โปรแกรม‌ ‌EZY-HR‌ ‌แนะนำ‌ ‌Add‌ ‌On‌ ‌ ‌
“‌Shift‌ ‌Request‌”‌‌ ‌‌พนักงาน‌ขอ‌สลับ‌กะ‌การ‌ทำงาน‌ของ‌ตัว‌เอง‌ใน‌วัน‌นั้นๆ‌ ‌

เรา‌ช่วย‌ทำงาน‌ใน‌ด้าน‌ใด‌?

พนักงาน‌สามารถ‌ส่ง‌คำขอ‌ ‌ความ‌ต้องการ‌จะ‌เปลี่ยน‌กะ‌การ‌ทำงาน‌ของ‌ตนเอง ‌ใน‌ช่วง‌เวลา‌ของ‌วัน‌นั้น‌ ‌
มายัง‌หัวหน้า‌ ‌โดย‌ผ่าน‌ระบบ‌หรือApplication‌ ‌ได้‌ ‌เมื่อ‌พนักงาน‌ส่ง‌คำขอ‌ ‌ระบบ‌จะ‌ทำ‌การ‌เเจ้ง‌เตือน‌
มายัง‌หัวหน้า‌ให้‌รับ‌ทราบ‌ ‌โดย‌สามารถ‌กด‌อนุมัติ‌ผ่าน‌ระบบ‌หรือAppได้‌ทันที‌ ‌เมื่อ‌หัวหน้า‌ทำการ‌อนุมัติ‌
ระบบ‌จะ‌ทำการ‌ปรับ‌เปลี่ยน‌ข้อมูล‌ภาพ‌รวม‌ ตาราง‌การ‌ทำงาน‌ของ‌พนักงาน‌ให้‌อัตโนมัติ‌ ‌

เเก้‌ไข‌ปัญหา‌อะไร‌ได้‌บ้าง‌ ‌
● พนักงาน‌ขอ‌เปลี่ยน‌กะ‌งาน‌ได้‌ด้วย‌ตัว‌เอง‌ ‌
● HR‌ ‌หรือ‌หัวหน้า‌ทำงาน‌ได้‌สะดวก‌ ‌รวดเร็ว‌ ‌เเละ‌ถูก‌ต้อง‌เเม่น‌ยำ‌มาก‌ขึ้น‌ ‌
● พนักงาน‌ไม่‌จำเป็น‌ต้อง‌เดิน‌ไป‌หา‌หัวหน้า‌งาน‌ ‌

“‌Shift‌ ‌Swap‌ ‌Request‌”‌‌ ‌‌พนักงาน‌ขอ‌สลับ‌กะ‌การ‌ทำงาน‌ ใน‌วัน‌ทำงาน‌วัน‌อื่น‌หรือ‌วัน‌หยุด‌ ‌

เรา‌ช่วย‌ทำงาน‌ใน‌ด้าน‌ใด‌ ‌

เมื่อ‌พนักงาน‌ส่ง‌คำขอ‌ ‌Shift‌ ‌Swap‌ ‌Request‌ ‌คือ‌การ‌ขอ‌สลับ‌กะ‌การ‌ทำงาน‌ของ‌ตนเอง‌ ‌โดย‌เรา‌อยาก‌
มา‌ทำงาน‌ใน‌วัน‌หยุด ‌เเท‌นวัน‌ที่‌เรา‌ต้อง‌มา‌ทำงาน‌ ‌ผ่าน Application‌ ‌หรือ‌ ‌ระบบ‌ ‌มายัง‌หัวหน้า‌ ‌
ระบบ‌จะ‌ทำ‌การ‌เเจ้ง‌เตือน‌มายัง‌หัวหน้า‌ให้‌รับ‌ทราบ‌ ‌โดย‌สามารถ‌กด‌อนุมัติ‌ผ่าน‌ระบบ‌หรือ App ได้‌ทันที‌ ‌
เมื่อ‌หัวหน้า‌ทำการ‌อนุมัติ ‌ระบบ‌จะ‌ทำการ‌ปรับ‌เปลี่ยน‌ข้อมูล‌ภาพ‌รวม‌ตาราง‌การ‌ทำงาน‌ของ‌พนักงาน‌ให้‌
อัตโนมัติ‌ ‌

