นายจ้างเหมาจ่ายโอทีชั่วโมงละ 50 บาท โดยไม่สนว่าการทำงาน ล่วงเวลาของพนักงานนั้นเป็นการทำล่วงเวลาหลังเลิกงานในวันทำงาน ปกติ วันหยุดประจำสัปดาห์ หรือวันหยุดนักขตฤกษ์ แบบนี้ถือว่าขัด ต่อกฎหมายแรงงานหรือไม่

 

ผู้เขียนเคยพบว่าแต่ละบริษัทมีการคำนวณค่าล่วงเวลาที่ต่างกันไป บ้างเหมาจ่ายเป็นรายชั่วโมง บางคำนวณตามเรทเงินเดือน เช่น ถ้าเงินเดือนไม่ถึง 20,000 คิดโอที 1.5 เท่าของค่าแรง แต่ถ้าเกิน 20,000 คิดที่ 130 บาท/ชั่วโมง ถ้าเป็นรายเดือน คิดโอที 1.5 เท่าของค่าแรง ฯลฯ เป็นต้น

 

เห็นไหมคะว่ามีการคำนวณค่าล่วงเวลาที่หลากหลายมากมายทีเดียว
แต่แล้วแบบใดถูก(ไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน) แบบใดผิด (ขัดต่อกฎหมายแรงงาน) เรามาดูกันต่อเลยค่ะ

 

มาตรา 61 บัญญัติว่า “ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย”

 

จากมาตรา 61 แล้ว หากพนักงานได้รับเงินเดือน 9,000 บาท คือวันละ 300 โอทีควรได้ 56.25 ต่อ ชั่วโมง พนักงานทำงาน 2 ชั่วโมง นายจ้างจ่ายให้ 100 บาท หรือเท่ากับชั่วโมงละ 50 บาท เช่นนี้จะถือว่าขัดต่อกฎหมายแรงงาน เพราะถือว่านายจ้างให้ค่าตอบแทนต่ำกว่าที่ลูกจ้างควรจะได้รับ

 

นอกจากนั้น มาตรา 63 ยังได้บัญญัติไว้อีกว่า “ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุดให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุดให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงใรวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย”

 

ตามมาตรา 63 แล้ว หากพนักงานได้รับเงินเดือน 10,500 บาท คือวันละ 350 ค่าล่วงเวลาที่พนักงานควรได้รับจากการทำงานนอกเวลางาน 8 ชั่วโมงแรกในวันหยุดประจำสัปดาห์หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ที่ 131.25 บาทต่อชั่วโมง ทำล่วงเวลาหลังเลิกงานจำนวน 2 ชั่วโมงถ้านายจ้างให้ค่าล่วงเวลาที่ 240 บาท หรือ 120 บาท/ชั่วโมง เช่นนี้จะถือว่าขัดต่อกฎหมายแรงงาน แต่ถ้านายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้ที่ 262.50 เช่นนี้เป็นการจ่ายค่าล่วงเวลาที่เป็นธรรมไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงานค่ะ

 

 โอทีเหมาจ่ายรายชั่วโมง
สนใจโปรแกรมคำนวณเงินเดือนที่ช่วยให้คุณจัดการเรื่องโอทีได้อย่างถูกต้อง ลองดูรายละเอียดของโปรแกรมเงินเดือน EZY-HR ได้เลยค่ะ

เจ้าหน้าที่ payroll คือ ผู้ทำหน้าที่ คำนวณวันทำงาน คิดโอที คิดเบี้ยเลี้ยง หักลา หักสาย รวบรวมคำนวณเป็นเงินเดือนให้กับพนักงาน เหตุการณ์ หรือเรื่องเล่านี้มิได้ต้องการตัดพ้อใครเพียงแต่บอกเหตุที่มาให้เข้าใจ เพื่อการทำงานในองค์กรอย่างราบรื่น และมีความสุข

หัวอก payroll คนทำเงินเดือน

พนักงาน: แหม…เรื่องแค่นี้ก็บอกกันไม่ได้แค่ถามว่าคนใหม่เงินเดือนเท่าไหร่
Payroll: อันดับแรก Payroll ที่ดีต้องเก็บความลับค่ะ เพราะถ้าคุณรู้ว่าเงินเดือนคนใหม่มากกว่าคุณทำใจได้หรือเปล่า ไม่โกรธเจ้านายจนเสียงานแน่นะ หรือถ้าคนใหม่เงินเดือนน้อยกว่า และถ้าคนใหม่รู้เข้าทิ้งงานหาย ใครจะช่วยทำงาน คิดให้ดีๆ นาาาาาาา

