌ภาพ‌รวม‌ ตาราง‌การ‌ทำงาน‌ของ‌พนักงาน‌ให้‌อัตโนมัติ‌ ‌

เเก้‌ไข‌ปัญหา‌อะไร‌ได้‌บ้าง‌ ‌
● พนักงาน‌ขอ‌เปลี่ยน‌กะ‌งาน‌ได้‌ด้วย‌ตัว‌เอง‌ ‌
● HR‌ ‌หรือ‌หัวหน้า‌ทำงาน‌ได้‌สะดวก‌ ‌รวดเร็ว‌ ‌เเละ‌ถูก‌ต้อง‌เเม่น‌ยำ‌มาก‌ขึ้น‌ ‌
● พนักงาน‌ไม่‌จำเป็น‌ต้อง‌เดิน‌ไป‌หา‌หัวหน้า‌งาน‌ ‌

“‌Shift‌ ‌Swap‌ ‌Request‌”‌‌ ‌‌พนักงาน‌ขอ‌สลับ‌กะ‌การ‌ทำงาน‌ ใน‌วัน‌ทำงาน‌วัน‌อื่น‌หรือ‌วัน‌หยุด‌ ‌

เรา‌ช่วย‌ทำงาน‌ใน‌ด้าน‌ใด‌ ‌

เมื่อ‌พนักงาน‌ส่ง‌คำขอ‌ ‌Shift‌ ‌Swap‌ ‌Request‌ ‌คือ‌การ‌ขอ‌สลับ‌กะ‌การ‌ทำงาน‌ของ‌ตนเอง‌ ‌โดย‌เรา‌อยาก‌
มา‌ทำงาน‌ใน‌วัน‌หยุด ‌เเท‌นวัน‌ที่‌เรา‌ต้อง‌มา‌ทำงาน‌ ‌ผ่าน Application‌ ‌หรือ‌ ‌ระบบ‌ ‌มายัง‌หัวหน้า‌ ‌
ระบบ‌จะ‌ทำ‌การ‌เเจ้ง‌เตือน‌มายัง‌หัวหน้า‌ให้‌รับ‌ทราบ‌ ‌โดย‌สามารถ‌กด‌อนุมัติ‌ผ่าน‌ระบบ‌หรือ App ได้‌ทันที‌ ‌
เมื่อ‌หัวหน้า‌ทำการ‌อนุมัติ ‌ระบบ‌จะ‌ทำการ‌ปรับ‌เปลี่ยน‌ข้อมูล‌ภาพ‌รวม‌ตาราง‌การ‌ทำงาน‌ของ‌พนักงาน‌ให้‌
อัตโนมัติ‌ ‌

‌เเก้‌ไข‌ปัญหา‌อะไร‌ได้‌บ้าง‌ ‌
● พนักงาน‌ขอ‌เปลี่ยน‌กะ‌งาน‌ได้‌ด้วย‌ตัว‌เอง‌ ‌
● HR‌ ‌หรือ‌หัวหน้า‌ทำงาน‌ได้‌สะดวก‌ ‌รวดเร็ว‌ ‌เเละ‌ถูก‌ต้อง‌เเม่น‌ยำ‌มาก‌ขึ้น‌ ‌
● พนักงาน‌ไม่‌จำเป็น‌ต้อง‌เดิน‌ไป‌หา‌หัวหน้า‌งาน‌ ‌


“‌Shift‌ ‌Swap‌ ‌Staff‌ ‌Request‌”‌‌ ‌‌พนักงาน‌ขอ‌สลับ‌กะ‌การ‌ทำงาน‌ใน‌วัน‌ทำงาน‌หรือ‌วัน‌หยุด‌กับ‌เพื่อน‌ร่วม‌งาน‌”‌ ‌
เรา‌ช่วย‌ทำงาน‌ใน‌ด้าน‌ใด‌ ‌

