การกำหนดวันลาองค์กรโดยส่วนใหญ่จะอ้างอิงกฎหมายแรงงานเป็นหลักพื้นฐานและเพิ่มเติมยืดหยุ่นตามรูปแบบธุรกิจ การลาถือเป็นสวัสดิการประเภทหนึ่งที่ใช้เป็นผลตอบแทนพนักงาน หรือ ดึงดูดผู้สมัครเข้ามาร่วมงานกับองค์กร

 

หลักการกำหนดวันลาในระเบียบบริษัท มีแนวทางดังนี้

  1. จำเป็นต้องยึดตามกฎหมายแรงงานเป็นหลัก
  2. ให้มากกว่าได้แต่ให้น้อยกว่ากฎหมายกำหนดไม่ได้
  3. ปรับตามความเหมาะสมกับธุรกิจ
  4. อาจจะใช้ระเบียบจากธุรกิจใกล้เคียงกันมาเป็นแนวทาง

 

ประเภทวันลาสิทธิตามกฎหมายแรงงาน

ลำดับ ประเภทวันลา เงื่อนไข เพิ่มเติม
1 วันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน ระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน – กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้

– กรณีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่แน่นอน นายจ้างต้องประกาศวันหยุดให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน และแจ้งเป็นหนังสือให้แรงงานทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ประกาศกำหนด

2 วันหยุดตามประเพณี ต้องไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน และ 1 ใน 13 วันที่ทุกบริษัทต้องมีคือ “วันแรงงานแห่งชาติ”
3 วันหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน เมื่ออายุงานครบ 1 ปี – หากไม่ครบ 1 ปีสามารถให้ตามสัดส่วนได้ (ข้อตกลงระหว่างนายจ้าง)

– สามารถสะสมโดยยกยอดไปใช้ในปีถัดไปได้    (ข้อตกลงระหว่างนายจ้าง)

4 วันลาป่วย โดยถ้อยคำในกฎหมายใช้คำว่า “ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง” – ลาป่วยเกินกว่า 3 วัน นายจ้างมีสิทธิเรียกดูใบรับรองแพทย์ได้

– บางบริษัทระบุสิทธิการลาป่วยได้ 30 วันต่อปี (ข้อตกลงระหว่างนายจ้าง)

5 การลาคลอด สิทธิลาคลอดก่อนและหลังคลอดครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน ได้รับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน
6 การลาเพื่อทำหมัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ “การลาเพื่อทำหมัน” กับ “การลาเนื่องจากการทำหมัน” ในกฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน แต่จำนวนวันลาต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์
7 การลาเพื่อรับราชการ ลาได้รับค่าจ้าง 60 วันต่อปี  รับราชการในการเรียกพล เพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดสอบความพร้อม
8 วันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น กฎหมายใหม่ กำหนดให้มีสิทธิลาได้ โดยได้รับค่าจ้างอย่างน้อย 3 วันทำงานต่อปี
9 การลาเพื่อฝึกอบรม ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาเพื่อการฝึกอบรม หรือพัฒนาความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์ อาจกำหนดให้มีการแจ้งนายจ้างล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน

 

อ้างอิง : พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และฉบับใหม่ 2562

จากตอนที่ 1 และ 2 เราทราบกันไปแล้วว่า ฝ่าย HR ทำงานสะดวกขึ้นได้อย่างไร

ตัวช่วย HR ให้งานง่ายขึ้น

 

ทุกวันนี้ เทคโนโลยีในงานระบบบริหารงานบุคคลเข้ามามีบทบาทส่วนช่วยเหลือในหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยลดงานด้านเอกสาร และลดเวลาในการทำงานลง จากเดิมที่ต้องเขียนเอง แก้ไขเอง หรือคิดเอง ก็เปลี่ยนเป็นระบบคำนวณและแก้ไขให้ ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่ฝ่าย HR จะไม่เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

 

แล้วในมุมพนักงานล่ะ พนักงานจะได้อะไร?

 

สำหรับพนักงานแล้ว การใช้งานระบบโปรแกรมจัดการระบบบริหารงานบุคคลที่ดี จะลดระยะเวลาทำงานลงเช่นกัน และเพิ่มความสะดวกสบายทั้งในฝั่งของหัวหน้างานและฝั่งพนักงาน มีเรื่องใดบ้างมาดูกัน

 

  1. เพิ่มความรวดเร็วในการลงเวลาทำงาน และตรวจสอบเวลาตนเองได้ โดยสามารถดูได้ทั้งบนหน้า web และหน้า mobile application
  2. พนักงานสามารถตรวจสอบโควตาการลาคงเหลือของลาแต่ละประเภทได้เอง โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินมาถาม HR และต้องไปนั่งเปิดใบกระดาษลาย้อนหลัง
  3. พนักงานสามารถขอลา ขอโอที หรือขอรายการอื่นๆ ได้ตามที่มีการตั้งค่าในระบบเอาไว้ และสามารถตรวจสอบการอนุมัติได้ทันที
  4. หัวหน้างานสามารถอนุมัติการลา ขอโอที หรือขอรายการอื่นๆ ได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ทั้งในและนอกบริษัท
  5. หัวหน้างานสามารถตรวจสอบการมาทำงานของพนักงาน รวมถึงการจัดเวลาการทำงานของพนักงานเองได้ โดยไม่ต้องส่งเรื่องมาที่ HR เพื่อดำเนินการให้
  6. พนักงานสามารถดาวโหลดสลิปเงินเดือนได้เอง รวมถึงตรวจสอบรายการเงินได้ ค่าลดหย่อน และประมาณการภาษี เพื่อวางแผนทางด้านภาษีได้
  7. ที่สำคัญที่สุด ลดการใช้กระดาษและหมึก ลดเวลาในการเดินและตามเอกสาร ลดการสูญหายหรือเสียหายของเอกสารต่างๆ

 

สนใจอยากจะรู้ว่า โปรแกรมจัดการระบบบริหารงานบุคคลออนไลน์ EZY-HR จะช่วยคุณได้ยังไง ภายใน 10 นาที คลิกที่นี่

รูปประกอบจาก Photo by bruce mars from Pexels