‌เเก้‌ไข‌ปัญหา‌อะไร‌ได้‌บ้าง‌ ‌
● พนักงาน‌ขอ‌เปลี่ยน‌กะ‌งาน‌ได้‌ด้วย‌ตัว‌เอง‌ ‌
● HR‌ ‌หรือ‌หัวหน้า‌ทำงาน‌ได้‌สะดวก‌ ‌รวดเร็ว‌ ‌เเละ‌ถูก‌ต้อง‌เเม่น‌ยำ‌มาก‌ขึ้น‌ ‌
● พนักงาน‌ไม่‌จำเป็น‌ต้อง‌เดิน‌ไป‌หา‌หัวหน้า‌งาน‌ ‌


“‌Shift‌ ‌Swap‌ ‌Staff‌ ‌Request‌”‌‌ ‌‌พนักงาน‌ขอ‌สลับ‌กะ‌การ‌ทำงาน‌ใน‌วัน‌ทำงาน‌หรือ‌วัน‌หยุด‌กับ‌เพื่อน‌ร่วม‌งาน‌”‌ ‌
เรา‌ช่วย‌ทำงาน‌ใน‌ด้าน‌ใด‌ ‌

เมื่อ‌พนักงาน‌ส่ง‌คำขอ‌มายัง‌หัวหน้า‌งาน‌ผ่าน‌ระบบ ‌โดย‌พนักงาน‌ต้องการ‌ที่‌จะ‌สลับ‌กะ‌การ‌ทำงาน‌กับ‌เพื่อน‌ร่วม‌งาน‌ ระบบ‌จะ‌ประเมิน‌คำ‌ขอเเละ‌เปลี่ยน‌เเป‌ลง‌ข้อมูล‌ได้‌อย่าง‌รวดเร็ว‌และ‌ทำการ‌เปลี่ยน‌ ‌
เเป‌ลง‌ข้อมูล‌ใน‌ตาราง‌งาน‌ให้‌ทัน‌ ‌หัว‌หน้า‌งาน‌เเละHR สามารถ‌ทราบ‌ตาราง‌การ‌ทำงาน‌ของ‌พนัก‌งาน‌ได้‌
เเบ‌บทัน‌ที‌ ‌ใน‌การ‌ตรวจ‌สอบ‌เเละ‌หา‌จำนวน‌พนักงาน ‌ให้‌เพียง‌พอ‌ต่อ‌การ‌ทำ‌งาน‌เเละ‌บริการ‌ ‌


เเก้‌ไข‌ปัญหา‌อะไร‌ได้‌บ้าง‌ ‌
● พนักงาน‌สามารถ‌สร้าง‌คำ‌การ‌สลับ‌กะ‌งาน‌/‌วัน‌หยุด‌กับ‌เพื่อนร่วม‌งาน‌ได้‌เอง‌ ‌เพียง‌รอ‌คำ‌อนุมัติ‌จาก‌หัวหน้า‌งาน‌ ‌
● สะดวก‌ต่อ‌การ‌จัดการ‌งาน‌ระบบ‌ ‌โดย‌จะ‌ไม่‌เกิด‌ความ‌ผิด‌พลาด‌ของ‌ตาราง‌การ‌ทำ‌งงา‌นที่‌ทับ‌
ซ้อน‌กัน‌ ‌
● HRเข้า‌ถึง‌ข้อมูล‌ตาราง‌การ‌ทำงาน‌ที่‌ถูก‌ต้อง‌ได้‌ตลอด‌เวลา‌ ‌

ก่อนวางแผนอัตรากำลัง……มีการประเมินองค์ประกอบเหล่านี้แล้วหรือยัง?

วางแผนกำลังคน

การประเมินอัตรากำลังซึ่งต้องพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่

  • พิจารณาความสำคัญของงาน
  • พิจารณาความเหมาะสมของโครงสร้างองค์กร
  • พิจารณาความเหมาะสมของทรัพยากร
  • พิจารณาความเหมาะสมของการจัดระดับของตำแหน่ง

 

เมื่อพิจารณาองค์ประกอบเหล่านี้แล้วคงไม่เกินเครื่องมือเหล่านี้

  1. โครงสร้างองค์กรที่ชัดเจน (Organization chart)

