นายจ้างเหมาจ่ายโอทีชั่วโมงละ 50 บาท โดยไม่สนว่าการทำงาน ล่วงเวลาของพนักงานนั้นเป็นการทำล่วงเวลาหลังเลิกงานในวันทำงาน ปกติ วันหยุดประจำสัปดาห์ หรือวันหยุดนักขตฤกษ์ แบบนี้ถือว่าขัด ต่อกฎหมายแรงงานหรือไม่
ผู้เขียนเคยพบว่าแต่ละบริษัทมีการคำนวณค่าล่วงเวลาที่ต่างกันไป บ้างเหมาจ่ายเป็นรายชั่วโมง บางคำนวณตามเรทเงินเดือน เช่น ถ้าเงินเดือนไม่ถึง 20,000 คิดโอที 1.5 เท่าของค่าแรง แต่ถ้าเกิน 20,000 คิดที่ 130 บาท/ชั่วโมง ถ้าเป็นรายเดือน คิดโอที 1.5 เท่าของค่าแรง ฯลฯ เป็นต้น
เห็นไหมคะว่ามีการคำนวณค่าล่วงเวลาที่หลากหลายมากมายทีเดียว
แต่แล้วแบบใดถูก(ไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน) แบบใดผิด (ขัดต่อกฎหมายแรงงาน) เรามาดูกันต่อเลยค่ะ
มาตรา 61 บัญญัติว่า “ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย”
จากมาตรา 61 แล้ว หากพนักงานได้รับเงินเดือน 9,000 บาท คือวันละ 300 โอทีควรได้ 56.25 ต่อ ชั่วโมง พนักงานทำงาน 2 ชั่วโมง นายจ้างจ่ายให้ 100 บาท หรือเท่ากับชั่วโมงละ 50 บาท เช่นนี้จะถือว่าขัดต่อกฎหมายแรงงาน เพราะถือว่านายจ้างให้ค่าตอบแทนต่ำกว่าที่ลูกจ้างควรจะได้รับ
นอกจากนั้น มาตรา 63 ยังได้บัญญัติไว้อีกว่า “ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุดให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุดให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงใรวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย”
ตามมาตรา 63 แล้ว หากพนักงานได้รับเงินเดือน 10,500 บาท คือวันละ 350 ค่าล่วงเวลาที่พนักงานควรได้รับจากการทำงานนอกเวลางาน 8 ชั่วโมงแรกในวันหยุดประจำสัปดาห์หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ที่ 131.25 บาทต่อชั่วโมง ทำล่วงเวลาหลังเลิกงานจำนวน 2 ชั่วโมงถ้านายจ้างให้ค่าล่วงเวลาที่ 240 บาท หรือ 120 บาท/ชั่วโมง เช่นนี้จะถือว่าขัดต่อกฎหมายแรงงาน แต่ถ้านายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้ที่ 262.50 เช่นนี้เป็นการจ่ายค่าล่วงเวลาที่เป็นธรรมไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงานค่ะ

สนใจโปรแกรมคำนวณเงินเดือนที่ช่วยให้คุณจัดการเรื่องโอทีได้อย่างถูกต้อง ลองดูรายละเอียดของโปรแกรมเงินเดือน EZY-HR ได้เลยค่ะ