เมื่อ‌พนักงาน‌ส่ง‌คำขอ‌มายัง‌หัวหน้า‌งาน‌ผ่าน‌ระบบ ‌โดย‌พนักงาน‌ต้องการ‌ที่‌จะ‌สลับ‌กะ‌การ‌ทำงาน‌กับ‌เพื่อน‌ร่วม‌งาน‌ ระบบ‌จะ‌ประเมิน‌คำ‌ขอเเละ‌เปลี่ยน‌เเป‌ลง‌ข้อมูล‌ได้‌อย่าง‌รวดเร็ว‌และ‌ทำการ‌เปลี่ยน‌ ‌
เเป‌ลง‌ข้อมูล‌ใน‌ตาราง‌งาน‌ให้‌ทัน‌ ‌หัว‌หน้า‌งาน‌เเละHR สามารถ‌ทราบ‌ตาราง‌การ‌ทำงาน‌ของ‌พนัก‌งาน‌ได้‌
เเบ‌บทัน‌ที‌ ‌ใน‌การ‌ตรวจ‌สอบ‌เเละ‌หา‌จำนวน‌พนักงาน ‌ให้‌เพียง‌พอ‌ต่อ‌การ‌ทำ‌งาน‌เเละ‌บริการ‌ ‌


เเก้‌ไข‌ปัญหา‌อะไร‌ได้‌บ้าง‌ ‌
● พนักงาน‌สามารถ‌สร้าง‌คำ‌การ‌สลับ‌กะ‌งาน‌/‌วัน‌หยุด‌กับ‌เพื่อนร่วม‌งาน‌ได้‌เอง‌ ‌เพียง‌รอ‌คำ‌อนุมัติ‌จาก‌หัวหน้า‌งาน‌ ‌
● สะดวก‌ต่อ‌การ‌จัดการ‌งาน‌ระบบ‌ ‌โดย‌จะ‌ไม่‌เกิด‌ความ‌ผิด‌พลาด‌ของ‌ตาราง‌การ‌ทำ‌งงา‌นที่‌ทับ‌
ซ้อน‌กัน‌ ‌
● HRเข้า‌ถึง‌ข้อมูล‌ตาราง‌การ‌ทำงาน‌ที่‌ถูก‌ต้อง‌ได้‌ตลอด‌เวลา‌ ‌

ก่อนวางแผนอัตรากำลัง……มีการประเมินองค์ประกอบเหล่านี้แล้วหรือยัง?

วางแผนกำลังคน

การประเมินอัตรากำลังซึ่งต้องพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่

  • พิจารณาความสำคัญของงาน
  • พิจารณาความเหมาะสมของโครงสร้างองค์กร
  • พิจารณาความเหมาะสมของทรัพยากร
  • พิจารณาความเหมาะสมของการจัดระดับของตำแหน่ง

 

เมื่อพิจารณาองค์ประกอบเหล่านี้แล้วคงไม่เกินเครื่องมือเหล่านี้

  1. โครงสร้างองค์กรที่ชัดเจน (Organization chart)

วาดภาพหรือวางผังองค์ให้ชัดเจน ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าองค์กรต้องการกี่หน่วยงาน แต่ละหน่วยงานต้องการกำลังคนที่คน (อย่าลืมผนวกข้อมูลเป้าหมายธุรกิจด้วย) เมื่อได้โครงสร้างองค์กรแล้วควรนำมาสรุปเป็นตารางตัวเลขอัตรากำลังที่มีอยู่ลงในแบบฟอร์มจะช่วยให้ HR เห็นชัดเจนมากขึ้น

  1. รายละเอียดงาน (Job Description)

การกำหนดหน้าที่งาน หรือรายละเอียดงานเป็นข้อมูลประกอบทำให้ทราบว่าพนักงานแต่ละ ส่วนงานมีหน้าที่รับผิดชอบงานอะไร ส่วนไหน มีส่วนช่วยคำนวณค่างานว่าควรเพิ่ม ควรโอนย้ายคนไปช่วยส่วนไหน และสุดท้ายคือจำนวนคนที่มีอยู่เกินกว่างานที่มีหรือเปล่า