วาดภาพหรือวางผังองค์ให้ชัดเจน ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าองค์กรต้องการกี่หน่วยงาน แต่ละหน่วยงานต้องการกำลังคนที่คน (อย่าลืมผนวกข้อมูลเป้าหมายธุรกิจด้วย) เมื่อได้โครงสร้างองค์กรแล้วควรนำมาสรุปเป็นตารางตัวเลขอัตรากำลังที่มีอยู่ลงในแบบฟอร์มจะช่วยให้ HR เห็นชัดเจนมากขึ้น

  1. รายละเอียดงาน (Job Description)

การกำหนดหน้าที่งาน หรือรายละเอียดงานเป็นข้อมูลประกอบทำให้ทราบว่าพนักงานแต่ละ ส่วนงานมีหน้าที่รับผิดชอบงานอะไร ส่วนไหน มีส่วนช่วยคำนวณค่างานว่าควรเพิ่ม ควรโอนย้ายคนไปช่วยส่วนไหน และสุดท้ายคือจำนวนคนที่มีอยู่เกินกว่างานที่มีหรือเปล่า

หากต้องรับเพิ่มก็จะช่วยให้ท่านรู้ว่ารับแล้วเค้าจะมาอยู่ส่วนไหน ทำอะไร มีหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง และควรเป็นพนักงานระดับหัวหน้า หรือระดับปฏิบัติการที่ท่านต้องการจริงๆ ซึ่ง JD จะเป็นต้นทางสำหรับการสรรหาที่จะได้คนที่มาทำงาน

  1. ระบบการประเมินผลงาน

การประเมินผลพนักงาน Performance Appraisals หรือ Evaluation (แล้วแต่องค์กรไหนจะเรียกอย่างไร) ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ก็มีมากมาย เช่น ประเมินแบบ MBO, PMS, KPI, BSC และระบบประเมินผลงานที่ปัจจุบันกำลังพูดถึง OKR

ไม่ว่าท่านจะใช้แบบประเมินอันไหน มันก็คือเครื่องมือที่ช่วยสร้างกรอบ ทิศทาง การชี้วัด เพื่อนำมาประเมินความเหมาะสมของทรัพยากรบุคคลที่ท่านมีอยู่ในองค์กร

 

ในครั้งหน้าผู้เขียนจะมาแนะนำเทคนิคการวิเคราะห์อัตรากำลัง พร้อมแนะนำวิธีนำไปปรับใช้จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนมี และหวังแบ่งปันเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย

 



Photo by JESHOOTS.com from Pexels

การจัดการกะ ตอนที่ 4

ทายกันถูกไหมครับ กับการจัดการแบบที่สามที่เหลืออยู่ ใช่แล้วครับ แบบสุดท้ายคือ การขอสลับกะกับพนักงานคนอื่นนั่นเอง (ปรบมือ)

35484244_2180191242267563_7103178735607611392_n

การสลับกะสองแบบแรกที่พูดถึง เป็นการขอสลับกับตัวเองทั้งสิ้นครับ ไม่ว่าจะเป็นการขอเปลี่ยนกะ หรือการขอสลับวันทำงานหรือวันหยุด แต่แบบที่สาม จะเป็นแบบขอสลับกะกับคนอื่น

สุดท้ายแล้ว หากเราไม่สามารถขอเปลี่ยนกะ หรือสลับกะการทำงานได้ เนื่องจากการวางจำนวนคนที่ต้องการในแต่ละกะไว้อย่างตายตัว การขอเปลี่ยนไปทำงานกะอื่น หรือการขอสลับวันหยุด อาจทำให้พนักงานในกะนั้นๆ ไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติงานได้ ทำให้ไม่สามารถขอเปลี่ยนได้ นี่จะเป็นวิธีสุดท้ายที่สามารถทำได้ครับ

ธุรกิจใดบ้างที่มีการขอในเรื่องแบบนี้ โรงงาน โรงแรม โรงพยาบาลอีกเช่นเคยครับ

โรงงานจะมีการกำหนดจำนวนพนักงานที่คุมเครื่องจักรหรือสายพานในกระบวนการผลิตไว้อย่างชัดเจน ซึ่งการลดลงของพนักงานที่เข้าทำงาน อาจส่งผลให้กระบวนการผลิตล่าช้าได้ หรือในกรณีโรงพยาบาลอาจทำให้จำนวนพยาบาลที่ดูแลคนไข้ไม่เพียงพอและดูแลไม่ทั่วถึงได้