พนักงาน: หักอีกแล้ว หักลา หักสาย หักอยู่นั่นแหละ
Payroll: Payroll ทุกคนทำตามหน้าที่ ไม่ได้โกรธเกลียดใคร เค้าหักคุณก็ไม่ได้หมายความว่าจะเอามาเพิ่มให้ตัวเองได้สักหน่อย แต่ถ้าคำนวณผิดนี่ซิ เป็น Payroll ต้องรอบคอบ คีย์ตัวเลขตก 0 ไปแค่ตัวเดียว คีย์ผิดชีวิตเปลี่ยน TT

พนักงาน: บ่นอยู่เรื่อยบ่นอะไรนักหนาส่งช้านิดช้าหน่อยทำเป็นบ่น
Payroll: ให้ส่ง OT ภายในวันที่ 15 ผ่าง…มากองรวมกันวันที่ 15 แล้วมาก่อนเลิกงาน 15 นาที พนักงานมีเป็นร้อย Payroll อยู่ดึกแค่ไหนใครรู้ลูกผัวรออยู่ที่บ้าน ยาวววววววววไป

พนักงาน: ถามนิดถามหน่อยทำไมไม่ยิ้มแย้มกันบ้าง หน้าบึงหน้าตึง
Payroll: – ได้รู้เงินเดือนพนักงาน ตัวเลขของคนอื่นสูงกว่า จิตตกซิครับ แต่ด้วยจรรยาบรรณก็ต้องทำใจ
– ไม่ค่อยมีเวลาไปพัฒนาอบรมอะไรกับเขา วันๆ ยุ่งอยู่กับตัวเลข แล้วจะเติบโตไปทางไหน
– พอตรวจสอบโอทีก็โดนเพื่อนร่วมงานเขม่น ดีไม่ดีเจอพนักงานแค้นแอบไปปล่อยลมยาง….นั่น


ที่เล่ามาคิดว่าทุกคนคงเจอเหตุการณ์นี้มาบ้าง

ถ้ามีคนใดไม่เคยเจอ หรือ Payroll ไม่มีปัญหาก็ช่วยมาเล่ามาแชร์ให้เพื่อนๆ ฟังบ้างว่าใช้วิธีอะไร ทำไมงานราบรื่นอย่างนี้ ถือว่าช่วยๆ เพื่อนร่วมอาชีพค่ะ

ส่วนแอดมินนั้นขอนำเสนอวิธีการที่ช่วยลดปัญหาการทำงานจากประสบการณ์ที่ผ่านมาทั้งหมด 20 ปี (โปรดอย่าคำนวณอายุ คำนวณแต่เงินเดือนพอแล้ว ^^)

1. อย่างแรกจงภูมิใจกับงานที่ทำ การที่คุณเก็บรักษาความลับให้องค์กรไม่เกิดความวุ่นวาย องค์กรก็อยากรักษาคุณไว้เช่นกัน

2. ใครบอกว่า Payroll ทำเงินเดือนอย่างเดียว คุณดูแลผลประโยชน์ให้พนักงานด้วยนะ เช่น กองทุนเงินทดแทน เงินสะสม การช่วยลดหย่อนภาษี เป็นต้น ให้เพื่อน HR สายอื่นช่วยทำประชาสัมพันธ์ให้พนักงานในองค์กรทราบบ้าง เพื่อสัมพันธภาพที่ดีๆ ก็จะตามมานะจ้ะ
3. การหาเครื่องมือ หรือ ปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน เช่น

  • การหา โปรแกรมเงินเดือน แบบง่ายๆ มาช่วยลดขั้นตอนการทำงาน
  • ถ้าองค์กรมีโปรแกรมอยู่แล้ว ลองมองหาโมดูลเล็กๆ ราคาไม่แพงมาเสริม ยกตัวอย่างเช่น OT ออน์ไลน์ทีทำงานแบบ real time นอกจากเร็วแล้วยังลดความผิดพลาดได้อีกด้วย
  • ปรึกษาผู้รู้ IT ที่บริษัทก็ได้ หรือจะปรึกษา EZY-HR ได้นะคะเรารับปรึกษาฟรี
  • การหาโซลูชั่นอื่นมาช่วย เช่น Ms. Excel, Google Sheet เป็นต้น