หากต้องรับเพิ่มก็จะช่วยให้ท่านรู้ว่ารับแล้วเค้าจะมาอยู่ส่วนไหน ทำอะไร มีหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง และควรเป็นพนักงานระดับหัวหน้า หรือระดับปฏิบัติการที่ท่านต้องการจริงๆ ซึ่ง JD จะเป็นต้นทางสำหรับการสรรหาที่จะได้คนที่มาทำงาน

  1. ระบบการประเมินผลงาน

การประเมินผลพนักงาน Performance Appraisals หรือ Evaluation (แล้วแต่องค์กรไหนจะเรียกอย่างไร) ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ก็มีมากมาย เช่น ประเมินแบบ MBO, PMS, KPI, BSC และระบบประเมินผลงานที่ปัจจุบันกำลังพูดถึง OKR

ไม่ว่าท่านจะใช้แบบประเมินอันไหน มันก็คือเครื่องมือที่ช่วยสร้างกรอบ ทิศทาง การชี้วัด เพื่อนำมาประเมินความเหมาะสมของทรัพยากรบุคคลที่ท่านมีอยู่ในองค์กร

 

ในครั้งหน้าผู้เขียนจะมาแนะนำเทคนิคการวิเคราะห์อัตรากำลัง พร้อมแนะนำวิธีนำไปปรับใช้จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนมี และหวังแบ่งปันเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย

 



Photo by JESHOOTS.com from Pexels

การจัดการกะ ตอนที่ 4

ทายกันถูกไหมครับ กับการจัดการแบบที่สามที่เหลืออยู่ ใช่แล้วครับ แบบสุดท้ายคือ การขอสลับกะกับพนักงานคนอื่นนั่นเอง (ปรบมือ)

35484244_2180191242267563_7103178735607611392_n

การสลับกะสองแบบแรกที่พูดถึง เป็นการขอสลับกับตัวเองทั้งสิ้นครับ ไม่ว่าจะเป็นการขอเปลี่ยนกะ หรือการขอสลับวันทำงานหรือวันหยุด แต่แบบที่สาม จะเป็นแบบขอสลับกะกับคนอื่น

สุดท้ายแล้ว หากเราไม่สามารถขอเปลี่ยนกะ หรือสลับกะการทำงานได้ เนื่องจากการวางจำนวนคนที่ต้องการในแต่ละกะไว้อย่างตายตัว การขอเปลี่ยนไปทำงานกะอื่น หรือการขอสลับวันหยุด อาจทำให้พนักงานในกะนั้นๆ ไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติงานได้ ทำให้ไม่สามารถขอเปลี่ยนได้ นี่จะเป็นวิธีสุดท้ายที่สามารถทำได้ครับ

ธุรกิจใดบ้างที่มีการขอในเรื่องแบบนี้ โรงงาน โรงแรม โรงพยาบาลอีกเช่นเคยครับ

โรงงานจะมีการกำหนดจำนวนพนักงานที่คุมเครื่องจักรหรือสายพานในกระบวนการผลิตไว้อย่างชัดเจน ซึ่งการลดลงของพนักงานที่เข้าทำงาน อาจส่งผลให้กระบวนการผลิตล่าช้าได้ หรือในกรณีโรงพยาบาลอาจทำให้จำนวนพยาบาลที่ดูแลคนไข้ไม่เพียงพอและดูแลไม่ทั่วถึงได้

การขอเปลี่ยนกะกับคนอื่น จึงเป็นทางออกที่ได้ผลสำหรับพนักงานที่ต้องลาไปทำธุระ ซึ่งจะทำให้ไม่เสียเวลางานเช่นกัน เพียงแต่พนักงานจะต้องไปหาคนที่จะแลกกะด้วยมาให้ได้เท่านั้นเอง จากนั้นก็เขียนใบคำร้องส่งมาที่หัวหน้างานหรือ HR เหมือนเดิมเพื่อขอนุมัติ

วิธีนี้พนักงานอาจต้องรอบคอบนิดหนึ่ง เนื่องจากกะที่มีการเปลี่ยนไป ถ้ายังอีกหลายวันหรือหลายสัปดาห์ สุดท้ายแล้วพนักงานอาจลืมได้ เมื่อใกล้ๆ เวลาอาจต้องคุยกันให้เรียบร้อยอีกครั้ง