การขอเปลี่ยนกะกับคนอื่น จึงเป็นทางออกที่ได้ผลสำหรับพนักงานที่ต้องลาไปทำธุระ ซึ่งจะทำให้ไม่เสียเวลางานเช่นกัน เพียงแต่พนักงานจะต้องไปหาคนที่จะแลกกะด้วยมาให้ได้เท่านั้นเอง จากนั้นก็เขียนใบคำร้องส่งมาที่หัวหน้างานหรือ HR เหมือนเดิมเพื่อขอนุมัติ

วิธีนี้พนักงานอาจต้องรอบคอบนิดหนึ่ง เนื่องจากกะที่มีการเปลี่ยนไป ถ้ายังอีกหลายวันหรือหลายสัปดาห์ สุดท้ายแล้วพนักงานอาจลืมได้ เมื่อใกล้ๆ เวลาอาจต้องคุยกันให้เรียบร้อยอีกครั้ง

ผมเคยเจอกรณีเพื่อนที่ทำงานในโรงพยาบาลจำกะผิด จนเพื่อนต้องโทรมาตามก็มีกว่าจะไปถึงโรงพยาบาลก็ใช้เวลาอีกเป็นชั่วโมง ยังดีว่า กะที่ลืมเป็นกะดึกและอยู่ในแผนกที่ไม่ใช่แผนกสำคัญมาก ทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อคนไข้โดยตรงครับ

การจัดการกะ ตอนที่ 2

ตามสัญญาครับ อีกครึ่งหนึ่งที่เหลือของการจัดการกะคือการแก้ไขมันนั่นเอง

หลังจากที่จัดกะเรียบร้อยแล้ว พนักงานมีการลา มีการขอเปลี่ยนกะเกิดขึ้นโดยเป็นการลากระทันหันไม่ได้แจ้งล่วงหน้า ทำให้ตารางกะเกิดอาการรวน เราจะทำอย่างไรล่ะ

แบบแรกที่เราจะคุยกันวันนี้คือ การขอเปลี่ยนกะ

โปรแกรมเงินเดือน EZY-HR การจัดการตารางกะ เปลี่ยนกะ

การขอเปลี่ยนกะคืออะไร

การขอเปลี่ยนกะคือการที่พนักงานต้องการขอเปลี่ยนกะการทำงานในวันนั้นเป็นเวลาอื่น เนื่องด้วยติดกิจธุระ

เช่น วันที่ 20 ผมติดธุระต้องไปติดต่อสำนักงานเขตในช่วงเช้า ซึ่งชนกับตารางกะ หากบริษัทมีระบบในการขอเปลี่ยนเวลาเริ่มงานได้ ก็อาจจะเขียนใบคำร้องส่งไปยัง HR หรือหัวหน้างานเพื่ออนุมัติการเปลี่ยนเวลาเข้างาน เพื่อไปทำธุระและกลับมาทำงานในตอนบ่าย

วิธีนี้พนักงานจะได้ทำธุระของตนได้โดยไม่กระทบกับการทำงานที่จะต้องเสียเวลางานไปตลอดครึ่งเช้า ซึ่งอาจทำให้ปริมาณงานที่ทำได้ในวันนั้นลดลง เพราะพนักงานยังคงทำงาน 8 ชั่งโมงคงเดิมนั่นเอง

และบริษัทก็ไม่ต้องสูญเสียปริมาณงานที่จะลดลงเนื่องจากพนักงานลา ทำให้ได้ผลงานเต็มเม็ดเต็มหน่วย

ข้อดีอีกอย่างของการยอมให้พนักงานขอแบบนี้ได้คือ พนักงานจะรู้สึกดีกับบริษัทที่ยอมรับฟังคำขอ และเห็นอกเห็นใจกับพนักงานที่ติดธุระจำเป็นจริงๆ ที่จะต้องขอเปลี่ยน

อย่างไรก็ตาม ก็ควรมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดในการอนุมัติการขอเปลี่ยนกะแบบนี้ เพราะถ้าอนุมัติกันง่ายๆ ทุกคน อาจะทำให้ติดเป็นนิสัย และเสียการปกครองในการทำงานได้ เพราะพนักงานอาจขอเปลี่ยนกันตามใจตนไปหมด

 

ตอนหน้าเราจะมาดูกันต่อครับ นอกจากการขอเปลี่ยนกะแล้ว ยังมีอะไรอีกบ้าง

 

 

