ก่อนวางแผนอัตรากำลัง……มีการประเมินองค์ประกอบเหล่านี้แล้วหรือยัง?

วางแผนกำลังคน

การประเมินอัตรากำลังซึ่งต้องพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่

  • พิจารณาความสำคัญของงาน
  • พิจารณาความเหมาะสมของโครงสร้างองค์กร
  • พิจารณาความเหมาะสมของทรัพยากร
  • พิจารณาความเหมาะสมของการจัดระดับของตำแหน่ง

 

เมื่อพิจารณาองค์ประกอบเหล่านี้แล้วคงไม่เกินเครื่องมือเหล่านี้

  1. โครงสร้างองค์กรที่ชัดเจน (Organization chart)

วาดภาพหรือวางผังองค์ให้ชัดเจน ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าองค์กรต้องการกี่หน่วยงาน แต่ละหน่วยงานต้องการกำลังคนที่คน (อย่าลืมผนวกข้อมูลเป้าหมายธุรกิจด้วย) เมื่อได้โครงสร้างองค์กรแล้วควรนำมาสรุปเป็นตารางตัวเลขอัตรากำลังที่มีอยู่ลงในแบบฟอร์มจะช่วยให้ HR เห็นชัดเจนมากขึ้น

  1. รายละเอียดงาน (Job Description)

การกำหนดหน้าที่งาน หรือรายละเอียดงานเป็นข้อมูลประกอบทำให้ทราบว่าพนักงานแต่ละ ส่วนงานมีหน้าที่รับผิดชอบงานอะไร ส่วนไหน มีส่วนช่วยคำนวณค่างานว่าควรเพิ่ม ควรโอนย้ายคนไปช่วยส่วนไหน และสุดท้ายคือจำนวนคนที่มีอยู่เกินกว่างานที่มีหรือเปล่า

หากต้องรับเพิ่มก็จะช่วยให้ท่านรู้ว่ารับแล้วเค้าจะมาอยู่ส่วนไหน ทำอะไร มีหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง และควรเป็นพนักงานระดับหัวหน้า หรือระดับปฏิบัติการที่ท่านต้องการจริงๆ ซึ่ง JD จะเป็นต้นทางสำหรับการสรรหาที่จะได้คนที่มาทำงาน

  1. ระบบการประเมินผลงาน

การประเมินผลพนักงาน Performance Appraisals หรือ Evaluation (แล้วแต่องค์กรไหนจะเรียกอย่างไร) ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ก็มีมากมาย เช่น ประเมินแบบ MBO, PMS, KPI, BSC และระบบประเมินผลงานที่ปัจจุบันกำลังพูดถึง OKR

ไม่ว่าท่านจะใช้แบบประเมินอันไหน มันก็คือเครื่องมือที่ช่วยสร้างกรอบ ทิศทาง การชี้วัด เพื่อนำมาประเมินความเหมาะสมของทรัพยากรบุคคลที่ท่านมีอยู่ในองค์กร

 

ในครั้งหน้าผู้เขียนจะมาแนะนำเทคนิคการวิเคราะห์อัตรากำลัง พร้อมแนะนำวิธีนำไปปรับใช้จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนมี และหวังแบ่งปันเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย

 



Photo by JESHOOTS.com from Pexels

โปรแกรมเงินเดือน และฝ่ายบุคคลออนไลน์ EZY-HR
ดาวน์โหลดตัวอย่างสลิปเงินเดือนฟรี ได้ที่นี่ -> Download

ตัวอย่างสลิปเงินเดือนฟรี

 

ไฟล์ตัวอย่างสลิปเงินเดือน นี้ จะประกอบไปด้วย

  1. พื้นที่ว่างสำหรับใส่ โลโก้และที่อยู่ของบริษัท
  2. ช่องสำหรับใส่ รหัสพนักงาน
  3. ช่องสำหรับชื่อพนักงาน (ทั้งไทย และอังกฤษ)
  4. ช่องสำหรับใส่ แผนกของพนักงาน
  5. ช่องรายได้ ทั้งคำอธิบายและจำนวน
  6. รายการหัก และจำนวนทั้งหมด
  7. รวมรายได้ เฉพาะงวดนี้
  8. รวมรายการหัก เฉพาะงวดนี้
  9. รายได้สะสม ต่อปี (รวมเดือนนี้)
  10. ภาษีสะสม ต่อปี (รวมเดือนนี้)
  11. เงินกองทุนสะสม ต่อปี (รวมเดือนนี้)
  12. เงินประกันสังคม ต่อปี (รวมเดือนนี้)
  13. ค่าลดหย่อนอื่นๆ ต่อปี (รวมเดือนนี้)
  14. วันที่ ของสลิปเงินเดือน (ในรูปแบบของ dd-mmm-yy หรือ mm-yyyy)
  15. รายได้รวมทั้งหมดของพนักงาน
  16. ช่องสำหรับ ลายเซ็นต์พนักงาน