มีเวลาเหลือบ้างก็อย่าลืมพัฒนาตนเอง จะได้เก่งๆ และเติบโตในหน้าการงานต่อไป

4. ส่วนเรื่องจิตตก ลองหางานอดิเรกทำ หรือกิจกรรมที่คุณชื่นชอบ สุดท้ายนึกถึง ลูก พ่อแม่ หรือครอบครัวเอาไว้ เพราะเค้า คือ กำลังใจที่สำคัญของคุณที่จะช่วยให้คุณเดินหน้าต่อไป

EZY-HR เราเข้าใจหัวอก Payroll

หลายๆคนคงเคยจะมีคำถามเมื่อได้ยินคำว่า Payroll และสงสัยว่า Payroll คือ อะไร

Payroll คือ อะไร

 

ความหมายของ Payroll คือ อะไร

ซึ่งจริงๆแล้ว Payroll คือ การคำนวณค่าแรง หรือค่าตอบแทน ของพนักงานในธุรกิจ โดยจะต้องนำเอาข้อมูลทางการเงินทั้งหมด เช่นเงินเดือนสำหรับพนักงาน เงินโบนัส เงินได้อื่นๆ และการหักเงินทุกๆประเภท นำมารวมและคำนวณหาจำนวนเงินที่จ่ายให้กับพนักงานการให้บริการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นรายเดือน แต่ก็อาจจะมีการจ่ายประเภทอื่นๆ เช่นรายวัน รายสัปดาห์ และรายสองสัปดาห์ เป็นต้น

 

ซึ่งในการทำเงินเดือนนั้นๆ มักจะเป็นงานที่ต้องใช้เวลาในการทำค่อนข้างมาก เนื่องจากข้อมูลเงินได้ของพนักงานนั้น มีหลายประเภท ซึ่งจะต้องนำมา คำนวณโดยอาศัยเงื่อนไข ที่แตกต่างกันไป ของแต่ละธุรกิจ อีกทั้งยังจะต้อง นำไปคำนวณภาษี และ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม ตามที่ได้มีการ กำหนดไว้ในกฏหมายอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ยังมีหลายบริษัททำการคำนวณ Payroll โดยใช้โปรแกรม Excel ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ถ้าเกิดว่ามีจำนวนพนักงานไม่มาก และเงื่อนไขในการคำนวณไม่ซับซ้อนซักเท่าไหร่

 

แต่ถ้าเกิดว่า เป็นองค์กรที่มี จำนวนพนักงานมากขึ้น หรือ มีการคิดคำนวณ ด้วยเงื่อนไขที่ค่อนข้างซับซ้อน จะทำให้ การใช้งานโปรแกรม Excel คำนวณ Payroll เป็นเรื่องทียุ่งยาก และสุ่มเสี่ยงต่อความผิดพลาด ที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจาก Excel นั้นเป็นโปรแกรมประเภท Spreadsheet ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการคำนวณในระดับหนึ่งเท่านั้นและยังไม่ได้มีฟังก์ชั่นการซัพพอร์ตการทำงานพร้อมๆกันหลายๆคน เนื่องจากธุรกิจปัจจุบัน ที่มักจะมีพนักงานอยู่หลายสาขา อีกทั้งแต่ละสาขายังมักจะคำนวณคนละรูปแบบ แต่ก็กลับมาคิด Payroll รวมกันที่ศูนย์กลางเพียงจุดเดียว ทำให้การคิดคำนวณ Payroll โดยอาศัยแต่โปรแกรม Microsoft Excel เพียงอย่างเดียว เป็นเรื่องที่ยากขึ้นเรื่อยๆ

คำนวณเงินเดือนด้วย Excel

 

ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลระบบ Payroll ให้กับบริษัทนั้น นอกจากจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ และสังเกตรายละเอียดต่างๆ ยังจะต้องสามารถเก็บรักษาความลับได้ดีอีกด้วย เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับค่าตอบแทนของพนักงานนั้น ถือว่าเป็นความลับของบริษัท

 

โปรแกรมเงินเดือน และฝ่ายบุคคล ที่สามารถคำนวณเงินเดือน ค่าแรง ค่าทำงานล่วงเวลา และประเภทกะ ได้อัตโนมัติจากข้อมูลที่ได้จากเครื่องฟิงเกอร์สแกน => https://www.ezy-hr.com/

Posted in HR.