ติดตามเราและร่วมแสดงความเห็นกันได้ได้อีกที่ครับ ที่เฟสบุ้คเพจ EZY-HR https://www.facebook.com/ezyhr/
#FB #โปรแกรมเงินเดือน

 

ถ้ากำลังมองหาโซลูชั่นบริหารงานบุคคลแบบทันสมัย ใช้งานง่าย ตอบโจทย์ ฟีเจอร์ครบๆ จบในที่เดียว ลองดูระบบ EZY-HR ได้ท่ี่นี่เลยครับ https://www.ezy-hr.com/

ตารางกะ กับการคำนวณเงินเดือนจากเวลาเข้างาน

การตั้งค่าเพื่อเริ่มต้นการใช้งานไซต์งาน และตารางกะ Roster Management

ในการเริ่มต้นใช้งานฟีเจอร์ตารางกะของ EZY-HR นั้น จะต้องมีการตั้งค่าเริ่มต้นของแต่ละไซต์งาน และตารางกะที่จะนำมาใช้กับพนักงานที่ทำงานในระบบนั้นๆ โดยที่ไซต์งานนั้น สามารถกำหนดให้มีหลายไซต์งานได้ เพื่อที่จะได้สามารถติดตามและจัดการการคำนวณเวลาทำงานในแบบหลายๆไซต์งานได้

การกำหนดตารางการทำงานให้กับพนักงาน

หลังจากที่เราได้มีการกำนหนดค่าเริ่มต้นไซต์งาน และตารางกะแล้ว เราจะต้องมีการใส่ค่าเวลาการทำงานในแต่ละกะของพนักงานในระบบของโปรแกรมเงินเดือน EZY-HR โดยการใส่เวลาการทำงานของเวลาการทำงานแต่ละประเภทจะมีวิธีการที่แตกต่างกัน สามารถดูรายละเอียดได้ในส่วนของ “การกำหนดตารางการทำงานให้กับพนักงาน”

การคำนวณเวลาการทำงานของพนักงาน

เมื่อเราได้กำหนดเวลาการทำงานของพนักงานให้ครบถ้วนแล้ว การเริ่มต้นคำนวณเวลาการทำงานของพนักงานจะสามารถทำได้ทั้งแบบแมนวล หลังจากที่ได้ทำการอัพโหลดไฟล์บันทึกเวลาการสแกนนิ้วเข้าระบบแล้ว หรือสามารถคำนวณได้แบบอัตโนมัติแบบเรียลไทม์* (ในกรณีที่ใช้งานระบบ Real Time Finger Scan เท่านั้น)

การตั้งค่าและใช้งานอื่นๆ

รวบรวมวิธีการทำงาน และเทคนิคในการใช้งานที่ไม่ได้อยู่ในเนื้อหาด้านต้น Link

 

การตั้งค่าเพื่อเริ่มต้นการใช้งานไซต์งาน

การตั้งค่าเริ่มต้นสำหรับไซต์งาน

ล้อกอินเข้าไปในระบบด้วย User ที่เป็น Admin และไปที่เมนูด้านซ้าย OT & TIMESHEET -> Shift Management เพื่อเข้าไปสู่การตั้งแค่เริ่มต้นไซต์งาน

 

โปรแกรมเงินเดือน EZY-HR ตารางกะ

 

*** ระบบจะอนุญาตให้ผู้ใช้งานที่เป็น Admin เท่านั้น ที่สามารถเข้ามาจัดการข้อมูลไซต์งานและกะการทำงานได้

 

หลังจากนั้นจะเข้าสู่หน้าจอการตั้งค่ากะเวลาการทำงานและไซต์งานเบื้องต้น เราสามารถที่จะเพิ่มไซต์งานได้โดยการกดที่ปุ่ม Shift Management เพื่อเข้าสู่หน้าจอการจัดการข้อมูลไซต์งานอีกครั้งหนึ่ง

โปรแกรมเงินเดือน EZY-HR ตารางกะ

ในหน้าจอแสดงข้อมูลของไซต์งาน จะแสดงถึงไซต์งานทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบแล้ว

เมื่อเข้าสู่หน้าจอการจัดการไซต์งานแล้ว เราสามารถที่จะเพิ่มไซต์งานเข้าไปได้ โดยการกดที่ปุ่ม New Site และกรอกข้อมูลที่จำเป็นเข้าไปเพื่อทำการสร้างไซต์งาน โดยที่แต่ละไซต์งานจะสามารถมีกะการทำงานได้หลายกะ