 

ไฟล์ตัวอย่างสลิปเงินเดือน ในรูปแบบของ pdf  ซึ่งสามารถเปิด และแก้ไขได้ด้วย โปรแกรม Adobe Acrobat หรือ Adobe Photoshop

>>> ตัวอย่างสลิปเงินเดือน แบบ excel

>>> สนใจโปรแกรมเงินเดือน และฝ่ายบุคคลที่ใช้ง่ายที่สุด EZY-HR ที่สามารถสร้าง สลิปเงินเดือน ในฟอร์แมตที่ออกแบบเฉพาะบริษัทคุณได้  ติดต่อได้ที่นี่

หลายๆคนคงเคยจะมีคำถามเมื่อได้ยินคำว่า Payroll และสงสัยว่า Payroll คือ อะไร

Payroll คือ อะไร

 

ความหมายของ Payroll คือ อะไร

ซึ่งจริงๆแล้ว Payroll คือ การคำนวณค่าแรง หรือค่าตอบแทน ของพนักงานในธุรกิจ โดยจะต้องนำเอาข้อมูลทางการเงินทั้งหมด เช่นเงินเดือนสำหรับพนักงาน เงินโบนัส เงินได้อื่นๆ และการหักเงินทุกๆประเภท นำมารวมและคำนวณหาจำนวนเงินที่จ่ายให้กับพนักงานการให้บริการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นรายเดือน แต่ก็อาจจะมีการจ่ายประเภทอื่นๆ เช่นรายวัน รายสัปดาห์ และรายสองสัปดาห์ เป็นต้น

 

ซึ่งในการทำเงินเดือนนั้นๆ มักจะเป็นงานที่ต้องใช้เวลาในการทำค่อนข้างมาก เนื่องจากข้อมูลเงินได้ของพนักงานนั้น มีหลายประเภท ซึ่งจะต้องนำมา คำนวณโดยอาศัยเงื่อนไข ที่แตกต่างกันไป ของแต่ละธุรกิจ อีกทั้งยังจะต้อง นำไปคำนวณภาษี และ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม ตามที่ได้มีการ กำหนดไว้ในกฏหมายอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ยังมีหลายบริษัททำการคำนวณ Payroll โดยใช้โปรแกรม Excel ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ถ้าเกิดว่ามีจำนวนพนักงานไม่มาก และเงื่อนไขในการคำนวณไม่ซับซ้อนซักเท่าไหร่

 

แต่ถ้าเกิดว่า เป็นองค์กรที่มี จำนวนพนักงานมากขึ้น หรือ มีการคิดคำนวณ ด้วยเงื่อนไขที่ค่อนข้างซับซ้อน จะทำให้ การใช้งานโปรแกรม Excel คำนวณ Payroll เป็นเรื่องทียุ่งยาก และสุ่มเสี่ยงต่อความผิดพลาด ที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจาก Excel นั้นเป็นโปรแกรมประเภท Spreadsheet ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการคำนวณในระดับหนึ่งเท่านั้นและยังไม่ได้มีฟังก์ชั่นการซัพพอร์ตการทำงานพร้อมๆกันหลายๆคน เนื่องจากธุรกิจปัจจุบัน ที่มักจะมีพนักงานอยู่หลายสาขา อีกทั้งแต่ละสาขายังมักจะคำนวณคนละรูปแบบ แต่ก็กลับมาคิด Payroll รวมกันที่ศูนย์กลางเพียงจุดเดียว ทำให้การคิดคำนวณ Payroll โดยอาศัยแต่โปรแกรม Microsoft Excel เพียงอย่างเดียว เป็นเรื่องที่ยากขึ้นเรื่อยๆ

คำนวณเงินเดือนด้วย Excel

 

ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลระบบ Payroll ให้กับบริษัทนั้น นอกจากจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ และสังเกตรายละเอียดต่างๆ ยังจะต้องสามารถเก็บรักษาความลับได้ดีอีกด้วย เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับค่าตอบแทนของพนักงานนั้น ถือว่าเป็นความลับของบริษัท

 

โปรแกรมเงินเดือน และฝ่ายบุคคล ที่สามารถคำนวณเงินเดือน ค่าแรง ค่าทำงานล่วงเวลา และประเภทกะ ได้อัตโนมัติจากข้อมูลที่ได้จากเครื่องฟิงเกอร์สแกน => https://www.ezy-hr.com/

Posted in HR.