ผมเคยเจอกรณีเพื่อนที่ทำงานในโรงพยาบาลจำกะผิด จนเพื่อนต้องโทรมาตามก็มีกว่าจะไปถึงโรงพยาบาลก็ใช้เวลาอีกเป็นชั่วโมง ยังดีว่า กะที่ลืมเป็นกะดึกและอยู่ในแผนกที่ไม่ใช่แผนกสำคัญมาก ทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อคนไข้โดยตรงครับ

การจัดการกะ ตอนที่ 2

ตามสัญญาครับ อีกครึ่งหนึ่งที่เหลือของการจัดการกะคือการแก้ไขมันนั่นเอง

หลังจากที่จัดกะเรียบร้อยแล้ว พนักงานมีการลา มีการขอเปลี่ยนกะเกิดขึ้นโดยเป็นการลากระทันหันไม่ได้แจ้งล่วงหน้า ทำให้ตารางกะเกิดอาการรวน เราจะทำอย่างไรล่ะ

แบบแรกที่เราจะคุยกันวันนี้คือ การขอเปลี่ยนกะ

โปรแกรมเงินเดือน EZY-HR การจัดการตารางกะ เปลี่ยนกะ

การขอเปลี่ยนกะคืออะไร

การขอเปลี่ยนกะคือการที่พนักงานต้องการขอเปลี่ยนกะการทำงานในวันนั้นเป็นเวลาอื่น เนื่องด้วยติดกิจธุระ

เช่น วันที่ 20 ผมติดธุระต้องไปติดต่อสำนักงานเขตในช่วงเช้า ซึ่งชนกับตารางกะ หากบริษัทมีระบบในการขอเปลี่ยนเวลาเริ่มงานได้ ก็อาจจะเขียนใบคำร้องส่งไปยัง HR หรือหัวหน้างานเพื่ออนุมัติการเปลี่ยนเวลาเข้างาน เพื่อไปทำธุระและกลับมาทำงานในตอนบ่าย

วิธีนี้พนักงานจะได้ทำธุระของตนได้โดยไม่กระทบกับการทำงานที่จะต้องเสียเวลางานไปตลอดครึ่งเช้า ซึ่งอาจทำให้ปริมาณงานที่ทำได้ในวันนั้นลดลง เพราะพนักงานยังคงทำงาน 8 ชั่งโมงคงเดิมนั่นเอง

และบริษัทก็ไม่ต้องสูญเสียปริมาณงานที่จะลดลงเนื่องจากพนักงานลา ทำให้ได้ผลงานเต็มเม็ดเต็มหน่วย

ข้อดีอีกอย่างของการยอมให้พนักงานขอแบบนี้ได้คือ พนักงานจะรู้สึกดีกับบริษัทที่ยอมรับฟังคำขอ และเห็นอกเห็นใจกับพนักงานที่ติดธุระจำเป็นจริงๆ ที่จะต้องขอเปลี่ยน

อย่างไรก็ตาม ก็ควรมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดในการอนุมัติการขอเปลี่ยนกะแบบนี้ เพราะถ้าอนุมัติกันง่ายๆ ทุกคน อาจะทำให้ติดเป็นนิสัย และเสียการปกครองในการทำงานได้ เพราะพนักงานอาจขอเปลี่ยนกันตามใจตนไปหมด

 

ตอนหน้าเราจะมาดูกันต่อครับ นอกจากการขอเปลี่ยนกะแล้ว ยังมีอะไรอีกบ้าง

 

 

ติดตามเราและร่วมแสดงความเห็นกันได้ได้อีกที่ครับ ที่เฟสบุ้คเพจ EZY-HR https://www.facebook.com/ezyhr/
#FB #โปรแกรมเงินเดือน

 