เมื่อกรอกข้อมูล “Name” หรือชื่อของกะการทำงาน และ “Remarks” ซึ่งเป็นข้อความหมายเหตุของไซต์งานนี้แล้ว ให้กดที่ปุ่ม Submit เพื่อทำการบันทึกข้อมูล โดยที่ระบบจะมีข้อความขึ้นเพื่อบอกว่าบันทึกข้อมูลไซต์การทำงานเรียบร้อยแล้ว และกลับที่หน้าแรก
หลังจากที่เราได้ทำการสร้างข้อมูลไซต์งานได้ครบหมดเรียบร้อยแล้ว ให้กลับไปที่หน้าจอการสร้างข้อมูลตารางกะการทำงานอีกครั้งหนึ่ง โดยไปที่เมนูทางด้านซ้าย OT & TIMESHEET ->  Shift Management

และกดที่ปุ่ม New Shift เพื่อทำการเริ่มต้นสร้างข้อมูลตารางกะการทำงาน
*** หมายเหตุ ต้องสร้างข้อมูลไซต์งานก่อนที่จะสร้างข้อมูลตารางกะการทำงาน

โปรแกรมเงินเดือน EZY-HR ตารางกะ

ใส่ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับตารางกะลงไปให้ครบถ้วน

Name ชื่อที่ใช้เพื่อระบุ กะการทำงานนี้
Start เวลาเริ่มต้นการทำงานของกะการทำงานนี้
End เวลาที่สิ้นสุดการทำงานของกะการทำงานนี้
Site ไซต์งาน (ที่เราได้สร้างไว้ก่อนแล้ว)
Remarks ข้อมูลเพิ่มเติมที่เอาไว้เพื่ออธิบายกะการทำงานนี้

โปรแกรมเงินเดือน EZY-HR ตารางกะ

หลังจากนั้นให้กด Submit เพื่อทำการบันทึกข้อมูลเข้าไปในระบบ โดยที่เราสามารถที่จะแก้ไขหรือลบได้โดยการกดปุ่มดินสอเพื่อทำการแก้ไข หรือถังขยะเพื่อทำการลบทางด้านขวาของไซต์งานนั้นๆ
การกำหนดตารางการทำงานให้กับพนักงาน

 

การกำหนดกะการทำงานให้กับพนักงานในแต่ละรูปแบบ

เราสามารถเข้าไปที่หน้าจอเพื่อทำการกำหนดตารางการทำงานให้กับพนักงานได้โดยการไปที่เมนูทางด้านซ้าย OT & TIMESHEET -> Assign Shift
ระบบจะแสดงหน้าจอทำการตั้งตารางกะการทำงานของพนักงาน โดยจะเริ่มต้นที่การตั้งกะการทำงานแบบรายสัปดาห์เป็นค่าเริ่มต้น แต่เราสามารถที่จะอัพโหลดข้อมูลกะการทำงานแบบรายวันเข้าไปได้ที่หน้าจอนี้เช่นเดียวกัน
โดยเราสามารถที่จะเปลี่ยนมุมมองการทำงานได้โดยการไปที่ View Options ทางด้านขวา
การกำหนดกะการทำงานแบบรายสัปดาห์
ในการกำหนดตารางกะการทำงานแบบรายสัปดาห์นั้น เราเพียงแต่ระบุวันในแต่ละสัปดาห์ของพนักงานแต่ละคนว่า ทำการกะอะไร ในกรณีนี้จะเป็นตารางกะที่เหมือนกันในแต่ละสัปดาห์

เริ่มต้นโดยการกดที่ปุ่ม New Shift Day of Week

ใส่ข้อมูลทั้งหมดลงไป
Shift คือกะการทำงานทีต้องการจะมอบหมายให้พนักงานทำในวันนั้นๆ
Fullstaff พนักงานที่เราต้องการจะมอบหมายให้ใช้ตารางกะ
Dow วันของสัปดาห์ที่จะให้พนักงานใช้ตารางกะนั้นๆ (จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์)
Remarks หมายเหตุเพิ่มเติม

หลังจากนั้นให้กดที่ปุ่ม Submit เพื่อทำการบันทึกข้อมูลของ ตารางกะ โดยระบบจะมีข้อความแจ้งขึ้นมาว่า ตารางกะการทำงานของพนักงานคนนั้นได้มีการบันทึกแล้ว และแสดงข้อมูลตารางกะการทำงานทั้งหมดขึ้นมา

หมายเหตุ เราสามารถที่จะเปลี่ยนมุมมองการดูข้อมูลได้ 3 แบบ คือ
Record View ซึ่งจะแสดงเป็นรายการทีละบรรทัด
Calendar View จะแสดงเป็นปฎิทิน
และ Table View จะแสดงเป็นรายวัน (กำหนดวันเริ่มต้น-สิ้นสุด)

การแสดงข้อมูลแบบ Calendar View จะต้องทำการเลือกชื่อพนักงานขึ้นมาในดรอปดาวน์ลิสต์

หน้าจอการดูข้อมูลแบบ Table View
จะต้องทำการใส่ข้อมูลวันที่เร่ิมต้น Startdate และวันที่สิ้นสุด Enddate เข้าไปและกดที่ปุ่ม Submit แล้วระบบจะทำการแสดงข้อมูลตารางกะการทำงานของพนักงานที่มีการกำหนดเข้าไปในระบบแล้ว

 

การคำนวณเวลาการทำงานของพนักงาน

ระบบการคำนวณเวลาของ EZY-HR
จะมีการคำนวณ เวลาการเข้างาน ของพนักงานโดยอาศัย ข้อมูลตามลำดับ ดังต่อไปนี้

โดยระบบจะเอา ข้อมูลเวลาการทำงาน ของข้อที่สูงที่สุดมาใช้ โดยเริ่มต้นจาก 1. ข้อมูลที่ตั้งไว้เริ่มต้นของระบบ

 

การตั้งค่าและคำถามอื่นๆ

การสนับสนุนการทำงานเพิ่มเติม
คำถามเพิ่มเติม จะมีการอัพเดตใน เว้บไซต์  EZY-HR อย่างสม่ำเสมอ โดยสามารถที่จะเข้าไปดูได้ที่ https://www.ezy-hr.com/blog

โปรแกรมเงินเดือน และฝ่ายบุคคลออนไลน์ EZY-HR
ดาวน์โหลดตัวอย่างสลิปเงินเดือนฟรี ได้ที่นี่ -> Download

ตัวอย่างสลิปเงินเดือนฟรี

 

ไฟล์ตัวอย่างสลิปเงินเดือน นี้ จะประกอบไปด้วย

  1. พื้นที่ว่างสำหรับใส่ โลโก้และที่อยู่ของบริษัท
  2. ช่องสำหรับใส่ รหัสพนักงาน
  3. ช่องสำหรับชื่อพนักงาน (ทั้งไทย และอังกฤษ)
  4. ช่องสำหรับใส่ แผนกของพนักงาน
  5. ช่องรายได้ ทั้งคำอธิบายและจำนวน
  6. รายการหัก และจำนวนทั้งหมด
  7. รวมรายได้ เฉพาะงวดนี้
  8. รวมรายการหัก เฉพาะงวดนี้
  9. รายได้สะสม ต่อปี (รวมเดือนนี้)
  10. ภาษีสะสม ต่อปี (รวมเดือนนี้)
  11. เงินกองทุนสะสม ต่อปี (รวมเดือนนี้)
  12. เงินประกันสังคม ต่อปี (รวมเดือนนี้)
  13. ค่าลดหย่อนอื่นๆ ต่อปี (รวมเดือนนี้)
  14. วันที่ ของสลิปเงินเดือน (ในรูปแบบของ dd-mmm-yy หรือ mm-yyyy)
  15. รายได้รวมทั้งหมดของพนักงาน
  16. ช่องสำหรับ ลายเซ็นต์พนักงาน

 

ไฟล์ตัวอย่างสลิปเงินเดือน ในรูปแบบของ pdf  ซึ่งสามารถเปิด และแก้ไขได้ด้วย โปรแกรม Adobe Acrobat หรือ Adobe Photoshop

>>> ตัวอย่างสลิปเงินเดือน แบบ excel

>>> สนใจโปรแกรมเงินเดือน และฝ่ายบุคคลที่ใช้ง่ายที่สุด EZY-HR ที่สามารถสร้าง สลิปเงินเดือน ในฟอร์แมตที่ออกแบบเฉพาะบริษัทคุณได้  ติดต่อได้ที่นี่