ถ้ากำลังมองหาโซลูชั่นบริหารงานบุคคลแบบทันสมัย ใช้งานง่าย ตอบโจทย์ ฟีเจอร์ครบๆ จบในที่เดียว ลองดูระบบ EZY-HR ได้ท่ี่นี่เลยครับ https://www.ezy-hr.com/

ในสายงาน HR มีงานหลายอย่างที่น่าปวดหัวนะครับ ทั้งยากในการจัดการและควบคุมให้เป็นไปตามทีต้องการ หนึ่งในงานนั้นที่เราปฏิเสธไม่ได้เลย คือการจัดกะหรือกำหนดเวลาทำงานให้กับพนักงานนั่นเอง

ใครว่าการจัดกะเป็นเรื่องง่าย ช่วยบอกด้วยครับ ผมจะไปขอเคล็ดลับสักหน่อย ^ ^ ซึ่งบอกได้เลยว่า ไม่ว่าจะพนักงาน 3 คนหรือ 1000 คน การจัดการก็ยากเหมือนๆ กัน เพียงแต่พนักงานยิ่งเยอะยิ่งซับซ้อนกว่า

ทำไม 3 คนถึงยากล่ะ ถ้าบริษัทคุณมี 2 กะ และพนักงานต้องหยุด 1 คนในทุกๆ วัน และคุณต้องจัดกะให้ลงตัว ให้พนักงานไม่รู้สึกได้เปรียบเสียเปรียบ ยิ่งถ้ามีค่าตอบแทนจากการเข้ากะบางอย่างแล้วล่ะก็ พนักงานจะประท้วงเอาง่ายๆ เลยเชียว

 

จัดการกะการทำงานของพนักงาน

 

กะจึงเป็นศิลปะอย่างหนึ่งในศาสตร์ของ HR ที่คุณจะต้องจัดให้พนักงานรู้สึกว่า คุณจัดอย่างยุติธรรม ไม่ลำเอียง ซึ่งกะจะมีการจัดอยู่ 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ การจัดกะแบบกำหนดกะตายตัว กับกะแบบสลับหมุนเวียนกันไป

#กะแบบตายตัว จะง่ายในการจัด เนื่องจากเราแค่ต้องเลือกว่าพนักงานคนนี้จะอยู่กะไหน โดยมีปัจจัยไม่กี่อย่างที่เข้ามาเป็นตัวควบคุม เช่น การเดินทาง ความปลอดภัย เช่น ผู้ชายจะให้อยู่กะดึก เป็นต้น

ส่วน #กะแบบสลับสับเปลี่ยน กันไปจะยากกว่ากันมาก เพราะคุณต้องคำนึงถึงสัดส่วนการเข้างานของพนักงาน ไม่ให้พนักงานรู้สึกว่าได้เปรียบเสียเปรียบกัน ทำไมได้แต่กะเช้า 6 โมง ส่วนอีกคนได้แต่ 10 โมงไม่ก็เที่ยง หรือทำไมได้แต่กะดึก รถก็หายากเดินทางก็ลำบาก ลูกก็เล็ก

ถ้าหัวหน้าแผนกเป็นคนจัดการกะด้วยแล้ว HR ก็จะสบายหน่อย เพราะมีคนปวดหัวแทน แต่ก็ต้องตามงานให้ส่งกะมาให้ตรวจสอบและเอาเข้าระบบด้วย แต่ถ้าต้องมานั่งทำเองทั้งหมด อาจต้องมีปิดห้องติดป้ายห้ามรบกวนเพื่อจัดตารางกะกันมั่งล่ะ (พอๆ กับช่วงทำเงินเดือนนั่นแหละ)

อย่างไรก็ตาม จากที่กล่าวมาทั้งหมด นี่เป็นเพียงความยากเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น พรุ่งนี้ผมจะมาพูดถึงครึ่งนึงที่เหลือให้ฟัง ว่าอะไรคือ 50% ที่เหลือ และเราจะหาทางรับมือกับมันได้อย่างไร ?

 

สนใจระบบโซลูชั่นจัดการพนักงานแบบครบๆ ลองกดดูรายละเอียดได้เลย https://www.ezy-hr.com